รมว.แรงงาน ลงใต้ติดตามการฝึกอาชีพผู้มีรายได้น้อยที่ยะลา

จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๐๙:๑๒
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และความมั่นคงในชีวิต

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าในการฝึกอาชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 24 ยะลา (สพร.24 ยะลา) ว่ารัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความมั่งคง 2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5. ด้านสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐ

กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รับเป้าหมายดำเนินการทั่วประเทศจำนวน 652,120 คน ประกอบด้วย กิจกรรมการส่งเสริมและฝึกอาชีพ หลักสูตรฝึกอาชีพช่างเร่งด่วน ช่างอเนกประสงค์ (ช่างชุมชน) จำนวน 60 ชั่วโมง 81,000 คน พร้อมทั้งมอบเครื่องมือประกอบอาชีพให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกเพื่อการมีงานทำนำไปต่อยอดในการรับงานในชุมชน และกิจกรรมการประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 18 ชั่วโมง 30 ชั่วโมง และ 60 ชั่วโมง หรือประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 544,120 คน มี 58 หลักสูตร เช่น การทำศิลปะประดิษฐ์ การแต่งผมสุภาพบุรุษ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การประกอบอาหารไทย เป็นต้น โดย สพร.24 ยะลา มีเป้าหมายดำเนินการฝึก 10,489 คน ดำเนินการแล้ว 4,719 คน มีสาธิตการฝึกอาชีพ ได้แก่ สาขาการประกอบอาหารไทย จำนวน 20 คน อาทิเมนูแกงมัสมั่นไก่ ต้มยำกุ้งทะเลน้ำข้น แกงเขียวหวานเนื้อ สาขาขนมไทย จำนวน 20 คน อาทิ ตะโก้มันม่วง ขนมชั้นแฟนซี ขนมบ้าบิ่น สาขาการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า จำนวน 20 คน ได้แก่ การตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้พลังงานความร้อน และประเภทพลังงานกล

นอกจากนี้ยังมีการสาธิตอาชีพของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ การทำรองเท้า ผ้ามัดย้อม จักสานตะกร้าเส้นพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่กล้วยหินฉาบ และกระเป๋าผ้า พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีแผนดำเนินการจำนวน 402,671 คน ดำเนินการแล้ว 176,104 คน (ณ 16 สิงหาคม 2561) และการลงพื้นที่ในครั้งนี้ต้องการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน และรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพการฝึก สาขาที่ดำเนินการต้องสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงจะได้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

"โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยฯ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ผู้มีรายได้น้อย มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำความรู้ทักษะไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถก้าวผ่านเส้นความยากจน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามนโยบายของรัฐบาล" รมว.กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ
๑๗:๑๗ เขตวัฒนากวดขันผู้ค้าทางออกสถานีรถไฟฟ้า MRT แยกอโศก ไม่ให้กีดขวางทางสัญจร
๑๗:๒๒ ดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ที่รอยัล คลิฟ พัทยา
๑๖:๐๙ SEhRT กรมอนามัย ปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากไฟไหม้โรงงานพลาสติก จังหวัดระยอง
๑๖:๑๒ สิ่งที่ควรรู้ก่อนส่งอาหารไปอเมริกา แพ็คยังไง ส่งอะไรได้บ้าง?
๑๖:๐๘ ตอบข้อสงสัยการทำประกันออนไลน์ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเคลม
๑๖:๐๓ 5 คุณประโยชน์ของวิตามินบำรุงสมอง อาหารเสริมที่ควรมีติดบ้าน