มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์ 'เครื่องครัวดินเผา’ ครบฟังก์ชั่นในปิ่นโตเดียว

พุธ ๒๕ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๕:๒๔
ว่าที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี โชว์ผลงานการออกแบบชุดอุปกรณ์เครื่องครัวจากดินเผาเตาแม่น้ำน้อย จ.สิงห์บุรี แรงบันดาลใจจากปิ่นโต มี 4 ฟังก์ชั่นหลักเพื่องานครัว ทั้งหั่น-สับ-บด-คั้น

นิภาภัทร ตันประดับสิงห์ หรือ 'ไอซ์' นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เจ้าของผลงาน เล่าว่า ได้ออกแบบอุปกรณ์เครื่องครัวสำหรับใช้ในการหั่น สับ บดและคั้นเพื่อการประกอบอาหาร โดยใช้ดินเผาเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี และใช้แนวความคิดการออกแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัด ผสมผสานความรู้ด้านศิลปะ ที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย มีความแปลกใหม่ สอดคล้องกับสรีระร่างกายต่อการใช้งาน และสามารถใช้เป็นต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ได้ต่อไป

"จากการศึกษาข้อมูล แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน ซึ่งวัตถุดิบสำคัญของการทำเครื่องปั้นดินเผาคือดินเหนียว ความพิเศษของเนื้อดินบริเวณดังกล่าวจะมีทรายละเอียดและก้อนกรวดผสมรวมอยู่ จึงทำให้เนื้อดินมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนได้สูง ให้ความแข็งแรงคงทน ช่างปั้นดินเผาในอดีตจึงเลือกเอาสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา จากการลงพื้นที่ในภาพรวม ยังขาดการพัฒนาต่อยอดสินค้าในเชิงสร้างสรรค์ ขาดความแปลกใหม่ ซึ่งมีส่งผลต่อการตลาดในเชิงพาณิชย์ จึงหยิบยกประเด็นดังกล่าวนี้มาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อออกแบบ" นิภาภัทร กล่าว

การออกแบบครั้งนี้ มี อาจารย์ณัฐพล ซอฐานานุศักดิ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษา และเน้นหน้าที่ใช้สอย 4 หน้าที่ คือ หั่น สับ บดและคั้น ด้านความปลอดภัยจะเน้นรูปทรงที่ไม่มีเหลี่ยม เพื่อง่ายต่อการใช้งานและการทำความสะอาด ส่วนด้านความงามได้ใช้แรงบันดาลใจจากปิ่นโต ใช้โทนสีธรรมชาติของสีดินดั้งเดิม มีการเคลือบใสเพื่อแสดงให้เห็นเนื้อดินอย่างชัดเจน เห็นความสวยงามของธรรมชาติจากการเผา ด้านกรรมวิธีการผลิตใช้กระบวนการขึ้นรูปแบบใบมีดเพื่อสะดวกต่อการผลิตในระบบอุตสาหกรรม และยังได้สัดส่วนขนาดที่มีความเที่ยงตรง ส่วนด้านการเผา จะเผาแบบไฟสูงเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรง คงทนต่อการใช้งาน และยังปลอดภัยจากสารปนเปื้อนและสารตะกั่ว

ต้นแบบชุดอุปกรณ์เครื่องครัวจากดินเผาที่ครบใน 4 ฟังก์ชั่นนี้ ถืออุปกรณ์เครื่องครัวที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาหาร ทำให้เกิดความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน และยังช่วยให้การประกอบอาหารสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับยุคสมัย และมีความคุ้มค่า

"ผลงานต้นแบบนี้เป็นการเชื่อมโยงกัน 3 ส่วน คือ ความรู้และทักษะวิชาต่าง ๆ ในด้านศิลปกรรมศาสตร์ทั้งเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ การออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ใส่ใจในเรื่องการดีไซน์ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และเป็นการอนุรักษ์ สนับสนุนและส่งเสริมเครื่องปั้นดินเผาที่แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยของ จ.สิงห์บุรี อีกด้วย และอยากให้มีการพัฒนาและนำแนวคิดต้นแบบนี้ไปใช้จริงสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป ผู้สนใจสามารถติดต่อ หรือแบ่งปันความรู้ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์โดยตรงได้ที่เบอร์ 092-418-8902 " เจ้าของผลงาน กล่าวสรุป

นี่ถือเป็นตัวอย่างผลงานสำคัญ ที่เป็นผู้เปิดประตูความคิดสร้างสรรค์ ที่เห็นความสำคัญและต่อลมหายใจเครื่องปั้นดินเผาแม่น้ำน้อย ที่ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสิงห์บุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ