วว. เสริมแกร่งเศรษฐกิจ พัฒนาศักยภาพผู้การไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

จันทร์ ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๗:๔๕
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงาน "Transforming SMEs through Innovation : From Local to Global Players in Bio-Economy" ซึ่งจัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีแผนที่นำทางในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการสร้างชาติ สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมุ่งเน้นเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะ value-based economy ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เห็นว่า เศรษฐกิจฐานชีวภาพนั้น มีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตเป็น Bio-based หรือกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือ ภาคการผลิตของประเทศไทย จะเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเข้ามาสู่กระบวนการผลิตเป็นหลัก โดยพิจารณาได้จากสินค้า หรืออุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยที่เป็น SMEs ล้วนมีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่มาจากพื้นดิน ในท้องทะเล แหล่งน้ำจืดต่างๆ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างเช่น จุลินทรีย์ เราก็สามารถนำมาสร้างคุณค่าในทางอุตสาหกรรมได้เช่นกัน เราต้องใช้วัตถุดิบเหล่านี้มาผลิตเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ แต่ทรัพยากรเหล่านี้มีวันหมดไป ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องหาทางแก้ปัญหาและส่งเสริมการทดลอง ค้นคว้า วิจัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หรือส่งเสริม SMEs ของไทยที่มีโครงสร้างการผลิตเน้นที่ Bio-based ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ ได้อย่างยั่งยืน หรือมีสิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกัน แปลงโฉมการผลิต ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและคุณค่าในตลาด สร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้านเกษตรและอาหารของประเทศไทย ขณะเดียวกันเรื่องของพลังงานก็มีความสำคัญ ที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะต้องให้การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเช่นกัน และที่สำคัญที่สุด เราต้องสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

"...ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความรู้ที่ได้จากเวทีนี้จะนำไปสู่การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม หรือกำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับ Bio Economy ทางด้านอาหารและการเกษตรแห่งอนาคตร่วมกัน ประสานพลังร่วมกันก้าวเดิน เพื่อสร้างระบบนิเวศหรือ ecosystems ที่สอดคล้องเหมาะสมกับประเทศของเรา มีความมั่นคง ทำให้ SMEs ด้านอาหารและการเกษตรของไทย เกิดการแปลงรูป ก้าวไปสู่การสร้างนวัตกรรม ทำให้ศักยภาพในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของประเทศมีความเข้มแข็ง อันเนื่องมาจากความร่วมมือในหลายๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้ SMEs มีพลัง เกิดการลงทุนด้านนวัตกรรมในอนาคตข้างหน้าที่ตอบโจทย์ของประเทศได้ และตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ..." ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวสรุป

นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด พันธมิตรที่ร่วมจัดงานฯ กล่าวในฐานะผู้จัดงานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านส่วนผสมอาหารว่า การพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยสร้างความแตกต่าง และช่วยให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้วิธีการใช้ทรัพยากร และผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมขอยกตัวอย่าง ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ผลิตอาหารเพื่อส่งออกในอันดับต้นๆ ของโลก โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีแนวโน้มในการส่งออกอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นในมูลค่า 950,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน และโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) จากตัวเลขดังกล่าว หาก SMEs มีโอกาสได้เข้าถึงผลงานวิจัย และพัฒนาที่ทาง วว. ได้พัฒนาขึ้น มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ของตน มาร่วมงานพัฒนาที่ทาง วว. จัดให้บริการนั้น มั่นใจว่า วว. จะเป็นหน่วยงานที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สินค้าของ SMEs นั้น ได้มีการรับรองการวิจัยเพื่อทำการค้าในระยะยาว และหน่วยงาน SMEs จะมีโอกาสเป็นผู้ค้าที่สามารถเข้าร่วมในเวทีการส่งออกได้ เพราะตามตัวเลขสถิติแล้ว เชื่อว่าในอีก 5 ปี การส่งออกอาหารแปรรูปจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 50 – 55 ของอาหารที่ผลิตทั้งหมด โดยปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 49 เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานสากล การวิจัยและพัฒนา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ ที่สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเกษตร อาหาร ให้ตรงกับความต้องการของตลาด

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวถึงภารกิจขององค์กรว่า วว. ให้การสนับสนุนและสร้างสรรค์สังคมผู้ประกอบการของไทยในระดับ SME และวิสาหกิจชุมชนให้มีการนำ วทน. ไปใช้เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเติบโตและยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเกษตรและอาหารให้แก่ผู้ประกอบการและชุมชนทั่วประเทศ ดังนั้น วว. จึงได้จัดงานสัมมนาและนิทรรศการ "Transforming SMEs through Innovation : From Local to Global Player in Bio Economy" ขึ้น ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ ห้องบอลรูม A ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำนโยบายรัฐบาลมาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเปิดเวทีในการนำงานวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้บริการอุตสาหกรรม มาเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติด้วยระบบเศรษฐกิจกระแสใหม่

"...วว. ได้เลือกด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ หรือ Bio Economy ซึ่งเป็นสาขาที่ วว. เชี่ยวชาญ มาเป็นพลังแห่งการพัฒนาผู้ประกอบการไทย สร้างเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ด้านเกษตรและอาหารของไทย ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติต่อไป นอกจากนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการขยายทิศทางการดำเนินงานของ วว. ในปัจจุบันให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศในการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ที่เรียกว่า Innovation-Driven Enterprise หรือ IDE..."ผู้ว่าการ วว.กล่าว

กิจกรรมและการสัมมนาในงาน "Transforming SMEs through Innovation : From Local to Global Player in Bio Economy" ประกอบด้วย

- การบรรยายของวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถึงแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อน SMEs ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมด้านการเกษตรและอาหารของไทยไปสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืนด้วย วทน. ตามนโยบายของรัฐบาล

- งานสัมมนาและกิจกรรม ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญของ วว. และพันธมิตรในด้านนวัตกรรมอาหาร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของไทยในการเป็นครัวของโลก (Kitchen of the World)

- นิทรรศการผลงานวิจัยพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการอุตสาหกรรม เพื่อแสดงศักยภาพในแต่ละสาขาความเชี่ยวชาญของ วว. และเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น Chinese Academy of Sciences (CAS) และ Japan Packaging Institute (JPI) เป็นต้น

- การให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) โดยมีการให้คำปรึกษาเพื่อแนะนำแนวทางและสนับสนุนการดำเนินงานแก่ผู้ประกอบการ

ผลงานเด่นๆ ที่ วว. และพันธมิตรได้จัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์นาโนเซรั่มจากสารสกัดใบบัวบก ผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขิงบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับเคมีบำบัด ดักแด้ไหมอีรี่ เบต้ากลูแคน Functional Ingredients ระบบโครงสร้างพื้นฐานเสริมแกร่ง SMEs ได้แก่ Smart Packaging การบริการทดสอบบรรจุภัณฑ์สินค้าอันตราย NQI for Bio-Industry การทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางด้วยผิวหนังจำลอง 3 มิติ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร การผลิตวัสดุอ้างอิงรับรอง Success Case ผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จในระดับประเทศและเตรียมก้าวสู่ระดับนานาชาติ และ Food Innopolis

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา