ธรรมศาสตร์เปิด “งานวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของบางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์” เสนอแนะทุกภาคส่วนที่ดูแลคนไร้สัญชาติที่ตกเป็นคนต่างด้าวเทียมในไทย

จันทร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๑
- ธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมา ผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เปิดพื้นที่การเรียนรู้ สะท้อนปัญหาผู้ไร้สัญชาติ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิด "งานวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของบางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" เพื่อเสนอแนะทุกภาคส่วนที่ดูแล คนไร้สัญชาติหรือทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ ผู้มีปัญหาด้านกฎหมายและสิทธิในประเทศไทย จนตกเป็นคนต่างด้าวเทียมในประเทศไทย โดยเจ้าของปัญหาที่เป็นกรณีศึกษาจากการวิจัย ตลอดจนผู้สนับสนุนทางสังคม นักกฎหมาย และผู้รักษาการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มธ.จัดเวทีเสวนา "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมา ผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ ตลอดจน สร้างความตระหนักรู้ทางกฎหมายในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของเหล่าเจ้าของปัญหาและภาคที่เกี่ยวข้อง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เราย่อมตระหนักได้ว่า ในประเทศไทย บุคคลที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะเป็น "คนไร้รัฐไร้สัญชาติ" หรือ "คนเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ" จำนวนมากที่สุดมาจากสหภาพเมียนมา เพราะผู้อพยพจากเมียนมาในราว พ.ศ.2530 - 2540 มักเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากความไม่สงบในประเทศไทย ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมา ทำให้การจดทะเบียนคนเกิดในทะเบียนราษฎรเมียนมาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเมื่อบุตรหลานมาเกิดในประเทศไทย ทายาทรุ่นสองนี้ก็มักตกเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิง หากเกิดนอกโรงพยาบาล ในขณะที่ทายาทกลุ่มที่เกิดในโรงพยาบาล แม้จะเป็นผู้มีรัฐ แต่ยังคงประสบปัญหาความไร้สัญชาติ

"หม่อง ทองดี" เป็นตัวอย่างหนึ่งของบุตรหรือทายาทรุ่นที่สอง ที่เกิดในประเทศไทยจากผู้อพยพจากประเทศเมียนมา ในช่วงเวลาที่เกิดความไม่สงบในประเทศดังกล่าว แต่เป็นการเกิดนอกโรงพยาบาล เขาจึงตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติโดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออำเภอไชยปราการได้ทำหนังสือรับรองสถานที่เกิดให้แก่เขาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2551 ตามคำขอของบิดาของเขา จึงเป็นการจดทะเบียนคนเกิดย้อนหลัง เขาจึงมีสถานะเป็นคนในทะเบียนราษฎรซึ่งเกิดในประเทศไทย แต่ยังตกเป็นคนไร้สัญชาติ เพราะไม่อาจสืบสิทธิในสัญชาติตามบิดาและมารดาที่เป็นผู้มีสถานะคนไร้รัฐ และเมื่อบุพการีไม่มีเอกสารรับรองสถานะคนสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่ง และเป็นคนเข้าเมืองไทยแบบผิดกฎหมาย การกำหนดสิทธิในสัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิตก็จะทำไม่ได้ ในขณะที่การใช้สิทธิในสัญชาติไทยก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทยรับรองสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศไทยของผู้อพยพจากเมียนมา "แบบมีเงื่อนไข" กล่าวคือ หากไม่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้สิทธิในสัญชาติไทย คนดังกล่าวก็จะไม่อาจใช้สิทธิในสัญชาติไทยได้เลย คนดังกล่าวจึงประสบปัญหาความไร้สัญชาติ ตกเป็นคนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวเสริมว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อปลาย พ.ศ.2552 "น้องหม่อง ทองดี" ในขณะนั้นถูกปฏิเสธสิทธิเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วมการแข่งร่อนเครื่องบินกระดาษพับ ตลอดจนมีปัญหาทางกฎหมายอีกหลายประการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มมีการคลี่คลายไปในทางที่ดีโดยการช่วยเหลือของ "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" ซึ่งรับผิดชอบดูแลให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่น้องหม่องมาตลอดกว่า 10 ปี จนนำไปสู่การทำงานวิจัยหัวข้อ "ต้นแบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย" แก่บุตรที่เกิดในประเทศไทยของคนต่างด้าวที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย หรือ "ทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ (Second Generation of Migrant People)"

ด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย เป็นงานสำคัญหนึ่งในสิ่งที่นักวิชาการในประชาคมวิชาการธรรมศาสตร์ทำมาอย่างช้านาน เราจึงมีความรู้และทักษะในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของมนุษย์ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ความไร้รัฐไร้สัญชาติ ดังนั้น "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" จึงพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ที่ยังคงประสบปัญหา "ไร้สัญชาติหรือเสมือนไร้สัญชาติ" อย่างสุดความสามารถ เพียงแต่ยังคงติดปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง คือการไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ใดบ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวอยู่บ้าง จึงไม่สามารถติดตามตัวและดำเนินการเพื่อคลี่คลายปัญหาได้ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวต่อ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความมุ่งมั่นของ "บางกอกคลินิกนิติธรรมศาสตร์" จึงได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งองค์กรรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาด้านสัญชาติและการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสื่อมวลชนจากหลายสำนัก ในการจัดงานเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคมครั้งที่ 4 เรื่อง "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมาผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" ที่เปรียบเสมือนพื้นที่การเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในอีกหลากหลายมิติที่ยังคงเข้าใจผิด ตลอดจนเพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ นอกจากนี้ งานเสวนาดังกล่าวยังคงเปรียบเสมือนกระบอกเสียง เพื่อส่งต่อไปให้ถึงทายาทรุ่นสองของผู้อพยพ ที่ประสบปัญหาไร้สัญชาติในไทย ให้เข้ามาร่วม "รักษา" ปัญหาและอุปสรรคด้านสิทธิและข้อกฎหมายที่ต้องพบเจอ ตลอดจนเป็นพื้นที่ในการรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของคนกลุ่มนี้ ที่อาจเป็นปัญหาใหม่และไม่เคยพบเจอมาก่อน เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกัน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคมครั้งที่ 4 เรื่อง "การจัดการสิทธิอันจำเป็นของทายาทรุ่นสองจากเมียนมาผ่านกรณีศึกษา หม่อง ทองดี" เพื่อทบทวนองค์ความรู้ ในการจัดการสิทธิอันจำเป็นของผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งมีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากบุพการีต่างด้าวที่อพยพจากรัฐต่างประเทศ ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ประสบปัญหาดังกล่าวร่วมเข้าคลี่คลายปัญหา เข้าร่วมเสวนาโดย กลุ่มทายาทรุ่นสองจากเมียนมา จีน และสหรัฐอเมริกา นักกฎหมาย สื่อมวลชน องค์กรรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายหม่อง ทองดี ต้นแบบการวิจัยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ตลอดจน คนไร้สัญชาติในสถานการณ์เดียวกันอีก 3 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?