ทีเซลส์ ผนึก 3 หน่วยงาน ผลักดันนวัตกรรมยาจากธรรมชาติ หวังต่อยอดเชิงพาณิชย์

จันทร์ ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๑:๒๓
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือ (MOU) นำทีมนักวิจัย ร่วมผลักดันโครงการ "นวัตกรรมการพัฒนายาจากธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง" หวังต่อยอดนวัตกรรมพร้อมสร้างโอกาสสู่ตลาดเชิงพาณิชย์

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธีเปิดงานความร่วมมือและเสวนาด้านนวัตกรรมการพัฒนายาจากธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง กล่าวว่า ในอดีตกระบวนการวิจัยพัฒนายาใหม่นั้นมีความซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างยาวนานประมาณ 12 -15 ปี และใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ปัจจุบันบริษัทยาและชีววัตถุระดับนานาชาติ ได้ประกาศแผนและทิศทางของบริษัทเปิดความร่วมมือในลักษณะนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ซึ่งเน้นทำความร่วมมือในลักษณะรับถ่ายทอดทรัพย์สินทางปัญญาจากบริษัท startup หรือนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบสารออกฤทธิ์ตัวยาใหม่จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีขั้นตอนในการวิจัยตั้งแต่ระดับค้นพบมีผลการศึกษาประสิทธิภาพในเบื้องต้น มีสิทธิบัตรและผลงานตีพิมพ์ แนวคิดนี้นอกจากจะทำให้เกิดบริษัทใหม่ๆขึ้นมามากมายแล้ว ยังเป็นกลไกการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย และพัฒนาที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงระดับปลายน้ำอีกต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาสารสกัดจากธรรมชาติ ให้พบสารออกฤทธิ์ทางยา ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในวันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ตามพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ในอนาคต

"สิ่งสำคัญสุดความได้เปรียบที่ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ผ่านมาได้มีการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้ในด้านการแพทย์แผนไทยมายาวนาน ดังนั้น ในการนำผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญสำหรับการค้นหาและพัฒนายาใหม่นั้นสามารถนำประโยชน์มาสู่อุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศได้อย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชกรรม มาดำเนินการร่วมกันตลอดกระบวนการของการวิจัยจนถึงการจำหน่าย" รศ.นพ.สรนิต กล่าว

ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "การค้นหาตัวยา หรือ drug discovery เป็นกุญแจสำคัญที่สุด ที่นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาในขั้นต่อไปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นั่นคือยาจากนวัตกรรม ที่จะตอบโจทย์ความต้องการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ของโลกที่ยังไม่มีคำตอบ (unmet medical needs) วิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในเวลานี้คือการสร้างความร่วมมือในลักษณะนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) โดยประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการค้นหาสารออกฤทธิ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา ผ่านความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์และโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จนได้เปิดดำเนินการแล้ว ทำให้เกิดมีขีดความสามารถในเทคโนโลยีตรวจคัดกรองสารออกฤทธิ์ในการรักษาโรคได้พร้อมกันในปริมาณมาก (high throughput screening, HTS) และเพื่อขยายขอบเขตของขีดความสามารถของประเทศ ในเวลาต่อมาจึงได้สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสูงระดับประเทศในการเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและนำมาศึกษาการออกฤทธิ์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)"

"ความร่วมมือแบบ Open Innovation นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเข้มแข็ง ด้านวิจัยและพัฒนา อันจะช่วยเกื้อหนุนให้เกิดการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของงานด้านการค้นหายาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และจะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเป็นเจ้าของนวัตกรรม โดยในการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนกันนี้ ได้มีการกำหนดกฎกติกาขึ้นมาอย่างชัดเจนในรูปแบบของแนวปฏิบัติหรือ guideline ที่ยึดถือร่วมกัน และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของกฎกติการะหว่างประเทศ รวมไปถึงการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ (access and benefit sharing) ไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอน "Translation research" และสามารถถ่ายทอดออกสู่อุตสาหกรรมและการลงทุนได้" ดร.นเรศ กล่าว

ขณะที่ ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า "เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของสารธรรมชาติที่นำมาพัฒนาเป็นยาได้ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ จะเห็นว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ก็มีที่มาจากจุลินทรีย์ ดังนั้น สวทช. จึงได้ให้ความสำคัญในงานวิจัยด้านการค้นหายามาอย่างยาวนาน จึงได้มีการเก็บสายพันธุ์จุลินทรีย์อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานมากว่า 25 ปี ซึ่งปัจจุบันบริหารจัดการโดยศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center) (TBRC) และยังมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาประโยชน์ของจุลินทรีย์ในด้านต่างๆ รวมถึงการผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่มีศักยภาพเป็นยารักษาโรค ถึงแม้ว่าแนวโน้มที่จะค้นพบยาใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำงานร่วมกันแบบเป็นเครือข่ายเช่นนี้ ทำให้มีการแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนนวัตกรรมร่วมกัน แชร์เครื่องมือ แชร์วิธีการ แชร์สาร และแชร์ประสบการณ์ ทำให้เพิ่มโอกาสในการค้นพบยาชนิดใหม่ได้เร็วขึ้น การรวมพลังทำงานในครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญและเป็นนวัตกรรมของประเทศไทยในการพัฒนางานวิจัยด้านการค้นหายาใหม่จากสารธรรมชาติ"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "งานวิจัยด้านการค้นหายาใหม่ เป็นสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสนใจอย่างยิ่ง โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้มีการวางนโยบายพร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญได้เสนอให้มีการจัดตั้ง "คลังสารเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารสกัดสมุนไพรแห่งชาติ" ที่จะทำให้เกิดความพร้อมในการเป็นแหล่งของสารที่จะใช้สำหรับการค้นหาฤทธิ์ในทางยาใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม คลังสารเคมีดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายนักวิจัยด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในหลายมหาวิทยาลัย ที่เห็นว่าสารบริสุทธิ์ที่ได้สกัดแยกได้ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ น่าที่จะนำมารวบรวมและจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ไปสู่จากค้นหายาใหม่ รวมถึงการใช้เป็นสารมาตรฐาน เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศต่อไป"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ในปี 2559 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา หรือ ที่เรียกว่า ECDD ซึ่งในปัจจุบันมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการคัดกรองที่ช่วยให้สามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ศูนย์ ECDD นี้ จะดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น นักเคมี แพทย์ นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การรวบรวมสารเคมีที่สกัดจากสมุนไพรหรือสังเคราะห์จากนักเคมี การรวบรวมระบบการตรวจวัดฤทธิ์ทางยาของสารจากห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่นเซลล์มะเร็งกว่า 100 ชนิด อีกทั้งยังจะสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการคิดค้นและพัฒนายาด้วย นอกจากนี้ศูนย์มีการจัดตั้งระบบ วิธีการ และมีระบบควบคุมคุณภาพที่มีมาตรฐาน (standard) ตั้งแต่ระบบการจัดเก็บสาร (compound management system) ระบบการทดสอบฤทธิ์ของสาร ด้วยระบบ high throughput screening ที่มีความทันสมัยและสามารถทดสอบสารได้เป็นจำนวนมากอย่างแม่นยำ (หมื่น-แสนชนิด ภายใน 3-4 วัน) ซึ่งจะแทนการทดสอบด้วยวิธีเดิมๆ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเป็นปีๆ หลังจากที่ได้สารที่มีฤทธิ์เป็นที่น่าสนใจแล้ว เรายังมีระบบที่จะใช้ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสาร และการทดสอบความปลอดภัยของสารด้วย เพื่อที่จะพัฒนาสารไปเป็นตัวยาต่อไป"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4