ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กรกฎาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 62 เดือน เกิดจากกำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าขยายตัว, กังวลราคาน้ำมัน

จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๒๗
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 1,012 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 31.2, 36.8, 32.0 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 32.5, 17.7, 18.3, 17.5 และ 14.0 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 81.9 และ 18.1 ตามลำดับ

โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 91.7 ในเดือนมิถุนายน โดยค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 62 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม ผู้ประกอบการเห็นว่ากำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค ส่งผลดีต่อการบริโภคสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลและโลหะการ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการสินค้าไทยของประเทศเพื่อนบ้านผ่านการค้าชายแดน รวมทั้งการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้ายังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกระทบต่อต้นทุนประกอบการ ภาวะน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องติดตามและเตรียมแผนรองรับกับมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่างๆ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.7 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบในช่วงปลายปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณขยายตัวดีต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนกรกฎาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน โดยมีรายละเอียดดังนี้

อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 76.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 74.5 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 96.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 93.5 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 92.0 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ, อุตสาหกรรมหล่อโลหะ เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.9 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 109.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.1 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 108.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.4 ในเดือนมิถุนายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนกรกฎาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนมิถุนายน โดยมีรายละเอียดมีดังนี้

ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 96.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 94.6 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะแลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้แช่แข็ง อาหารปรุงรสมี คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น อาหารสดและอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่ม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยได้รับผลดีจากช่วงวันหยุดต่อเนื่องช่วงวันเข้าพรรษา ทำให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มอาหารเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่ง รถกระบะเชิงพาณิชย์ รถ SUV และ PPV และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง การส่งออกมีคำสั่งซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นจากตลาดเอเชียแปซิฟิก และอเมริกาใต้)

อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากในประเทศ จากอุตสาหกรรมยานยนต์ และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าประเภทกระป๋อง ขวด อลูมิเนียมมีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม)

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเหล็ก (เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กลวด เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง)

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.1 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 83.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 81.8 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมสิ่งทอ (เส้นใยสิ่งทอ และเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้เพื่อผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป การส่งออกเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอาเซียน)

อุตสาหกรรมเซรามิก (สุขภัณฑ์เซรามิกมีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาด CLMV)

อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษคราฟต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์กระดาษสามีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

หัตถอุตสาหกรรม (สินค้าหัตถกรรม กระเป๋าจักสาน เครื่องเคลือบและของที่ระลึก มียอดขายในประเทศลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 93.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 92.9 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.9ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 87.5 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ Hard Disk Drive มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ ตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้ากีฬา และชุดชั้นในมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐ,อาเซียน และยุโรป)

อุตสาหกรรมน้ำตาล (น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาด CLMV)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (อิฐมวลเบา อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง และหินอ่อน มียอดขายในประเทศลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 99.8 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 108.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 107.6 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามความต้องการในประเทศที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซียและเวียดนาม)

อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า การส่งออกเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและตลาด CLMV)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ (เครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากช่วงฤดูฝนสภาพอากาศเย็น ทำให้ความต้องการใช้ลดลง ด้านการส่งออกสินค้าประเภทแผ่นกระจายความเย็นสำหรับตู้เย็นมีคำสั่งซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 109.1 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 80.0 ปรับตัวลดลง จากระดับ 80.8 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง จากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน เนื่องจากจีนมีมาตรการคุมเข้มเรื่องมาตรฐานการผลิตสินค้าภายในประเทศ ส่งผลให้คู่ค้าลดการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)

อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีการชะลอการสั่งซื้อ)

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มดิบมีปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมีสต๊อกสินค้าในปริมาณสูง)

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรมควัน ถุงมือยางทางการแพทย์ มีคำสั่งซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น ยางรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.5 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนกรกฎาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเดือนมิถุนายน โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.1 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบ ดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมอาหาร

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.8 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 106.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 105.3 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 107.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.3 ในเดือนมิถุนายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2561 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมืองในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

2. เจรจาเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการค้ากับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน และรักษาตลาดเดิมไว้

3. เปิดเจรจาการค้าเสรี FTA กับตลาดใหม่เพื่อรับมือสงครามการค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกเดิม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๕ อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ต้องรู้ 2567
๑๕:๑๐ อมาโด้ (amado) ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดคอลลาเจน คว้า 2 รางวัล จากเวทีธุรกิจ 2024 Thailand's Most Admired Brand (ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4) และรางวัล Brand Maker Award
๑๕:๒๒ ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี เติมฝันเด็กไฟ-ฟ้า ผ่านโชว์ Cover Dance คว้า 2 รางวัล จุดประกายศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่สำคัญ
๑๕:๑๒ วว. / สสว. นำ วทน. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขัน SMEs จัดอบรมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยบรรจุภัณฑ์ ฟรี
๑๓:๕๐ เถ้าแก่น้อย ครองใจผู้บริโภคคว้า 'แบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุด' จากผลสำรวจ Thailand's Most Admired Brand
๑๓:๓๘ Bose-Backed สมาร์ทวอทช์แบรนด์ Noise เปิดตัวในไทยบน Shopee และ Lazada
๑๒:๑๗ TIDLOR ปลื้ม! หุ้นกู้ 3 ชุดใหม่ มูลค่า 4,000 ลบ. ขายหมดเกลี้ยง ขอบคุณนักลงทุนที่ร่วมสร้างผลตอบแทน พร้อมกับสร้างการเติบโตให้ธุรกิจไปด้วยกัน
๑๒:๔๗ แอล.พี.เอ็น. เปิดโมเดลซัพพอร์ทคนอยากมีบ้าน เจาะกลุ่มเรียลดีมานด์ที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 3 ล้าน ผุดแคมเปญ 'LPN ดูแลให้' และ 'LPN
๑๒:๓๗ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า 'Redmi Note 13 Series' ให้คุณกดบัตรคอนเสิร์ต '2023-2024 BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] in BANGKOK Presented by Xiaomi' รอบ
๑๒:๐๘ กรมโยธาฯ ใช้มาตรการเด็ดขาด ยกเลิกสัญญาจ้างงานที่ล่าช้าสร้างความเดือดร้อนประชาชน