คน กทม 56.2% เคยตรวจสอบข่าวปลอม (Fake News) เจอข่าวปลอม (Fake News) จากเฟสบุ๊ค (Facebook) และเรื่องการเมืองมากสุด

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๒:๔๘
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอม (Fake News) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,269 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2561 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในอดีตปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ไม่ได้ส่งผลกระทบกับสังคมในวงกว้างได้ อย่างในสังคมไทยนั้นข่าวลือไม่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่ไม่จริง ในอดีตที่พูดกันปากต่อปากนั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้างได้ แต่ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารได้พัฒนาทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และการส่งต่อๆกันนั้นทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้ ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศต่างๆทั่วโลกก็ประสบปัญหาในเรื่องของปัญหาข่าวปลอม (Fake News) การตรวจสอบข่าวปลอมของคนสังคมไทยนั้นมีการตรวจสอบหรือไม่ มีการตรวจสอบด้วยวิธีใด ภาครัฐจะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไรในการกำกับดูแลและควบคุมข่าวปลอม (Fake News) ที่ส่งผลกระทบในเชิงลบกับสังคม ทำให้เกิดความแตกตื่นของคนในสังคม ในสภาวการณ์ที่คนทุกคนในสังคมสามารถติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และมีการส่งต่อไปยังกว้างขวางและรวดเร็ว ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 65.1 และเคยตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 56.2

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีการในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) โดยค้นหาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 53.0 อันดับที่สองคือสอบถามผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 28.1 และอันดับสามคือไม่คิดจะตรวจสอบ ร้อยละ 18.9

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ผ่านสื่อเฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 54.2 อันดับสองคือมีคนเล่าให้ฟัง ร้อยละ 13.9 และอันดับสามคือผ่านสื่อไลน์ (Line) ร้อยละ 12.7 และพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 27.6 อันดับสองคือประเด็นเรื่องหลอกขายสินค้า ร้อยละ 23.2 อันดับสามคือประเด็นเรื่องสุขภาพ ร้อยละ 19.1 อันดับที่สี่คือประเด็นเรื่องดารา ร้อยละ 17.8 อันดับที่ห้าคือประเด็นเรื่องภัยพิบัติ ร้อยละ 8.7 และอันดับสุดท้ายคือประเด็นเรื่องศาสนา ร้อยละ 3.6

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปราบ ข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 76.6

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4