สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย “คนไทย 69.35% เชื่อมีเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจกับการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์”

จันทร์ ๑๘ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๐:๔๗
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(STC) แถลงผลการสำรวจ "ความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อปัญหาการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย" สำรวจระหว่างวันที่ 10 ถึง 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,168 คน

หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวการเข้าตรวจสอบจับกุมขบวนการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนในสังคมเริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

ทั้งนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ของเล่นประเภทเกมกด จัดเป็นขยะที่ก่อมลพิษกับสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายกับสุขภาพมนุษย์ แต่ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยในช่วงปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชนโดยเฉลี่ย 380,605 ตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 2.2 ต่อปี โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 64.8 ของปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้งหมด

ขณะที่ปัจจุบันในหลายประเทศได้ออกกฎหมายควบคุมปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงห้ามการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ แต่ประเทศไทยกลับเป็นแหล่งที่มีการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศต่างๆเพื่อมาทำลายมากที่สุดประเทศหนึ่ง

ด้วยเหตุดังกล่าวนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงานแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงเริ่มออกมาเรียกร้องและเสนอแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจังมากขึ้น จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ได้ทำการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อปัญหาการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.34 เพศชายร้อยละ 49.66 อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.31 ทราบว่า "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงขยะจำพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และของเล่นที่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.69 ยอมรับว่าตนเองไม่เคยทราบมาก่อน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.89 ยอมรับว่าตนเองไม่รู้สึกกังวลว่าปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาที่ใกล้ตัวและกำลังสร้างผลกระทบในการดำรงชีวิตประจำวันให้กับตนเอง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 32.45 ระบุว่าตนเองรู้สึกกังวล ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.66 ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.91 ทราบคร่าวๆ ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นขยะประเภทที่ก่อมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและสร้างอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.49 ระบุว่าตนเองทราบโดยละเอียด อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 28.6 ยอมรับว่าไม่เคยทราบเลย

ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 80.48 ไม่ทราบว่าในปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศต่างๆ มากกว่าสามสิบประเทศ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.03 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์สู่สาธารณะให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

ในด้านความสนใจต่อข่าวการจับกุมโรงงานที่ลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.86 ระบุว่าตนเองให้ความสนใจติดตามข่าวการเข้าจับกุมโรงงานที่ลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมาทำลายในประเทศไทยบ้าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.38 ระบุว่าให้ความสนใจติดตามโดยละเอียด แต่มีกลุ่มตัวอย่างถึงเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.76 ยอมรับว่าตนเองไม่ได้ให้ความสนใจติดตามเลย

ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.35 เชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจกับการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมาทำลายในประเทศไทย ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.52 ร้อยละ 70.21 และร้อยละ 69.78 มีความคิดเห็นว่าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบควบคุมสินค้าต่างๆ ที่นำเข้ามาในประเทศ มีการเพิ่มบทลงโทษกับโรงงานที่ลักลอบทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราโรงงานที่ประกอบกิจการแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมาทำลายในประเทศไทยได้ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.01 มีความคิดเห็นว่าการอนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจะไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศได้จริง และกลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.06 มีความคิดเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศในทุกกรณีเลย (อ่านข่าวต่อ : https://bit.ly/2lbC7Xl)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?