ผลวิจัยชี้ ป่าปลูก ปตท. ช่วยดูดซับ CO2 ได้ 37.27 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เร็วกว่าเป้าหมาย 6 ปี

จันทร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๘:๑๓
ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปลูกป่า ปตท. ล่าสุดพบว่าป่าที่ปลูกสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง37.27 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 1 ล้านคันต่อปี และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศ 29.81 ล้านตันออกซิเจน เพียงพอให้ใช้หายใจกว่า 5.7 ล้านคนต่อปี บรรลุเป้าหมายก่อนกำหนดจากที่เคยตั้งไว้ให้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2.1 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ.2567

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมตลอดมา โดยเฉพาะการดำเนินภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟู และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นับจากจุดเริ่มต้น คือ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี2537 ซึ่ง ปตท. ดำเนินโครงการการปลูกป่า 1 ล้านไร่ จนนำมาสู่การจัดตั้งสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. เพื่อนำองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์การปลูกป่า ของ ปตท. มาขยายผลโดยป่าที่ ปตท. ปลูกกว่า 1.1 ล้านไร่ ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่กว่า 82 % หรือประมาณกว่า 900,000 ไร่ เทียบเท่าพื้นที่ของกรุงเทพมหานครทั้งหมด ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดูแลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า หรือ รสทป. ที่เป็นกำลังสำคัญในช่วยกันดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 24 ปี ภารกิจในการดำเนินงานปลูกป่า สร้างพื้นที่สีเขียว ของ ปตท. ยังคงมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการปลูก เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรป่าไม้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงมุ่งสร้างชีวิตที่มีคุณภาพแก่คนในสังคม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อเศรษฐกิจที่ดีอันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปลูกป่า ปตท. ทุกช่วงระยะเวลา3 ปี ซึ่งได้เริ่มดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง ปัจจุบันเป็นครั้งที่ 4) ล่าสุด ผลสรุปของการประเมินผลสัมฤทธิ์ฯการปลูกป่า ปตท. ในครั้งที่ 4 พบว่า

- ป่าดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 37.27 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ 2.18 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี เพียงพอต่อการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 1,128,572 คัน /ปี (คิดเป็น 12.8 % ของรถยนต์ส่วนบุคคลประเภทไม่เกิน 7 ที่นั่งที่จดทะเบียนของทั้งประเทศ) และเพียงพอต่อการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับคนไทย 457,720 คน /ปี

- ปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศ 29.81 ล้านตันออกซิเจน หรือ 1.74 ล้านตันออกซิเจนต่อปี เพียงพอให้คนได้ใช้หายใจประมาณ 5.7 ล้านคนต่อปี

- ประชาชนรอบพื้นที่แปลงปลูกป่าได้รับประโยชน์ทางตรงจากการเก็บหาของป่าเพื่อใช้ในครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งหมดประมาณ 280 ล้านบาทต่อปี

ตลอดระยะเวลา 40 ปี ปตท. ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน อย่างยั่งยืน ผ่านการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชนเพื่อร่วมกันดูแลรักษาป่าไม้และระบบนิเวศที่คนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและยั่งยืนสืบไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน