ครั้งแรกของโลก...แอพพลิเคชั่นแปลเมนูอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวสร้างมูลค่าเพิ่มอาหารไทย รองรับการท่องเที่ยว 4.0

อังคาร ๑๒ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๑:๒๒
ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของสตรีทฟู้ดสำหรับนักท่องเทียว การท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่สร้างรายได้รวมปีละกว่า 2.76 ล้านล้านบาท โดยในปี 2560 ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาไทยกว่า 39 ล้านคน ซึ่งสร้างรายได้ 1.8 ล้านล้านบาท นอกจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายการเดินทางและท่องเที่ยวแล้ว ยังจับจ่ายรับประทานอาหารริมทางต่าง ๆ ด้วยซึ่งปัจจุบันพบว่านักท่องเที่ยวมีปัญหาด้านการสื่อสารกับพ่อค้าแม่ค้าร้านริมทาง หรือสตรีทฟู้ด

สามหนุ่มเมคเกอร์รุ่นใหม่โดยนายรุ่งหนึ่ง เหลืองกำจร ,นายภูเบศ จิรธิติภูวดล ,นายศศิน เนาว์รุ่งโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สร้างแอพพลิเคชั่นแปลเมนูอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวด้วยสมาร์ทโฟน (Menu Translator Application For Travellers) จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ครั้งแรกของโลก โดยมี ผศ.ดร.พิกุลแก้ว ตังติสานนท์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ

ภูเบศ จิรธิติภูวดล (ภู) เมคเกอร์คนเก่งวัย 24 ปี กล่าวว่า "เป้าหมาย 10 ปี ข้างหน้าคาดกันว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีสัดส่วนในจีดีพีประเทศ 14.3 เปอร์เซ็นต์ อาหารเป็นวัฒนธรรมและเสน่ห์อัตลักษณ์ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด มีจำนวนกว่า 110,000 ร้านทั่วประเทศ การสร้างแอพพลิเคชั่นแปลเมนูอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจากภาษาไทยเป็นอังกฤษ มีเป้าหมายชัดเจนคือ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความสะดวกสบาย สำหรับคนที่แพ้อาหารบางชนิด หรือมีข้อจำกัดในการบริโภคส่วนผสมบางประเภท ก็สามารถเข้าใจเมนูอาหารในร้านอาหารตามสั่ง ที่ส่วนใหญ่เมนูอาหารมักจะเขียนเป็นภาษาไทย ว่ามีส่วนผสมเบื้องต้นเป็นวัตถุดิบประเภทใดบ้างและอาหารมีลักษณะอย่างไร เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ สตรีทฟู้ด ร้านอาหารในชุมชนและเมืองรองของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเพียงแค่นักท่องเที่ยวลงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นของเราได้อย่างง่ายดาย แอพพลิเคชั่นนี้พัฒนาให้สามารถใช้งานได้กับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซอร์ส (Open Source) ที่ได้รับความนิยมมีผู้ใช้กว้างขวางและสะดวกต่อการใช้งาน ง่ายต่อการนำไปพัฒนาต่อ

เราเริ่มต้นจาก เขียนแอพพลิเคชั่นผ่านโปรแกรม Android Studio จากนั้นเริ่มกระบวนการหลังบ้านคือ การส่งรูปที่นักท่องท่องเที่ยวถ่ายภาพเมนูอาหารภาษาไทยไปประมวลผลภาพบนเซิฟเวอร์ (Server) ผ่านส่วนเชื่อมประสานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับเซิฟเวอร์ (API) ที่เราสร้างขึ้นมาเองเพื่อแปลงรูปภาพภาษาไทยเป็นตัวอักษรภาษาไทยแล้วทำการเปรียบเทียบความเหมือนของคำซึ่งเป็นหลักการทำงานของนวัตกรรมชิ้นนี้ และเมื่อได้คำภาษาไทยที่แม่นยำมากสุดแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับ Data Base อีกครั้งเพื่อแปลงคำจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและนำคำที่ได้มาแสดงผลบนแอพพลิเคชั่นแก่นักท่องเที่ยวผู้ใช้"

รุ่งหนึ่ง เหลืองกำจร (หนึ่ง) ทีมวิจัยไฟแรง วัย 23 ปี กล่าวว่า "วิธีการใช้งานแอพพลิเคชั่นแปลเมนูอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนี้ นักท่องเที่ยวเพียงใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพชื่อเมนูอาหารภาษาไทย และ Crop ชื่อเมนูอาหารที่ต้องการ แต่ถ้าหากยังไม่พอใจกับเมนูอาหารนั้นก็สามารถถ่ายภาพชื่อเมนูอาหารภาษาไทยอื่น ๆ ได้อีก โดยคลิ๊กคำว่า "Take Photo" และเมื่อนักท่องเที่ยวพอใจสรุปเลือกเมนูอาหารแล้วก็ให้คลิ๊กคำว่า "Process Photo" เพื่อไปยังหน้าแสดงผล และสั่งการให้หน้าจอสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์แสดงรายชื่อเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษพร้อมภาพ และแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนผสมและลักษณะเด่นของอาหารที่ผู้ใช้ได้เลือก นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นที่นักท่องเที่ยวสามารถอ่านรีวิวเมนูอาหารจากคนอื่น หรือผู้ใช้จะเขียนรีวิวเมนูอาหารเองก็สามารถทำได้ รวมถึงสามารถกดติดดาวเพื่อเก็บเมนูอาหารที่ชอบไว้และนำไปสั่งอาหารในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องถ่ายรูปใหม่อีกด้วย

ศศิน เนาว์รุ่งโรจน์ (คิด) วัย 22 ปี คุยถึงประโยชน์ของแอพพลิเคชั่นแปลเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ช่วยลดอุปสรรคของการสื่อสารทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีโอกาสลิ้มลองรสชาติอาหารไทยด้วยความมั่นใจในวัตถุดิบ คุณภาพและสุขภาพ อีกทั้งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว เพราะอาหารไทยเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่กระจายรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานรากและคนในชุมชน ทำให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสเสน่ห์ทางวัฒนธรรม เรียนรู้วิถีชีวิต และชุมชนซึ่งมีอัตลักษณ์และอาหารต่างๆกัน รวมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ให้อาหารไทยและวัตถุดิบเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในยุคดิจิทัลโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของรัฐบาลที่กระตุ้นส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาค และการท่องเที่ยวเมืองรอง

สำหรับแผนงานในอนาคต จะต่อยอดและพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ โดยจะพัฒนาฟังก์ชั่นให้สามารถแปลเป็นภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวหลักของประเทศ รวมทั้งจะพัฒนาระบบการทำงานให้สามารถใช้ได้ในแพลตฟอร์ม IOS เพื่อขยายฐานจำนวนผู้ใช้ให้กว้างขึ้น

นับเป็นการนำเทคโนโลยีใกล้ตัวมาสร้างประโยชน์ให้คนหมู่มาก ลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนามูลค่าภาคบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไกลไปกับวิถี4.0

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest