เกษตรกร ต.หัวเขา ตอบรับ โครงการจัดรูปที่ดินฯ เจ๋งจริง ต้นทุนลด มีน้ำใช้ทั่วถึงทุกแปลง

จันทร์ ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๔:๑๔
สศก. ติดตามโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ณ บ้านหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เผยผลสำเร็จโครงการ เกษตรกรสามารถลดค่าน้ำมันเพื่อสูบน้ำถึงไร่ละ 447 บาท ก่อเกิดโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ได้รับน้ำทั่วถึงทุกแปลง เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น ผลผลิตเพิ่ม เสริมรายได้ แถมก่อเกิดความสามัคคีร่วมกันในพื้นที่

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมปี 2560 โดยกรมชลประทาน จำนวน 58 โครงการ พื้นที่รวม 95,490 ไร่ เพื่อปรับพื้นที่นาของเกษตรกร สามารถวางแผนการส่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำจากคลองส่งน้ำชลประทาน ให้สามารถแพร่กระจายน้ำ ได้ถึงทุกแปลงเพาะปลูกอย่างรวดเร็ว เกษตรกรได้น้ำตามปริมาณและช่วงเวลาที่พืชต้องการ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการทำการผลิต

จากการติดตามประเมินผลโครงการฯ ของ สศก. ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในพื้นที่จัดรูปที่ดิน ณ บ้านหัวเขา ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี พบว่า มีพื้นที่โครงการ 1,390 ไร่ เกษตรกร 100 ราย มีการจัดรูปที่ดินแบบสมบูรณ์แบบ (Intensive) โดยนำพื้นที่ทั้งหมดมารวมกัน แล้วทำการแบ่งพื้นที่ออกเป็นรูปแปลงสี่เหลี่ยมที่มีแนวถนน ทางลำเลียง คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ มีการปรับระดับแปลงนาให้สม่ำเสมอ และออกโฉนดฉบับใหม่ให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเพื่อการสูบน้ำเหลือไร่ละ 77 บาท ลดลงไร่ละ 210 บาท (เดิมจ่ายไร่ละ 287 บาท) เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังสามารถลดค่าน้ำมันเพื่อการสูบน้ำเหลือไร่ละ 71 บาท ลดลงไร่ละ 237 บาท (เดิมจ่ายไร่ละ 308 บาท) ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยลดค่าน้ำมันเพื่อสูบน้ำถึงไร่ละ 447 บาท

จะเห็นได้ว่าโครงการฯ ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนโดยเฉพาะค่าน้ำมันเพื่อการสูบน้ำได้เป็นอย่างดี โดยภาพรวม พบว่า ต้นทุนเงินสดของเกษตรกรพื้นที่จัดรูปที่ดิน ณ บ้านหัวเขา ในการผลิตข้าวนาปี อยู่ที่ 3,813 บาท ลดลงไร่ละ 177 บาท (ก่อนมีการจัดรูปที่ดิน ต้นทุนเงินสดอยู่ที่ไร่ละ 3,990 บาท) และต้นทุนเงินสดของเกษตรกรในการผลิตข้าวนาปรังอยู่ที่ไร่ละ 3,963 บาท ลดลงไร่ละ 163 บาท (ก่อนการจัดรูปที่ดินมีต้นทุนเงินสด ไร่ละ 4,126 บาท)

นอกจากนี้ หลังจากมีโครงการ เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มขึ้น และเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด เพราะเห็นว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ มีน้ำใช้ มีการระบายน้ำที่ดี และการสัญจรเข้าออกแปลงนาสะดวก เกษตรกรจะได้รับน้ำทั่วถึงทุกแปลงตามปริมาณและช่วงเวลาที่พืชต้องการใช้น้ำ ทำให้สามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ใกล้เคียงความเป็นจริง ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ประหยัดน้ำต้นทุน มีน้ำเหลือเพียงพอสำหรับการปลูกพืชฤดูแล้ง เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความรักความสามัคคีรักถิ่นฐาน ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ของสังคมได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกษตรกรในพื้นที่ควรมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งการรวมกลุ่มบริหารจัดการด้านการผลิตและเชื่อมโยงการตลาดเพื่อรองรับผลผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ