กยท. เปิดบ้านรับผู้แทนชาวสวนยางและสถาบันฯ ร่วมหารือเรื่องสถานการณ์ยางพารา

พุธ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๑:๐๒
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย จัดประชุมผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้แทนจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้าหารือร่วมกันในเรื่องสถานการณ์ยางพารา ราคายาง รวมถึงการแก้ไข พ.ร.บ. กยท. พ.ศ. 2558 เพื่อหวังนำไปใช้ในการพัฒนายางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมสถลสถานพิทักษ์ ชั้น 6 การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า การประชุมผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ กยท. และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหารือร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหาราคายางในปัจจุบัน โดย กยท. เห็นความสำคัญในเรื่องตลาดยางพารา จึงมีแผนในการพัฒนาตลาดกลางยางพารา เพื่อรับซื้อยางของเกษตรกรในทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ กยท. มีตลาดกลางยางพารา 6 แห่ง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบุรีรัมย์ โดย กยท. จะจัดตั้งตลาดกลางเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดระยอง และจังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับตลาดให้ครอบคลุมและทั่วถึงในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายให้ยางพาราในแต่ละพื้นที่มีการซื้อขายผ่านตลาดกลางเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% แต่สิ่งสำคัญคือ ยางที่เกษตรกรนำมาขายต้องได้มาตรฐานตามที่ตลาดกลางยางพารากำหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นและพัฒนาเกษตรกรในการทำยางที่ได้คุณภาพที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากทำได้สำเร็จจะทำให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถซื้อขายยางได้ในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น ลดต้นทุนการขนส่ง และสามารถซื้อขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม

รักษาการ ผู้ว่าการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของ พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่หลายฝ่ายออกมาให้ความเห็นว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง โดยการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ. โดยให้เครือข่ายเกษตรกร ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะการเข้าถึงกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(2)-(6) จะนำมาพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาวงการยางพาราทั้งระบบได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เกษตรกรได้เสนอแนะว่า ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบผลผลิตในการขายยางจากเดิมที่ทำยางแผ่นดิบ หรือยางแผ่นรมควัน มาเป็นน้ำยางสดหรือยางก้อนถ้วยออกมาขายในตลาดแทน จึงต้องการให้ กยท. พิจาณาและวิเคราะห์หาสัดส่วนระหว่างยางแผ่น และน้ำยางที่ออกสู่ตลาด เพื่อวางแผนด้านการตลาด พร้อมกันนี้เกษตรกรขอให้ กยท. ร่วมผลักดันการใช้ยางในประเทศ เช่น การนำยางมาใช้ทำถนนยาง หรือการนำยางในสต๊อกเก่ามาแปรรูป เช่น ทำหมวกกันฝนให้หน้ายาง เป็นต้น ทั้งนี้เกษตรกรชาวสวนยางยังพร้อมที่จะสนับสนุนนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ในการทำงาน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายางพาราให้ชาวสวนยางต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๕ อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ต้องรู้ 2567
๑๕:๑๐ อมาโด้ (amado) ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดคอลลาเจน คว้า 2 รางวัล จากเวทีธุรกิจ 2024 Thailand's Most Admired Brand (ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4) และรางวัล Brand Maker Award
๑๕:๒๒ ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี เติมฝันเด็กไฟ-ฟ้า ผ่านโชว์ Cover Dance คว้า 2 รางวัล จุดประกายศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่สำคัญ
๑๕:๑๒ วว. / สสว. นำ วทน. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขัน SMEs จัดอบรมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยบรรจุภัณฑ์ ฟรี
๑๓:๕๐ เถ้าแก่น้อย ครองใจผู้บริโภคคว้า 'แบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุด' จากผลสำรวจ Thailand's Most Admired Brand
๑๓:๓๘ Bose-Backed สมาร์ทวอทช์แบรนด์ Noise เปิดตัวในไทยบน Shopee และ Lazada
๑๒:๑๗ TIDLOR ปลื้ม! หุ้นกู้ 3 ชุดใหม่ มูลค่า 4,000 ลบ. ขายหมดเกลี้ยง ขอบคุณนักลงทุนที่ร่วมสร้างผลตอบแทน พร้อมกับสร้างการเติบโตให้ธุรกิจไปด้วยกัน
๑๒:๔๗ แอล.พี.เอ็น. เปิดโมเดลซัพพอร์ทคนอยากมีบ้าน เจาะกลุ่มเรียลดีมานด์ที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 3 ล้าน ผุดแคมเปญ 'LPN ดูแลให้' และ 'LPN
๑๒:๓๗ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า 'Redmi Note 13 Series' ให้คุณกดบัตรคอนเสิร์ต '2023-2024 BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] in BANGKOK Presented by Xiaomi' รอบ
๑๒:๐๘ กรมโยธาฯ ใช้มาตรการเด็ดขาด ยกเลิกสัญญาจ้างงานที่ล่าช้าสร้างความเดือดร้อนประชาชน