ฮัทชิสัน พอร์ท เปิดตัวโครงการท่าเทียบเรือชุด D แห่งใหม่มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย

อังคาร ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๙:๒๓
- ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบ

- หนึ่งในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกหรืออีอีซีที่เป็นหัวใจสำคัญเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่แผนไทยแลนด์4.0 หนุนท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่ความเติบโตทางการค้าของไทย

ในงานแถลงข่าววันนี้ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการท่าเทียบเรือชุด D ในท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่าการลงทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท (ราว 600 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยท่าเทียบเรือชุดใหม่นี้จะเป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือชุด D ถือเป็นส่วนสำคัญภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor - EEC) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ท่าเทียบเรือชุด D จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมท่าเรือในระดับสากล เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างมหาศาลถึงราว 3.5 ล้านทีอียู (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด Dจะประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกถึง 3 คัน ปฏิบัติงานผ่านเทคโนโลยีควบคุมจากระยะไกล โดยคาดว่าจะเปิดใช้งานในช่วงแรกนี้ได้ในช่วงกลางปี 2561

มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าของท่าเทียบเรือชุด D ในงานแถลงข่าวว่า "เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและการลงทุนในท่าเทียบเรือชุด D นี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งล่าสุดของเราที่จะกระตุ้นศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเอื้อต่อความเจริญเติบโตของกิจการค้าของประเทศ"

ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้จะสามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทางเลือกให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการยกระดับของประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ในคราวเดียวกัน

เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่าเทียบเรือชุด D ใหม่นี้ จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร มีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า (super post panamax quay cranes) จำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางไฟฟ้า (electric rubber tyred gantry cranes) อีกจำนวน 43 คัน ที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลหรือรีโมตคอนโทรล ซึ่งส่งผลดีหลายประการ อาทิ

- เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

- ยกระดับสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานควบคุมปั้นจั่น

- เพิ่มศักยภาพความปลอดภัยด้านอุตสาหกรรม

- สร้างภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

มร.สตีเฟ่น ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "ฮัทชิสัน พอร์ท มีเครือข่ายท่าเทียบเรืออยู่ถึง 52 แห่ง ใน 26 ประเทศทั่วโลก เราสามารถดึงเอาความรู้ความชำนาญที่มีมาปรับใช้กับแหลมฉบังได้ เช่นเดียวกับการนำเอาหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในโลก เทคโนโลยีชั้นนำในระดับสากล ตลอดจนความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่เรามีกับผู้ประกอบการขนส่งระดับแถวหน้าของโลกมาใช้กับที่นี่ได้ และด้วยความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เรามั่นใจว่าเทคโนโลยีอันล้ำสมัยของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน"

เกี่ยวกับฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (Hutchison Ports Thailand - HPT) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130กิโลเมตร ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีจุดให้บริการในแหลมฉบังอยู่ที่ ท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 D2และ D3

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและดำเนินกิจการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเซีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?