Super Poll ผู้ต้องขังคดียาเสพติด คิดอย่างไรต่อ การติดคุกซ้ำ

จันทร์ ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๗
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดผลโพล ผู้ต้องขังคดียาเสพติด คิดอย่างไรต่อการติดคุกซ้ำ โดยสำรวจจากผู้ต้องขังคดียาเสพติดจำนวนทั้งสิ้น 379 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา

จำนวนมากหรือร้อยละ 39.4 ไม่ได้เรียนหนังสือ หรือได้เรียนก็ไม่เกินประถมศึกษา ในขณะที่ ร้อยละ 32.7 จบมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 26.6 จบ มัธยมศึกษาตอนปลายถึง อนุปริญญา มีเพียงร้อยละ 1.3 ที่จบปริญญาตรีหรือสูงกว่าในการสำรวจครั้งนี้

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 เป็นคนวัยทำงานสร้างฐานะ คืออายุระหว่าง 25 – 55 ปีแต่กลับมาอยู่ในคุกเพราะคดียาเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 16.0 เป็น เยาวชน อายุระหว่าง 18 – 24 ปี และร้อยละ 2.1 เป็นคนสูงวัย อายุ 55 ปีขึ้นไป

ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ จำนวนมากหรือร้อยละ 42.3 เคยติดคุกมาแล้วมีประวัติติดคุกซ้ำ ในขณะที่ร้อยละ 57.7 ติดเป็นครั้งแรก และเมื่อถามว่า ถ้าออกจากคุกไป จะมีโอกาสกลับมาติดคุกซ้ำอีกหรือไม่ พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 46.1 ของคนที่เคยติดคุกซ้ำมาก่อน ระบุมีโอกาสจะกลับมาติดอีก เพราะ เจอแต่กลุ่มคนเดิมๆ ที่เสพที่ขาย สังคมไม่ให้โอกาสกลับตัว ทำผิดแล้วผิดเลยไม่ให้โอกาสแก้ไข ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน งานอย่างอื่นได้เงินน้อยไม่พอใช้และเพราะความจำเป็น ในขณะที่ร้อยละ 53.9 ของคนเคยติดคุกซ้ำ ระบุไม่กลับมาแล้ว เพราะติดคุกลำบาก รักครอบครัว มีงานที่สุจริตรออยู่ ได้กำลังใจจากคนรอบข้าง ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวยาเสพติดอีก

อย่างไรก็ตาม แม้แต่ กลุ่มคนที่เพิ่งติดครั้งแรกจำนวนมากหรือร้อยละ 31.9 ระบุมีโอกาสจะติดซ้ำเช่นกัน นอกจากนี้ กลุ่มเยาวชนคือกลุ่มที่ระบุมีโอกาสจะกลับมาติดคุกซ้ำมากที่สุด คือร้อยละ 45.2 ในขณะที่คนวัยทำงานสร้างฐานะร้อยละ 34.3 และคนสูงวัยร้อยละ 25.0 ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ เครือข่ายบุคคลรอบข้างใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ก่อนมาติดคุก โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 ระบุมี คนรู้จักทั่วไป เป็นทั้งคนเสพ คนครอบครอง และคนขาย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ระบุ คนพักอาศัยใกล้บ้านในชุมชนเป็นทั้งคน เสพ คนครอบครอง และคนขาย ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 14.3 ระบุมีคนในครอบครัว เป็นทั้งคนเสพ คนครอบครอง และ คนขาย ตามลำดับ

ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่ของผู้ต้องขังคดียาเสพติดหรือร้อยละ 91.6 ขับมอเตอร์ไซค์ได้ รองลงมาคือร้อยละ 64.2 ขับรถยนต์ได้ ร้อยละ 30.2 พิมพ์ดีดได้คล่อง ร้อยละ 27.6 ทำอาหารได้ ร้อยละ 26.1 ซ่อมเครื่องยนต์ได้ ร้อยละ 19.9 ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ร้อยละ 15.3 เป็นช่างต่างๆ ได้ เช่น ช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างเหล็ก เป็นต้น ร้อยละ 10.7 พูดภาษาต่างประเทศได้ เช่น อังกฤษ พม่า เขมร จีน มาลายู เป็นต้น และร้อยละ 3.3 รู้เรื่องเทคโนโลยี ซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ ซ่อมโทรศัพท์ได้ ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ