อพวช. จับมือ อธส. ร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ สู่เยาวชนและประชาชน เพื่อความยั่งยืนทางธรรมชาติของจังหวัดสตูล

พฤหัส ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๐๘:๓๓
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จับมือ อุทยานธรณีสตูล (อธส.) ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นตื่นตัวและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืน

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า อุทยานธรณีสตูล (Satun UNESCO Global Geopark) คือหนึ่งในพันธมิตรที่ อพวช. ได้ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งร่วมกันสำรวจ ศึกษาวิจัย พัฒนากิจกรรมการจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม โดยได้วางแนวทางความร่วมมือไว้ว่าจะสำรวจ ศึกษาวิจัย และแลกเปลี่ยนวัสดุอุเทศ ข้อมูลทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านศึกษาวิจัย การจัดแหล่งเรียนรู้ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอนุกรมวิธาน (Taxonomy) และความหลากหลายทางชีวภาพ และจะร่วมมือพัฒนาและจัดการแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างยั่งยืน

ด้านนายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีสตูล กล่าวว่า อุทยานธรณีสตูล เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และวัฒนธรรม ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่และชายหาดที่สวยงามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ มีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่า เกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขาและถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งจากความร่วมมือกับทาง อพวช. ในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดคุณประโยชน์กับท้องถิ่นหลายด้าน ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยาที่สร้างสรรค์ต่อเยาวชนและประชนชนในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในด้านการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของจังหวัดสตูลได้ในอนาคตสืบไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?