กระทรวงเกษตรฯ เร่งช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงปลา ต.เกาะยอ หลังได้รับร้องเรียนปลาลอยตายในกระชังเหตุน้ำเน่าเสีย

จันทร์ ๑๑ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๕:๕๖
น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากกรณีได้รับแจ้งเกิดเหตุปลากะพงลอยตายในกระชังเนื่องจากน้ำเน่าเสีย จนเกษตรกรได้รับความเสียหายในพื้นที่ ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา นั้น ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเร่งช่วยเหลือแล้ว ซึ่งพบว่า มีปลาเสียหายที่เลี้ยงในกระชัง 10 กระชัง คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 2.5 – 3 ตัน ซึ่งเป็นปลากะพงขาวขนาดใหญ่ ตัวละ 3 – 5 กก. (ปลาขนาดเล็กไม่เสียหาย) โดยมีการวางกระชังที่เลี้ยงติดกัน 30 กระชัง เกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย 2 ราย คือ นางอาภาพร วรรณโร บ้านเลขที่ 13/1 หมู่ 1 และนางเรืองอุไร กาญจนเพ็ณ 13/2 หมู่ 1 ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงที่มีการเลี้ยงปลาไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด คาดว่าสาเหตุเกิดจากในกระชังปลาที่เสียหาย มีปลากะพงขนาดใหญ่ ปล่อยเลี้ยงหนาแน่นเกินไป ทำให้ขาดออกซิเจน สำหรับแนวทางการช่วยเหลือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจะสนับสนุนลูกพันธุ์ปลากะพงให้เกษตรกรทั้ง 2 รายเพื่อลงเลี้ยงใหม่ในกระชัง และจะสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ หลักการเลี้ยงปลาในกระชัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เฝ้าระวัง ติดตามและดูแลเกษตรกรมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเร่งให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) กรมประมง ได้เฝ้าระวังและตรวจติดตามคุณภาพน้ำบริเวณแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา โดยมีการแจ้งข้อมูลแสดงผลคุณภาพน้ำบริเวณกระชังเลี้ยงปลาให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงปลา ต.เกาะยอ ผ่านไลน์กลุ่มทุกครั้ง ซึ่งจากการสำรวจคุณภาพน้ำของแต่ละหมู่บ้านเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมาพบว่า หมู่ที่ 9 ออกซิเจนมีค่าต่ำ อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และน้ำมีกลิ่นคาวที่มาจากของเสีย และการขับเมือกของปลา นอกจากนี้ยังพบว่ามีปลากะพงขาวบางส่วนลอยตายในประชัง ดังนั้นในช่วงนี้ปลากะพงขาวอาจจะกินอาหารลดลง ไม่ควรให้อาหารมากเกินไป และต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการตายฉับพลันของปลาที่เลี้ยง ในส่วนของหมู่อื่นๆ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง แต่ยังมีความปลอดภัยของสัตว์น้ำ มีเฉพาะความเค็มของน้ำที่มีค่าลดต่ำลง ซึ่งน่าจะมีผลมาจากในช่วงสัปดาห์มีปริมาณฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ควรมีการตรวจสอบอาการปลาในกระชังอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง และจะได้แก้ไขในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที จึงได้มีการแจ้งเตือนเกษตรกรเป็นระยะ ๆ ให้เฝ้าระวัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital