รฟท.จับมือไต้หวันหาแนวทางพลิกโฉมหัวลำโพงสู่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย ผ่านงานอภิปราย“Renaissance in Siam I The Future of Hua Lamphong Railway Station”

พุธ ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๔๐
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมูลนิธิรถไฟไทยร่วมจัดกิจกรรม ถกผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันหาแนวทางในการพลิกโฉมสถานีรถไฟหัวลำโพงสู่การเป็น "พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย" ในอนาคต ล่าสุดร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) VISION THAI สื่อภาษาจีนเกี่ยวกับประเทศไทย จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมทางรถไฟ"Renaissance in Siam I: The Future of Hua Lamphong Railway Station" ร่วมวิเคราะห์โครงสร้างหัวลำโพงพร้อมแนะเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการรวมรวมสิ่งของเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ พร้อมยกตัวอย่างความสำเร็จของการอนุรักษณ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมของไต้หวันกว่า 50 ตัวอย่าง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามโครงการสร้างเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชียซึ่งมีการลงมติอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา รวมถึงโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว ระบบขนส่งคมนาคมทางรถไฟของประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ในอนาคตสถานีรถไฟบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟแห่งใหม่ของประเทศไทย ส่วนสถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีหลักในปัจจุบันจะถูกนำไปพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟ โดยล่าสุดจึงได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่รอบเส้นทางรถไฟของสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ถึงร้อยปีจะสามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรโดยการหารือได้จัดจัดกิจกรรมเยี่ยมชมพื้นที่ทางวัฒนธรรมของการรถไฟไทย (Site Visit of Thailand Railway Cultural Venue)โดยผู้เชี่ยวชาญจากการรถไฟแห่งประเทศไทยนำคณะนักวิชาการจากไต้หวันและผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมห้องแสดงนิทรรศการวัฒนธรรมทางรถไฟภายในสถานีรถไฟหัวลำโพงรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือต่างๆ ในด้านการรถไฟ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังได้เข้าชมระบบการขนส่งทางรถไฟแบบใหม่ของสถานีรถไฟบางซื่อ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมอภิปรายแบ่งปันประสบการณ์และทัศนะในหัวข้อพิพิธภัณฑ์การรถไฟระหว่างไต้หวันกับประเทศไทย (Taiwan-Thailand Railway Museum Experiences Sharing Forum) ซึ่งได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้ร่วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ก

นายสือ ป๋อ ซื่อ รองผู้แทนรัฐบาล สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยกล่าวว่ากรณีศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟของประเทศไทยกำลังจะย้ายจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานีรถไฟบางซื่อซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดประเด็นอภิปรายต่างๆ ในด้านการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สถานีรถไฟ การนำทรัพยากรเดิมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการขยายและปรับเปลี่ยนสู่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟ ไต้หวันจึงขอนำประสบการณ์หลายสิบปีในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางรถไฟ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยนักวิชาการด้านทางรถไฟและการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไต้หวัน ศาสตราจารย์หวงจวิ้นหมิงได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทเปและงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ศาสตราจารย์หงจื้อเหวินอภิปรายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยย่อของการรถไฟในไต้หวันและแผนแม่บทของพิพิธภัณฑ์กระทรวงการรถไฟที่เป่ย์เหมิน ศาสตราจารย์กัวสงอิ๋งได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับทางเดินใต้ดินของเส้นทางรถไฟในไทเป และอภิปรายการนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์และการวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟ ดร. เฉิน กวน ฝู่ ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย กล่าวถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมในไต้หวัน รวมถึงประวัติศาสตร์การพัฒนานโยบายด้านการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งปันประสบการณ์จากกรณีศึกษาจริงในพื้นที่ต่างๆ กว่า 50 ตัวอย่างในการนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมกลับมาใช้ใหม่ ในลักษณะการสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งในเมืองไทเป เมืองเกาสง เมืองไถหนาน เมืองฮวาเหลียน และเมืองอื่นๆ สุดท้าย ได้นำเสนอข้อเสนอแนะ 5 ประการแก่ประเทศไทย ได้แก่ การบูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นในเขตเมืองเก่า และการจัดทำโครงการร่วมกับประชาชนในพื้นที่ในการรวบรวมสิ่งของสำหรับจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันเรื่องราวจากกลุ่มคนรักรถไฟของไทย ที่ได้เดินทางไปยังไต้หวันเพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการรถไฟของไต้หวัน ในการสร้างและพัฒนาเส้นทางรถไฟใหม่ของไต้หวันแต่ยังคงมีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางรถไฟ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ หลังจากนี้อีกไม่นาน สถานีรถไฟความเร็วสูงของไต้หวันจะมีการสร้าง "ศูนย์การเรียนรู้รถไฟความเร็วสูงไต้หวัน" ซึ่งจะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ ห้องจำลองการทำงานของพนักงานขับรถไฟ เป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่างที่ประเทศไทยสามารถนำไปศึกษาและต่อยอดได้ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital