“มิลล์บอร์ด” ย้ำดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนตามอำนาจหน้าที่ชัดเจน เป้าหมายสำคัญเด็กนักเรียนต้องได้รับนมที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน

พุธ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๕:๕๖
"มิลล์บอร์ด" ย้ำดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนตามอำนาจหน้าที่ชัดเจน เป้าหมายสำคัญเด็กนักเรียนต้องได้รับนมที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน เตรียมเสนอครม.ทราบผลดำเนินการสัปดาห์หน้า ด้านกรณีผู้ประกอบการนมผสมฟลูออไรด์ร้องได้รับผลกระทบตั้งทีมลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงแล้วยันผลก่อนศาลปกครองพิจารณาคดี

นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในฐานะประธานคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ถึงแนวทางการพัฒนาคุณภาพนมโรงเรียน และการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการในการจัดสรรปริมาณการผลิตนมโรงเรียน ว่า จากประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ภาคเรียนที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 61 ซึ่งหลักเกณฑ์ในหมวด 1 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ข้อ 6.5.8 และ 6.5.9 ได้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องที่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมสามารถที่จะผลิตนมโรงเรียนในภาคเรียนที่ 2/2560 เพื่อจำหน่ายในภาคเรียนที่ 1/2561 ไว้ชัดเจน โดยจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมสามารถนำน้ำนมดิบไปผลิตเป็นนมกล่องชนิด ยูเอชที ในช่วงปิดภาคเรียนที่ 2/2560 ได้จำนวนไม่เกิน 60 วัน ภายใต้เงื่อนไขที่จะใช้บริหารน้ำนมดิบให้เข้าสู่ระบบภาคเรียนต่อภาคเรียนในอนาคต ดังนี้

ข้อ "6.5.8 กรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ผลิตเพื่อจำหน่ายนมโรงเรียนข้ามภาคเรียนต้องใช้น้ำนมที่มีคุณภาพตามข้อ 6.5.2 และ 6.5.3 ซึ่งมีการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ และตรวจสอบผลิตภัณฑ์นมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา / สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยสามารถผลิตนมชนิด ยูเอชที ได้ในปริมาณน้ำนมดิบตามสิทธิที่ได้รับการจัดสรรในภาคเรียนที่ 2/2560 ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมได้ใช้สิทธิครบจำนวนที่ได้รับการจัดสรรแล้ว แต่มีการผลิตนมโรงเรียนข้ามภาคเรียนชนิด ยูเอชที เกินกว่าปริมาณน้ำนมดิบที่ได้รับการจัดสรรนั้น จะต้องนำปริมาณน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตนมข้ามภาคเรียนดังกล่าว มาหักลดสิทธิที่จะได้รับการจัดสรรในภาคเรียนที่ 1/2561"

กล่าวคือ ในภาคเรียนที่ 2/2560 (1 พ.ย. 60 – 15 พ.ค. 61) คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ได้จัดสรรน้ำนมดิบให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมวันละ 1,169 ตัน จากที่จะต้องจัดสรรให้ในจำนวนวันละ 1,008 ตัน เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์นมส่งให้โรงเรียนในจำนวน 130 วัน ซึ่งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องรับผิดชอบน้ำนมดิบของเกษตรกรในภาคเรียนที่ 2/2560 จำนวน 196 วัน ดังนั้น จะมีวันที่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมจะต้องรับผิดชอบน้ำนมดิบอีก 66 วัน แต่เมื่อหักวันเสาร์และอาทิตย์จำนวน 37 วันแล้ว จะเหลือไม่ถึง 30 วัน ดังนั้น จึงมีการอนุญาตให้ดำเนินการผลิตนมโรงเรียนเพื่อจำหน่ายข้ามภาคเรียนได้ โดยให้ใช้น้ำนมดิบในปริมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละวันในภาคเรียนที่ 2/2560 รวมไม่เกิน 30 วัน และถ้าปริมาณน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตดังกล่าวคิดรวมกับปริมาณที่ใช้ผลิตในภาคเรียนที่ 2/2560 แล้วเกินสิทธิที่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมได้รับจัดสรรในภาคเรียนที่ 2/2560 จะต้องถูกลดสิทธิตามปริมาณน้ำนมดิบที่นำไปผลิตเป็นนมกล่องชนิด ยูเอชที สำหรับภาคเรียนที่ 1/2561 โดยสิทธิที่ถูกลดนั้นผู้ประกอบการสามารถที่จะรับการจัดสรรคืนกลับไป ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการวิชาการโคมนมและผลิตภัณฑ์นมกำหนด

ข้อ " 6.5.9 กรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่จะผลิตนมโรงเรียนจำหน่ายในภาคเรียนที่ 1/2561 ให้ผลิตได้ไม่เกิน 30 วัน ก่อนเปิดภาคเรียน (นมชนิด ยูเอชที 30 วัน นมชนิดพาสเจอร์ไรส์ 3 วัน) ต้องใช้น้ำนมที่มีคุณภาพตามข้อ 6.5.2 และ 6.5.3 ซึ่งมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ และตรวจสอบผลิตภัณฑ์นมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา / สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้งนี้ ปริมาณนมโรงเรียนที่ผลิตช่วงดังกล่าว ต้องสอดคล้องตามปริมาณนมที่ได้รับจัดสรรสิทธิในแต่ละวัน สำหรับภาคเรียนที่ 1/2561 และจะต้องนำมาหักออกจากปริมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละวันเท่ากับจำนวนที่ใช้ไป"

กล่าวคือ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมสามารถที่จะดำเนินการผลิตนมโรงเรียนเพื่อจำหน่ายในภาคเรียนที่ 1/2561 ไว้ล่วงหน้าได้ แต่จะต้องไม่เกิน 30 วัน โดยปริมาณที่ใช้นั้นจะต้องเป็นไปตามสิทธิที่ได้รับจัดสรรในภาคเรียนที่ 1/2561 และจะต้องมีการนำน้ำนมดิบตามจำนวนที่ใช้ผลิตดังกล่าวออกจากระบบนมโรงเรียนภาคเรียนที่ 1/2561 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสะสมน้ำนมดิบต่อเนื่องไปยังช่วงปิดภาคเรียน 1/2561

ซึ่งในประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมดังกล่าว ยังได้กำหนดเงื่อนไขในการจัดสิทธิพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียนในลักษณะของการจับคู่ระหว่างพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตภัณฑ์นม กับพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนซึ่งรับนม โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ลดระยะเวลาการขนส่งผลิตภัณฑ์นม เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของนม โดยเฉพาะนมพาสเจอร์ไรส์ในการขนส่งให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมจะเชิญผู้ประกอบการมาร่วมหารือและทำความเข้าใจในประกาศดังกล่าวเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ขอยืนยันว่าการกำหนดเงื่อนไขการจัดสรรสิทธิสอดคล้องกับข้อแนะนำเพื่อป้องกันการทุจริตกรณีโครงการนมโรงเรียนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในสัปดาห์หน้ากระทรวงเกษตรฯ จะนำผลการดำเนินการของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป

สำหรับกรณีข้อร้องเรียนที่ผู้ประกอบการนมโรงเรียนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง หลังจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด มีคำสั่งให้ชะลอโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศของกรมอนามัย ในภาคเรียนที่ 1/2561 กระทรวงเกษตรฯ ขอชี้แจงว่า ที่มาของการสั่งชะลอการผลิตนมผสมฟลูออไรด์นั้น เนื่องจากใบอนุญาตผลิตนมฟลูออไรด์ดังกล่าวได้หมดอายุลงวันที่ 31 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ต่อใบอนุญาตผลิตนมฟลูออไรด์ให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากกรมอนามัยไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ดีพอมาสนับสนุน และไม่มีแนวทางการควบคุมการจำหน่ายที่รอบคอบรัดกุม ประกอบกับ อย.ชี้แจงว่า พบปัญหาในการควบคุมผู้ประกอบการให้ส่งผลิตภัณฑ์นมฟลูออไรด์ตามพื้นที่เป้าหมาย 12 จังหวัด และกระจายไปในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี นอกพื้นที่การใช้นมฟลูออไรด์ ส่งผลให้เด็กที่ดื่มนมฟลูออไรด์มีฟันตกกระคณะกรรมการมิลค์บอร์ดจึงได้ชะลอการผลิตนมโรงเรียนผสมฟลูออไรด์ในภาคเรียนที่ 1/2561โดยให้ผู้ประกอบการเลื่อนการผลิตและส่งนมโรงเรียนในช่วงเปิดเทอม 1 ระหว่างวันที่ 16 พ.ค. – 31 ต.ค. นี้ไปก่อน ซึ่งการดำเนินการในภาคเรียนต่อไปนั้น หากมีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ก็จะอนุญาตให้ใช้นมฟลูออไรด์ในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนต่อไปได้

ดังนั้น จากข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการนมโรงเรียนที่อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการผลิตนมผสมฟลูออไรด์ 20 ล้านกล่อง ส่งมอบช่วงเปิดเทอม 1/2561 แต่เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งให้ผลิตแต่อย่างใด คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม จึงได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำงานเฉพาะกิจ ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจสอบใน 2 ประเด็น คือ ปริมาณนมยูเอชที และนมฟลูออไรด์ และตรวจนับนมกล่อง ให้แล้วเสร็จภายใน 30 เมษายนนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๗ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ที่สุดของแอร์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจ 24 ปีซ้อน
๐๙:๕๑ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประกวดราคางานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารว่าง บริเวณถนนราชดำเนินกลาง จำนวน 5 อาคาร อาคารหมายเลข 4, 13, 14, 17 และ
๐๙:๑๕ KJLล่องใต้ จัดสัมมนา รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หวังเพิ่มเครือข่ายช่างไฟ KJL Network เป็น 10,000
๐๙:๐๖ PwC เผย 67% ซีอีโอไทยหวั่นธุรกิจของตนจะไปไม่รอดในทศวรรษหน้า หลังเจอแรงกดดัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
๐๙:๒๘ PROUD จัดสัมมนา เจาะลึกทำเลหัวหิน ศักยภาพ และโอกาสในการซื้ออสังหาฯ ย้ำดีมานด์คอนโดฯ ระดับลักชัวรียังดี
๐๘:๓๙ ซัมซุงชูวิสัยทัศน์หลัก Lead Future of AI Innovation ประกาศเป็นผู้นำใช้ AI สร้างนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งอนาคต AI CE ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง AI-Product
๐๘:๐๔ PAW IT UP! เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ย้ำจุดยืน Pet Family Residences ผนึก 2 แบรนด์แกร่ง โมเดอร์นฟอร์ม และ NocNoc
๐๘:๕๑ OR คว้า 5 รางวัล ในงาน 2023-2024 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด
๐๘:๐๐ มกอช. ลงพื้นที่ลำพูน หนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ใช้ระบบ QR Trace on Cloud และ
๐๘:๒๐ DEK FILM SPU สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลชนะเลิศ เด็นโซ่ Tiktok Contest