ปภ.รายงานมีจังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัยรวม 19 จังหวัด พร้อมประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน

อังคาร ๑๗ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๐:๐๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 13 -16 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 19 จังหวัด 48 อำเภอ 76 ตำบล 168 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 892 หลัง ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว นอกจากนี้ ได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 16 - 18 เมษายน 2561 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 - 16 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 19 จังหวัด 48 อำเภอ 76 ตำบล 168 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 892 หลัง ผู้เสียชีวิต 2 ราย แยกเป็น ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอไพศาลี และอำเภอหนองบัว บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 35 หลัง ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภองาว รวม 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 15 หลัง พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอดงเจริญ ตำบลสำนักขุนเณร รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 4 หลัง และน่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเวียงสา ตำบลน้ำมวบ รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2 หลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ เลย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมาย อำเภอปากช่อง รวม 23 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภออาจสามารถ อำเภอเมืองสรวง อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 116 หลัง ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอโคกโพธิ์ไชย รวม 5 ตำบล 19 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 85 หลัง กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอกมลาไสย รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 81 หลัง หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น ตำบลขี้เหล็ก 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 27 หลัง สุรินทร์ เกิดวาตภัย ในพื้นที่อำเภอจอมพระ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 17 หลัง ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจัตุรัส และอำเภอบ้านเขว้า รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง บุรีรัมย์ เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยราช อำเภอสตึก อำเภอนางรอง และอำเภอคูเมือง รวม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอหนองหาน ตำบลหนองไผ่ รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 5 หลัง หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 5 หลัง ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวังม่วง ตำบลวังม่วง รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ สภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 16 - 18 เมษายน 2561 จะเกิดพายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด รวมถึงตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง งดเว้นการใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดบริเวณที่โล่งแจ้ง เพราะอาจเกิดฟ้าผ่า ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ อีกทั้งห้ามหลบพายุบริเวณใต้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการถูกล้มทับ ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๒ บูติคนิวซิตี้ สนับสนุนนักออกแบบคนรุ่นใหม่ Collaboration แบรนด์ GSP X Alex ออก 2 คอลเลคชั่นพิเศษฮีลใจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๑๖:๐๑ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบหน้ากากอนามัยฯให้รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม
๑๖:๔๘ ไวไว ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
๑๖:๑๘ งานสัมมนาออนไลน์ เปิดโลก Open Source Cloud ประตูบานใหม่ของโลกไอที
๑๖:๔๑ ม.ศรีปทุม ปิดจ๊อบ วุฒิปลอม พัฒนาระบบ Digital Transcript ตรวจสอบวุฒิออนไลน์ง่ายๆ ผ่านมือถือ
๑๖:๕๐ โครงการเพื่อสตรีของคาร์เทียร์ ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 33 คน ประจำปี 2024 เตรียมพร้อมประกาศรางวัลชนะเลิศ ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณะรัฐประชาชนจีน 22 พฤษภาคม
๑๖:๔๖ Cryptomind วิเคราะห์เจาะลึก Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 โอกาส? หรือกับดัก? นักลงทุน
๑๖:๔๖ 'อ้วน' ปัญหาเชิงมหภาค! แนะภาครัฐต้อง 'จัดการตรงจุด' แบ่งกลุ่มรักษา ย้ำ 'ประชาชน' คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาพดี
๑๖:๔๖ SPA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น E-AGM ประจำปี 2567
๑๖:๒๖ 'นวดกดจุด' หรือ 'นวดทุยหนา' (Tuina) ศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต