เกษตรกรชาวสวนยาง จ.เชียงราย ผุดไอเดีย ต่อยอดงานวิจัย “ บ่อน้ำเคลือบยางพารา ” สร้างรายได้ในภาวะราคายางผันผวน

พฤหัส ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๔๖
เกษตรกรชาวสวนยางบนพื้นที่สูง จ.เชียงราย มีแนวคิดสร้างรายได้เสริมในภาวะที่ราคายางพาราผันผวน ผุดไอเดีย นำผลงานวิจัยบ่อน้ำเคลือบยางพารา ต่อยอดธุรกิจสร้างโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่ต่อสู้กับปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตร สร้างประโยชน์ เพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศ หวังเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ นำแนวทางไปปรับใช้

น.ส.นฤมล ปาณะที เกษตรกรชาวสวนยางบนพื้นที่สูง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสร้างรายได้เสริมในภาวะที่ราคายางพาราผันผวน โดยปัจจุบัน คุณนฤมล มีพื้นที่ทำสวนยางพารากว่า 25 ไร่ จากช่วงปลายปีที่ผ่านมาเกิดประสบปัญหาด้านราคายาง เนื่องจากราคายางตกต่ำมาก จึงเลือกหาอาชีพเสริมเพื่อชดเชยรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยได้ศึกษานำผลงานวิจัยเรื่องการสร้างบ่อน้ำเคลือบยางพารา ของ สกว. ( สำนักงานกองทุนสนับสนุนเพื่องานวิจัย ) และนำเอาแนวทางผลิตบ่อน้ำเคลือบยางพารามาทดลองผลิต เนื่องจากวัตถุดิบสามารถหาได้ในพื้นที่ และประกอบกับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่สูงจะประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ซึ่งการทำบ่อน้ำเคลือบยางพารา จึงเป็นการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีเกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก บ่อน้ำเคลือบยางพาราจึงเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ไว้ใช้ในการกักเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตร

สำหรับบ่อน้ำเคลือบยางพารามีขนาดมาตรฐาน 4 x 2 เมตร สามารถทำได้ในรูปแบบยกลอย และแบบฝังดินโดยใน 1 บ่อ ใช้น้ำยางธรรมชาติปริมาณ 50 กิโลกรัม ประกอบกับสารเคมีตามสูตรที่กำหนดไว้ มีวัตถุดิบหลักคือ ผ้าดิบและน้ำยางพารา โดยบ่อน้ำยางพารามีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรและทำการประมง มีอายุยาวนานถึง 10 ปี และที่สำคัญเมื่อเกิดการชำรุดสามารถทำการซ่อมแซมให้กับมาคงทนเหมือนเดิมได้ซึ่งแตกต่างจากบ่อน้ำพลาสติกทั่วไป ปัจจุบันตนได้เริ่มผลิตบ่อน้ำมากว่า 2 ปีแล้ว โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ผ่านมาคงเหลือสุทธิหลังจากหักต้นทุน อยู่ประมาณ 3 แสนบาท และแรงงานส่วนมากใช้แรงงานภายในครัวเรือนเป็นหลัก โดยปัจจุบัน มีหน่วยงานการยางแห่งประเทศไทย ( กยท. ) ได้เข้ามาดูแลให้ความรู้ในด้านการแปรรูป จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ และยังช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนจำนวน 80,000 บาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต

น.ส.นฤมล ปาณะที กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนขอเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรทั่วไปที่ประสบปัญหาด้านราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง และคอยแสวงหาความรู้หรือแนวทางใหม่ๆ มาพัฒนาอาชีพการทำเกษตรให้ยั่งยืน ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๒ บูติคนิวซิตี้ สนับสนุนนักออกแบบคนรุ่นใหม่ Collaboration แบรนด์ GSP X Alex ออก 2 คอลเลคชั่นพิเศษฮีลใจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๑๖:๐๑ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบหน้ากากอนามัยฯให้รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม
๑๖:๔๘ ไวไว ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
๑๖:๑๘ งานสัมมนาออนไลน์ เปิดโลก Open Source Cloud ประตูบานใหม่ของโลกไอที
๑๖:๔๑ ม.ศรีปทุม ปิดจ๊อบ วุฒิปลอม พัฒนาระบบ Digital Transcript ตรวจสอบวุฒิออนไลน์ง่ายๆ ผ่านมือถือ
๑๖:๕๐ โครงการเพื่อสตรีของคาร์เทียร์ ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 33 คน ประจำปี 2024 เตรียมพร้อมประกาศรางวัลชนะเลิศ ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณะรัฐประชาชนจีน 22 พฤษภาคม
๑๖:๔๖ Cryptomind วิเคราะห์เจาะลึก Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 โอกาส? หรือกับดัก? นักลงทุน
๑๖:๔๖ 'อ้วน' ปัญหาเชิงมหภาค! แนะภาครัฐต้อง 'จัดการตรงจุด' แบ่งกลุ่มรักษา ย้ำ 'ประชาชน' คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาพดี
๑๖:๔๖ SPA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น E-AGM ประจำปี 2567
๑๖:๒๖ 'นวดกดจุด' หรือ 'นวดทุยหนา' (Tuina) ศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต