พาณิชย์ หนุนภาครัฐร่วมปลดล็อกธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมชี้ช่อง 3 สตาร์ทอัพสายแข็ง ดีพเทค เมดเทค เอสเคิร์ฟ มาแรงสุด

พุธ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๐๒
- เอ็นอีเอ จัด "สตาร์ทอัพ ซิมโพเซียม" ดึงบิ๊กกูรูระดับอินเตอร์ร่วมติวเข้มสตาร์ทอัพไทย พร้อมผนึกกำลังเอ็นไอเอ ดีป้า เคเอ็กซ์ หอการค้า กรุยทางธุรกิจนวัตกรรมโตรับเทรนด์โลก

กระทรวงพาณิชย์ เร่งบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพไทย เผยภาครัฐมีความพร้อมในการส่งเสริมและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ พร้อมโชว์ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีโอกาสเติบโตในช่วงครึ่งหลังปี 2561 และปี 2562 ได้แก่ 1.Deep Tech Startup 2. MedTech Startup และ 3.S-Curve Startup นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยังได้จัด โครงการเสวนาเพื่อผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ "NEA STARTUP SYMPOSIUM"เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการริเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงดังกล่าวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ พร้อมผนึกกำลังกับ KX Consulting Enterprise (Knowledge Exchange), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) , มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ลงนามความร่วมมือการผลักดันและสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วขึ้น

นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เผยถึงนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยว่า "กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจหลักที่จะมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งผู้ประกอบการยุคใหม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ (Innovation-driven Enterprises/Startup) เพื่อยกระดับไปสู่การเป็นธุรกิจนวัตกรรม โดยนวัตกรรมยังถือเป็นตัวเร่งสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญประการหนึ่ง พร้อมช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ หรือ Smart Enterprise อย่างครบวงจร

สำหรับในปัจจุบัน ภาครัฐพร้อมที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นอนาคตของประเทศไทยและไทยมีศักยภาพอยู่แล้วโดยเฉพาะในธุรกิจบริการ สุขภาพ อาหาร วัฒนธรรม ซึ่งในอนาคตมีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เผยว่า "ธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพ ที่จะมีศักยภาพ ได้นั้นต้องประกอบด้วยกุญแจไขความสำเร็จ6 อย่าง คือ 1.ภาครัฐสนับสนุน โดยมีภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนตามนโยบาย 2.ต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการทำงาน ให้ตอบสนองกลุ่มธุรกิจ Startup ได้มากยิ่งขึ้น 3. ต้องปลดล็อกข้อจำกัดในอดีตในเรื่องของการประกอบธุรกิจแบบเก่า โดยเฉพาะหากผู้ประกอบการมีไอเดียที่แปลกใหม่และดี ยิ่งสามารถนำมาใช้เป็นทุนและหลักประกันได้4. สร้างระบบนิเวศที่ดีและเหมาะสม เพื่อสนับสนุนธุรกิจ Startup 5. เร่งแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 6. ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ให้สอดรับกับธุรกิจ Startup ที่กำลังจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

นางจันทิรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเภทธุรกิจสตาร์ทอัพที่พบว่ามีโอกาสเติบโตในช่วงครึ่งหลังปี 2561 และปี 2562 คือ

1.Deep Tech Startup ซึ่งเป็นการใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูงมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่มีอยู่ในตลาด โดยจะต่างจากสตาร์ทอัพที่พัฒนาแอปพลิเคชั่น ด้วยการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ ซับซ้อนมีสิทธิบัตรทางปัญญาคุ้มครอง ทำให้ลอกเลียนแบบยากและคู่แข่งน้อย ตัวอย่างเช่น ระบบ AI (Artificial Intelligence) ระบบIoT เทคโนโลยีในสายธุรกิจต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ อาหารและการเกษตร อวกาศ พลังงาน

2. MedTech (สตาร์ทอัพด้านการแพทย์) โดยเป็นเทคโนโลยีที่จะมาช่วยพัฒนางาน บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในเรื่องของสุขภาพอนามัย ด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ติดตามผลตรวจสุขภาพผ่านมือถือ วิเคราะห์ความเสี่ยงโรค แก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพเป็นแบบระบบโมบายแอปพลิเคชั่น และแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นต้น

3. Startup ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) โดยจะต้องเป็นสตาร์ทอัพที่สามารถยกระดับการผลิต การบริการ หรือการขนส่งของ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น สตาร์ทอัพด้านระบบบริการทางการแพทย์ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้กระบวนการผลิตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ ล่าสุดจึงได้จัด โครงการเสวนาเพื่อผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ "NEA STARTUP SYMPOSIUM : The power of Creativity & Innovation" (พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อสตาร์ทอัพ) ซึ่งนับเป็นโครงการต่อเนื่อง และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการริเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงดังกล่าวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น บอย โกสิยพงศ์ นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชื่อดัง ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้ก่อตั้ง FireOneOne, Mr.William Malek ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและอดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Stanford, Mr.Jame D. Laur,Cedars-Sinai Accelerator Powered by Techstars, จากประเทศสหรัฐอเมริกา Mr.Michael Maylahn President Stasis Labs จากประเทศสหรัฐอเมริกา , Mr.David Bolliger General Partner of Intervalley Ventures (AI Human,LP) จากประเทศออสเตรเลีย และ Mr.Gabriele Costigan Managing Director WeXcelerate จากประเทศออสเตรีย พร้อมด้วยสตาร์ทอัพสัญชาติไทยอีกมากมาย

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยังได้ผนึกกำลังกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาคการศึกษา โดยที่ผ่านมาได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แล้ว 2 หน่วยงานได้แก่ KX Consulting Enterprise (Knowledge Exchange), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa)ซึ่งภายในงานยังจะมีพิธีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพิ่มอีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)หรือNIA ซึ่งทุกภาคส่วน จะร่วมกันบูรณาการผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการยุคใหม่ ในทุกระดับ โดยมีความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวโน้มและความต้องการของสินค้านวัตกรรมในตลาดต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการให้ก้าวสู่สากล การให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ การร่วมทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ ในการจัดงานสัมมนา เป็นต้น

โดยการจัดโครงการเสวนาในครั้งนี้ยังนับเป็นการจุดประกายให้แก่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทยให้มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบผลสำเร็จ ตลอดจนแนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่พร้อมจะต่อยอดธุรกิจของตนเองให้มีความสามารถในการแข่งขันของตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจประเภท Startup ของไทยอีกด้วย นางจันทิรา กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร. 1169 หรือwww.nea.ditp.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4