เปิด 5 อาชีพวิทย์อินเทรนด์!! กับโอกาสงานสไตล์วิทย์แบบใหม่ๆ ที่เด็กรุ่นใหม่อยากเรียน

ศุกร์ ๓๑ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๑๒
"เรียนวิทย์จบไปคงทำงานแต่ในแล็บ" เสียงสะท้อนจากนักเรียนสายวิทย์หลายๆ คนที่อาจจะอยู่ในสภาวะที่หนักใจและเป็นกังวลว่า การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์ จบไปแล้วจะมีงานรองรับหรือไม่ แต่หากสังเกตการปรับตัวของเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการกำเนิดของเทคโนโลยี AI (Artificial intelligence) เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) และอื่นๆ จะทราบได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก "Pure Science" หรือ "วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์" ด้วยกันทั้งสิ้น ที่สามารถนำไปต่อยอดหรือผสมผสานกับศาสตร์เรียนรู้อื่น จนเกิดเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดในปัจจุบัน

รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการปรับตัวตามกระแสโลกตลอดเวลา คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ในฐานะหน่วยงานที่บ่มเพาะและผลิตนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จึงไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและพร้อมวางกรอบนโยบายในการพัฒนาเยาวชนไทย สู่บุคลากรคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีความกล้าคิดนอกกรอบ และกล้าผลิตนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจหรืออาชีพที่ทำเงินได้ในอนาคต ซึ่งในยุคที่ทุกสิ่งขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล จึงทำเกิดเทรนด์อาชีพสไตล์วิทย์ๆ หลากรูปแบบที่พร้อมตอบโจทย์ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคมในหลากมิติ อีกทั้งพร้อมรองรับเด็กวิทย์รุ่นใหม่เปิดประสบการณ์ร่วม ดังต่อไปนี้

- "นักพัฒนาเอไอ: ป้อนข้อมูลเพื่อสั่งการหุ่นยนต์สมองกลอัจริยะ" การหุ่นยนต์เอไอ เพื่อทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่เสี่ยงอันตราย และอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ เพียงทำการโค้ดข้อมูลต่างๆ เข้าระบบ เช่น "หุ่นยนต์แขนกล" ที่ทำหน้าที่เชื่อมโลหะชิ้นส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ "หุ่นยนต์รักษามะเร็ง" ผู้ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น

- "นักวิทยาการข้อมูล: เปลี่ยนข้อมูลมหาศาล เป็นทรัพยากรล้ำค่าทางธุรกิจ" ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูล ที่สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่มากมายในระบบอินเตอร์เน็ตและไอที ยกระดับธุรกิจและลดความเสี่ยงด้านการตัดสินใจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และนวัตกรรม สู่การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมจากข้อมูล ที่เข้าใจง่ายและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

- "นักพัฒนาเกม - สร้างเกมสุดมันส์แบบมือโปร รับกระแสอีสปอร์ตบูม" ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมออนไลน์ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลายช่วงวัย ทั้งการเล่นเพื่อความบันเทิงก็ดี หรือเล่นเป็นอาชีพก็ดี ก่อนจะถูกพัฒนาเป็น อี-สปอร์ต (electronic sports) หรือกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างในปัจจุบัน โดยที่ล่าสุด ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักพัฒนาเกม ที่จะดีไซน์รูปแบบเกม วิธีการเล่น หรือโค้ดข้อมูลต่างๆ อย่างไรให้เนื้อเรื่องของเกมมีความเฉียบคม เร้าใจ และดึงดูดความสนใจเหล่านักกีฬาอีสปอร์ต

- "นักเทคโนโลยีชีวภาพ - แปลงกากอุตสาหกรรม เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ" การแปรรูปกากเหลือจากอุตสาหกรรมเกษตรและสารอินทรีย์จากปศุสัตว์ อาทิ แกลบ ชานอ้อย กะลามะพร้าว และมูลสัตว์ สู่พลังงานชีวภาพที่มีศักยภาพ และสามารถใช้ทดแทนพลังงานที่มีอยู่ได้ในอนาคต ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล ขณะเดียวกัน ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

- "นักวิจัยอาหารสุดครีเอทีฟ - เนรมิตรเมนูอาหารสุดล้ำ ตอบโจทย์ผู้บริโภคหลากสไตล์" การผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเข้าด้วยกัน สู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไป และหลากหลายของผู้บริโภค ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก อาหารที่หน้าตาดีและเหมาะแก่การถ่ายรูป ลงโซเชียลมีเดีย (Social Media)

ทั้งนี้ จากเทรนด์อาชีพดังกล่าว ล้วนแต่มีรากฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ทั้งในเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ ฯลฯ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงมีนโยบายในการพัฒนาและปรับโครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้โฉมใหม่ ที่บูรณาการองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ร่วมกับการบริหารธุรกิจ สู่ "SCI+BUSINESS" หรือ "วิทย์คิดประกอบการ" เพื่อให้นักศึกษาสามารถก้าวสู่เส้นทางอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ รวมไปถึงการเป็นผู้สร้างอาชีพหรือธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต ผ่านสาขาวิชาและหลักสูตรที่พร้อมตอบโจทย์อุตสาหกรรม New S-Curve อาทิ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร และหลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ เป็นต้น รศ.ดร.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย

นางสาวปานชนก บุญสม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า การเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูลนั้นถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยองค์กรวิเคราะห์ ตัดสินใจ และคาดการณ์แนวทางการแก้ปัญหา เพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ ผ่านการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่มีจำนวนมาก ประมวลผลข้อมูล และออกแบบข้อมูลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างแบบจำลองข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ระบบไอทีและอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้มีข้อมูลอยู่ในระบบออนไลน์จำนวนมาก และยากต่อการหยิบยกข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ในอนาคตจึงอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Science เพื่อเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการช่วยองค์กรตัดสินใจ และสามารถรองรับภาคสังคมและธุรกิจของประเทศที่ Big Data จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4491 ต่อ 2020 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th หรือเฟซบุ๊คแฟนเพจwww.facebook.comScienceThammasat

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest