เกษตรฯ เตือนชาวสวนระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เหตุฝนตกต่อเนื่อง

พุธ ๐๙ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๑
นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องการเกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงปลายเดือนเมษายน 2561

ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตือนภัย และให้คำแนะนำในการรับมือแก่เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ รวมถึงวางแผนช่วยเหลือเกษตรกรหากเกิดกรณีประสบภัยพิบัติด้วย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอเตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงให้ผลผลิต ให้เฝ้าระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ทุเรียนทุกระยะมีโอกาสเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ อันจะทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอ กระทบต่อปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดได้

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนระบาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุเรียนมีราคาแพงเกษตรกรจึงไม่ตัดผลทุเรียนที่ไม่ได้ขนาดทิ้งและไว้ผลทุเรียนในต้นปริมาณมากเกินไป ทำให้ต้นทุเรียนโทรม เสี่ยงต่อการเข้าโจมตีจากโรคและแมลงศัตรูพืชได้ง่าย ซึ่งเชื้อราสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน คือ เชื้อราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา (Phytophthora palmivora) สังเกตลักษณะอาการของต้นที่เกิดโรค

ใบจะไม่เป็นมันสดใส โดยใบค่อย ๆ เหลืองซีดและร่วง ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ บริเวณกิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือ

มีรอยแตกของแผล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว ต้นที่เป็นโรครุนแรงจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาล และหลุดง่าย กรณีอาการของโรครุนแรงจะเน่าลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย

วิธีป้องกันกำจัดกรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม (Trichoderma harzianum) ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตราเชื้อรา 1 กิโลกรัม รำข้าว 4 กิโลกรัม และปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปโรยรอบโคนต้น ในอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น แต่หากโรคเข้าทำลายรุนแรง ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

ชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยทาแผลทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หากพบใบเหลืองทั้งต้น ให้ราดโคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยร่วมกับการใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดเข้าลำต้น ส่วนต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest