จำนวนผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นสูงกว่า 68 ล้านคนในปี 2560 จำเป็นต้องมีข้อตกลงระดับโลกเพื่อผู้ลี้ภัย

พฤหัส ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๐๙:๓๔
สงคราม ความรุนแรง และการประหัตประหาร ส่งผลให้สถิติการถูกบังคับให้พลัดถิ่นสูงที่สุดในปี พ.ศ.2560 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุจากวิกฤติในสาธารณรัฐคองโก สงครามในซูดานใต้ และการลี้ภัยในบังคลาเทศจากเมียนมาร์ของชาวโรฮิงญาหลายแสนคน โดยประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบมากที่สุด

จากรายงานแนวโน้มโลก (Global Trends) เผยแพร่โดย UNHCR ในวันนี้ แสดงถึงจำนวนผู้พลัดถิ่นเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2560 สูงถึง 68.5 ล้านคน ประกอบด้วย 16.2 ล้านคนที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นในปีพ.ศ.2560 จากการพลัดถิ่นเป็นครั้งแรก หรือซ้ำหลายครั้งก็ตาม แสดงว่าปริมาณของผู้คนที่ต้องย้ายถิ่นมีจำนวนมหาศาล เทียบเท่ากับ 44,500 คน ต้องพลัดถิ่นต่อวัน หรือ ทุก 2 วินาทีจะมีคน 1 คนกลายเป็นผู้พลัดถิ่น

ผู้ลี้ภัย ที่ต้องหนีจากประเทศตัวเองเพราะความขัดแย้ง และการประหัตประหารถือเป็นจำนวน 25.4 ล้านจาก 68.5 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าปีพ.ศ. 2559 ถึง 2.9 ล้านคน ถือเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดที่UNHCR เคยพบในรอบ 1 ปีส่วนผู้ขอลี้ภัย คือผู้ที่รอผลการสมัครเพื่อได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ.2560 เพิ่มสูงขึ้น 300,000 คนเป็นจำนวนทั้งหมด 3.1 ล้านคนสำหรับผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมีจำนวน 40 ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจาก 40.3 ล้านคนในปีพ.ศ. 2560

โดยสรุป โลกรองรับผู้พลัดถิ่นในปีพ.ศ. 2560 เทียบเท่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉลี่ยสำหรับทุกประเทศในโลก 1 ใน 110 คน คือผู้พลัดถิ่น

"เรากำลังถึงจุดเปลี่ยน โดยความสำเร็จในการจัดการกับสถานการณ์ผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั่วโลก ต้องการแนวทางใหม่ และครอบคลุมทุกด้าน เพื่อที่ประเทศ และชุมชนใดไม่ต้องถูกทิ้งให้มอบความช่วยเหลือเพียงลำพัง" นาย ฟิลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ กล่าว "แต่เรายังมีความหวัง โดยขณะนี้ 14 ประเทศ ได้ริเริ่มจัดทำระบบเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ผู้ลี้ภัย และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ข้อตกลงโลกเพื่อผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees) ก็พร้อมนำเสนอเพื่อได้การรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติวันนี้ ก่อนวันผู้ลี้ภัยโลก 1 วัน สิ่งที่ผมอยากสื่อสารถึงประเทศสมาชิกคือขอให้ร่วมสนับสนุนข้อตกลงนี้ ไม่มีใครเลือกที่จะเป็นผู้ลี้ภัย แต่พวกเราเลือกได้ว่าจะช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างไร"

รายงานแนวโน้มโลกของ UNHCR จะถูกเผยแพร่ทั่วโลกทุกปีก่อนวันผู้ลี้ภัยโลก (20 มิถุนายน) ซึ่งรวบรวมสถิติด้านการพลัดถิ่นจากข้อมูลของ UNHCR รัฐบาล และองค์กรพันธมิตรต่างๆ รายงานฉบับนี้ ไม่ได้ตรวจสอบสถานการณ์การลี้ภัยทั่วโลก ซึ่ง UNHCR จัดทำรายงานฉบับแยก โดยสิ่งที่เห็นอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2560 คือ การบังคับให้เดินทางกลับประเทศ การเชื่อมโยงเรื่องการเมืองและการทำให้ผู้ลี้ภัยเป็นแพะรับบาป ผู้ลี้ภัยถูกกักขัง หรือปฏิเสธที่จะรับเข้าทำงาน และในหลายๆ ประเทศปฏิเสธแม้แต่จะใช้คำว่า "ผู้ลี้ภัย"

อย่างไรก็ตาม รายงานแนวโน้มโลก เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับการถูกบังคับให้พลัดถิ่น และหลายครั้งสิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็ไม่ได้เป็นไปในทางเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น ความคิดที่ว่าผู้พลัดถิ่นในโลกส่วนใหญ่พักพิงในประเทศที่พัฒนาแล้วทางเหนือ ข้อมูลในรายงานแสดงให้เห็นความจริงในทางตรงข้าม โดยร้อยละ 85 ของผู้ลี้ภัยอาศัยในประเทศกำลังพัฒนา หลายประเทศมีฐานะยากจน และได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยในการมอบความช่วยเหลือต่อประชากรผู้ลี้ภัย และ 4 ใน 5 ของผู้ลี้ภัยก็อาศัยในประเทศเพื่อนบ้านของตน

การเดินทางลี้ภัยระหว่างพรมแดนในจำนวนมหาศาล ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่พบบ่อยท่ามกลางจำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลก 68 ล้านคน เกือบ 2 ใน 3 ของผู้ที่ถูกบังคับให้หนี คือผู้พลัดถิ่นภายในประเทศที่ยังไม่ได้ละทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง สำหรับสถิติผู้ลี้ภัย 25.4 ล้านคน เพียง 1 ใน 5 คือ ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ที่ได้รับการดูแลจาก UNRWA สำหรับที่ผู้ลี้ภัยที่เหลืออยู่ในความรับผิดชอบของ UNHCR โดย 2 ใน 3 ของผู้ลี้ภัยมาจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ซีเรีย อัฟกานิสถาน ซูดานใต้ เมียนมาร์ และโซมาเลีย การสิ้นสุดของความขัดแย้งในประเทศเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อภาพรวมของสถานการณ์การพลัดถิ่นทั่วโลก

ข้อมูลเชิงลึกอีก 2 ด้านจากรายงานแนวโน้มโลก คือ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อาศัยในเมือง (ร้อยละ 58) ไม่ใช่ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือชนบท และประชากรพลัดถิ่นทั่วโลกมีอายุน้อย โดยร้อยละ 53 คือเด็ก รวมถึงเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ หรือพลัดพรากจากครอบครัวอีกด้วย

ในขณะที่หลายประเทศทำให้เกิดการพลัดถิ่นจำนวนมาก แต่ประเทศที่รองรับผู้พลัดถิ่นในปริมาณที่สูงยังมีจำนวนน้อย ประเทศตุรกี ยังคงเป็นประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยสูงที่สุดในโลก คือ ผู้ลี้ภัยจำนวน 3.5 ล้านคน ส่วนใหญ่คือ ชาวซีเรีย ส่วนประเทศเลบานอน ยังคงเป็นประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ โดยรวม ร้อยละ 63 ของผู้ลี้ภัยที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ UNHCR มากจากเพียง 10 ประเทศ

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การหาทางออกสำหรับผู้ลี้ภัยทุกคนยังเป็นไปไม่ได้ สงคราม และความขัดแย้งยังเป็นปัจจัยหลักโดยความคืบหน้าไปสู่สันติภาพเท่าที่เห็นยังคงริบหรี่ ในปีพ.ศ. 2560 ผู้คนประมาณ 5 ล้านคนสามารถเดินทางกลับบ้านโดยสมัครใจ โดยส่วนใหญ่เป็นการเดินทางกลับหลังจากพลัดถิ่นภายในประเทศ แต่ท่ามกลางกลุ่มคนเหล่านี้ ยังมีคนที่ต้องเดินทางกลับภายใต้สถานการณ์ที่เสี่ยง และเปราะบาง เนื่องจากโอกาสในการตั้งถิ่นฐานใหม่มีจำนวนลดลง จำนวนของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่จึงลดลงกว่าร้อยละ 40 อยู่ที่จำนวน 100,000 คนเท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๑ เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๖:๓๖ ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๖:๐๐ STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น