กรมโรงงานฯ ร่วมตั้งคณะอนุกรรมการถกแนวทางยกเลิก 3 สารปราบศัตรูพืช ประสานกรมวิชาการเกษตรร่างแผนควบคุมให้เข้มงวด ดีเดย์รู้ผล 30 ส.ค. นี้

พฤหัส ๓๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๑๑
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีการร้องเรียนยกเลิกการใช้ 3 สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จากภาคีเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เผยคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกหรือแบนการใช้ทั้ง 3 สารดังกล่าว ซึ่งจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหาร ความเสี่ยงในเกษตรกรและผู้รับจ้างฉีดพ่น การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมพบว่ายังไม่มีหลักฐานชี้บ่งที่ชัดเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังได้แนะนำแนวทางที่เหมาะสมแทนการแก้ปัญหาโดยการยกเลิกหรือแบน คือ ให้มีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่าย จำกัดปริมาณการนำเข้าและให้ใช้กับพืชเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็น โดยยังได้ประสานให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำแผนบริหารจัดการในการจำกัดการใช้สารทั้ง 3 ชนิดที่ชัดเจนอีกครั้ง พร้อมเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา ซึ่งมีกำหนดที่จะพิจารณาในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 นี้

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวเรื่องการยกเลิกหรือแบนการใช้ 3 สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จากภาคีเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการวัตถุอันตรายมิได้มีการนิ่งนอนใจแต่อย่างใด และยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ ด้านพิษวิทยา ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเกษตร สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการยกเลิกหรือแบนการใช้ทั้ง 3 สารดังกล่าว โดยคณะอนุกรรมเฉพาะกิจได้ใช้เวลาพิจารณารวบรวมข้อมูลทั้งสถิติการเจ็บป่วย สาเหตุความเสี่ยงจากการบริโภคอาหาร ความเสี่ยงในเกษตรกรและผู้รับจ้างฉีดพ่น การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรวจสอบข้อมูลพบว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหรือความเจ็บป่วยที่ปรากฏตามที่เป็นข่าว และจากข้อมูลของ The Joint FAO/WHO Expert Meeting on Pesticide Residues (JMPR) องค์กรระหว่างประเทศที่ได้มีการประเมินไว้ว่าความเสี่ยงของผู้บริโภคจากการได้รับสารจากการรับประทานอาหารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะทำให้เกิดอันตราย

นายมงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้พิจารณาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ และวิเคราะห์ภาพรวมในมิติต่าง ๆ ทั้งมาตรการกำกับดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความเป็นอันตรายของสาร ข้อมูลการเกิดโรค การตกค้างของสารในสิ่งแวดล้อม ข้อมูลความเจ็บป่วยจากสถิติของศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี คุณสมบัติของสารทดแทนและราคา รวมทั้งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งการตัดสินใจได้ดูข้อมูลที่ได้รับจากภาคส่วนต่าง ๆ และเสียงส่วนใหญ่ในคณะกรรมการฯ เห็นว่า ปัญหาหลักไม่ใช่มาจากตัวสาร แต่มาจากวิธีการบริหารจัดการ ความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และความเข้มงวดในการติดตามกำกับดูแล รวมทั้งยังไม่ได้มีการนำหลักเกณฑ์วิธีการจัดการที่ดีมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำให้ผู้ใช้ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการเข้าถึงสารได้ง่ายเกินไป และนำไปใช้ทำร้ายตัวเอง

อย่างไรก็ดี การห้ามใช้สารโดยที่ยังไม่มีมาตรการบริหารจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาโดยตรงที่สาเหตุ และการยกเลิกในทันทียังจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรผู้ใช้ โดยเฉพาะชาวสวนชาวไร่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ยืนต้นทั้งหลาย เช่น ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น นอกจากนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังให้ความเห็นว่า แนวทางการจำกัดการใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมแก้ปัญหาที่ตรงกับเหตุ โดยมีข้อเสนอแนะอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ให้มีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่าย จำกัดปริมาณการนำเข้าเพื่อให้ใช้เท่าที่จำเป็นการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี นำระบบสากล Good Agricultural Practice หรือ GAP มาใช้ จัดทำฉลากและมีการสื่อสารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเลือกใช้เครื่องมือในการฉีดพ่น และการป้องกันการรับสัมผัสสารดังกล่าวด้วย

นายมงคล กล่าวทิ้งท้ายว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ คณะกรรมการวัตถุอันตรายจึงได้ให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำแผนบริหารจัดการในการจำกัดการใช้สารทั้ง 3 ชนิดที่ชัดเจนอีกครั้ง พร้อมเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา ซึ่งมีกำหนดที่จะพิจารณาในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 นี้

สำหรับประชาชนสามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรม 1564 หรือขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่

กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0 2202 4152 หรือเข้าไปที่ www.diw.go.th หรืออีเมล์[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๓ เซ็นทารา เปิดตัว โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง
๑๐:๐๙ THE GAIN ยกขบวนวิทยากรระดับประเทศ มุ่งสู่งานสัมมนา การเทรดและลงทุนปี 2024
๑๐:๒๗ W เผย IFA หนุนเพิ่มทุน 2.5 พันล้านหุ้นขาย PP รับแผนเข้าถือหุ้นฟรุตต้าฯ 51% พร้อมปลดล็อก CBC
๑๐:๓๐ ผถห.TFG โหวตหนุนแจก TFG-W4 ฟรี! อัตรา 10 : 1 ราคาใช้สิทธิ 3.80 บ.พร้อมจ่ายปันผลเงินสด 0.01 บ./หุ้น ปักธงปี 67 รายได้โต 10%
๑๐:๑๙ ASIA เตรียมขายหุ้นกู้มีหลักประกัน มูลค่า 300 ลบ. อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7 - 7.20% มูลค่าหลักประกันเฉียด 1,600 ลบ. คาดเปิดจองซื้อวันที่ 27 - 29 พ.ค.
๑๐:๓๘ ไมเนอร์ โฮเทลส์ ประกาศรวมอัตลักษณ์องค์กรในระดับโลก ด้วยการรีแบรนด์ เอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป เป็น ไมเนอร์ โฮเทลส์ ยุโรป แอนด์
๑๐:๕๔ ยูนิโคล่ร่วมกับมารีเมกโกะ เปิดตัว UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน 2024 เติมเต็มความสดใสให้ซัมเมอร์ ในธีม Joyful Summer
๑๐:๔๒ TERA ฟอร์มเจ๋ง! เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 122.86% ลุยให้บริการ T.Cloud รับอนาคตธุรกิจคึกคัก ปักหมุดผลงาน 3 ปีเติบโตเฉลี่ยเกิน
๑๐:๐๙ โบรกฯ แสกน GFC ส่งซิก Q1/67 พุ่ง
๑๐:๐๐ ผถห. WINMED ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.0295 บ./หุ้น-รับเงิน 21 พ.ค.นี้ รุกตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มรายได้ประจำผถห. ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โตเกิน 20%