การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 51และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 21 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

จันทร์ ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๕๘
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ครั้งที่ 51และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors' Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 3-6พฤษภาคม 2561ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADBครั้งที่ 51จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-6พฤษภาคม 2561ภายใต้หัวข้อ "Linking People and Economies for Inclusive Development"โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการ ADB ของไทย ได้มีสุนทรพจน์โดยกล่าวถึงความท้าทายที่มีต่ออัตราการ

จ้างงานเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนแรงงาน และสนับสนุนบทบาทของ ADB ในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะและคุณภาพแรงงานในประเทศสมาชิกเพื่อปรับตัวให้เข้ากับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีพร้อมทั้งยกตัวอย่างประสบการณ์ของประเทศไทยในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เข้ากับพัฒนาการทางเทคโนโลยีเช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)การนำเทคโนโลยีมาใช้ในโครงการ National E-Payment เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความโปร่งใสในการโอนเงินและรับสวัสดิการภาครัฐ และการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกภาคเอกชนและธุรกิจ เป็นต้น

2.ในการหารือโต๊ะกลมของผู้ว่าการ ADB ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4พฤษภาคม 2561ภายใต้หัวข้อ "The Role of Government in Harnessing New Technologies for Inclusive Growth" ได้มีการหารือถึงแนวทางนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของการผลิต (Productivity Growth)

พร้อมทั้งพิจารณาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อการจ้างงาน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายที่จะนำไปสู่การลดความยากจนและขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะของแรงงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป การมีระบบคุ้มครองทางสังคม และการกระจายรายได้

3. ในการประชุมระหว่างนาย TakehikoNakaoประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย กับผู้ว่าการของประเทศสมาชิก (Governors' Plenary) เมื่อวันที่ 5พฤษภาคม 2561ในหัวข้อ "ADB Strategy 2030" ที่มีการนำเสนอยุทธศาสตร์ของ ADB โดยยังคงเป้าหมายสูงสุดที่จะขจัดความยากจนแร้นแค้น (Extreme Poverty) และขยายเป้าหมายให้ครอบคลุม "เพื่อบรรลุความมั่งคั่งมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงมีความมั่นคงและยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" (Achieve a prosperous, inclusive, resilient, and sustainable Asia and the Pacific) โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างมีคุณภาพ สร้างอาชีพและโอกาสให้กับประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินการหลักของ ADB ยังคงเน้นการพัฒนาภาคสังคมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยในด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะเน้นสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสำหรับภาคสังคมจะส่งเสริมการพัฒนาระบบการศึกษา สาธารณสุข และการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) โดยจะเน้นเรื่องการเข้าถึงพลังงาน การขนส่ง น้ำสะอาด และบริการสาธารณสุข ของประชากรในกลุ่มยากจน ผู้หญิง และกลุ่มอ่อนแออื่นๆ

4. ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมหารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินชั้นนำของต่างประเทศ เช่นADBบริษัทหลักทรัพย์ Nomura ธนาคาร HSBC และ ธนาคาร MUFGเพื่อหารือถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการเงินโลก ภาวะเศรษฐกิจของไทยและนโยบายของรัฐบาลในระยะต่อไป โดยสถาบันการเงินเหล่านี้มีความเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศไทยในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

5. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้เข้าร่วมการประชุม AFMGM+3 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561โดยมีประเด็นการหารือที่สำคัญ ดังนี้

5.1 ภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังเติบโตได้ดีและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมต่อไปโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯประกอบกับเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศสมาชิกทั้งในด้านอัตราเงินเฟ้ออุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปฏิรูปเชิงโครงสร้างและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายจากนโยบายปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯและความไม่แน่นอนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกรวมถึงความผันผวนในภาคการเงินของภูมิภาคอาเซียน+3 ได้ซึ่งที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค และกฎกติกาของพหุภาคีรวมทั้งไม่สนับสนุนมาตรการปกป้องทางการค้าในทุกรูปแบบนอกจากนี้สมาชิกควรให้ความสำคัญในการใช้นโยบายผสมผสานระหว่างนโยบายการคลัง นโยบายการเงิน นโยบายด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ร่วมไปกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจและการเงิน และเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกและของภูมิภาคอาเซียน+3

5.2 กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การทบทวน (Periodic Review) ความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านกลไก CMIM ร่วมกับความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund Linked Portion: IMF Linked Portion)เพื่อให้เกิดความสอดคล้องด้านการดำเนินการระหว่างกลไก CMIM และ IMF(2) การดำเนินงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3Macroeconomic Research Office: AMRO)ตามภารกิจหลัก ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานระยะกลางถึงระยะยาว (Strategic Direction and Medium to Long Term Plan) รวมทั้งนโยบายที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ของ AMRO และ (3) การดำเนินงานภายใต้มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ยืนยันถึงจุดยืนในการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเงินเพื่อเพิ่มความสามารถและความพร้อมของประเทศสมาชิกในการรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โดยรับทราบความคืบหน้าของการจัดตั้งกองทุน )Risk Pool) ประกันภัยพิบัติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(the Southeast Asia Disaster Risk Insurance Facility: SEADRIF) ซึ่งปัจจุบันมีประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิก

การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB ครั้งต่อไปจะจัดขึ้น ณ เมืองนาดี สาธารณรัฐฟิจิ

ในต้นเดือนพฤษภาคม 2562 โดยสาธารณรัฐฟิจิจะเป็นเจ้าภาพ และในโอกาสเดียวกันจะมีการประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 22ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยจะเป็นประธานร่วมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4