5 เคล็ดลับเสริมหัวใจแข็งแรงแม้สูงวัย

ศุกร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๓๑
แม้หัวใจจะเป็นเพียงอวัยวะเล็ก ๆ ขนาดเท่ากำปั้นมือ แต่ก็เป็นมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้และอยู่ได้ดีในทุกวัน ทุกนาที และทุกวินาที

บทบาทหน้าที่ของหัวใจในการสูบฉีดเลือดและออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปอดทั้งสองข้าง รวมถึงนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากกระแสเลือดในร่างกาย ถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของสุขภาพโดยรวมที่ดีของคุณ แต่ในขณะเดียวกัน หัวใจก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ (heart disease) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคร้ายที่ทุกคนรู้จักกันดีว่าเป็นภัยเงียบอันดับต้น ๆ ของโลกที่เป็นเสมือนมัจจุราชคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปมากถึง 17.5 ล้านคนต่อปี

สิ่งที่น่าหวาดหวั่นกว่านั้นก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และความชราก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยความชุกของโรคเหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น อันที่จริงแล้ว อัตราความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ของประเทศพัฒนาแล้วขยับสูงขึ้นจากร้อยละ 1-2 เป็นมากกว่าร้อยละ 10 ในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ร้อยละ 80 ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก็มีอายุ 65 ปีขึ้นไปด้วย

จากงานวิจัยหนึ่งโดยสถาบัน National University Heart Centre Singapore (NUHCS) ร่วมกับศูนย์ National Heart Centre Singapore (NHCS) พบด้วยว่า ชาวเอเชียมีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวเร็วกว่าชาวตะวันตกถึงหนึ่งศตวรรษ ผู้ป่วยในฟิลิปปินส์มีอายุเฉลี่ยของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเร็วที่สุดอยู่ที่อายุ 54 ปี เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย (อินโดนีเซีย – อายุ 56 ปี ไต้หวัน – อายุ 63 ปี เกาหลีใต้ – อายุ 63 ปี ญี่ปุ่น – อายุ 65 ปี และฮ่องกง – อายุ 68 ปี) ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยชาวยุโรปที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวจะอยู่ที่อายุ 71 ปี

ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องเริ่มดูแลใส่ใจสุขภาพหัวใจของเรากันตั้งแต่ตอนนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยสามารถทำตาม 5 เคล็ดลับดี ๆ ที่นำมาฝากกันต่อไปนี้ เพื่อชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้นได้อย่างยืนยาว

เคล็ดลับที่1 – เข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพ

กุญแจสำคัญที่นำไปสู่สุขภาพหัวใจที่สมบูรณ์แข็งแรงคือ คุณต้องรู้ค่าตัวเลขที่บ่งบอกภาวะสุขภาพต่าง ๆ ของตัวเองให้ดี หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ และจัดตารางตรวจสุขภาพร่างกายแบบครอบคลุมทุกด้านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือแวะไปคลินิกเพื่อตรวจเช็คสุขภาพบ้างเป็นครั้งคราว

อีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องระวังและให้ความสำคัญก็คือ ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นอีก "ภัยเงียบ" ที่สามารถคร่าชีวิตคนได้โดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนด้านสุขภาพหรืออาการใด ๆ บ่งบอกล่วงหน้า ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้ตรวจวัดและรักษา ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น

เคล็ดลับที่ 2 – ลด ละ เลิก พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ

สำหรับใครที่สูบบุหรี่อยู่ หากคุณลดพฤติกรรมนี้ลงก็จะช่วยถนอมหัวใจของคุณได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังช่วยลดอัตราเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจลงได้เป็นอย่างมากเมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะไปทำลายผนังบุหลอดเลือดแดง และทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดแดงและนำไปสู่ภาวะตีบตันได้ บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอกอันเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina) ในขณะที่หลายรายที่มารู้ตัวว่ามีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบเมื่อมาด้วยอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง

ดังนั้นขอแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่อย่างถาวรเสียตั้งแต่ตอนนี้! ทิ้งบุหรี่ ไฟแช็กและที่เขี่ยบุหรี่ไป และหาสิ่งอื่นมาทดแทน เพราะการเลิกพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพดังกล่าวจะสร้างคุณประโยชน์มหาศาลให้กับสุขภาพร่างกายของคุณได้มากกว่าที่คุณรู้

เคล็ดลับที่ 3 – หมั่นรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ

ตามปรัชญาโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ปริมาณแคลอรี่ที่เราควรบริโภคในแต่ละมื้ออาหาร ต้องมาจากส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40 โปรตีนร้อยละ 30 และไขมันดีร้อยละ 30 รวมถึงไฟเบอร์ 25 กรัม และดื่มน้ำให้เพียงพอหรืออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

และเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหัวใจให้ดีขึ้น ให้ลองรับประทานผักและผลไม้สด ผลไม้แห้ง ถั่วต่าง ๆ และเมล็ดพืชเป็นประจำทุกวันเพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ อาหารจำพวกปลาที่มีไขมันดีสูง (เช่น แซลมอน แมคเคอเรล และทูน่า) เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) ถั่ววอลนัท เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลือง ล้วนอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ การรับประทานปลาแทนเนื้อวัวซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูง นอกจากเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยเสริมระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงเพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายให้น้อยลงด้วย

เคล็ดลับที่ 4 – ออกกำลังกายให้หัวใจสูบฉีดสม่ำเสมอ

ประโยชน์ของการออกกำลังกายสม่ำเสมอมีมากกว่าแค่น้ำหนักที่ลดลงหรือรูปร่างที่ดูดีขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยยกระดับสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้นแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีและขยายกว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลเวียนเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจเราได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการผลิตสาร

ไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ในร่างกายซึ่งช่วยควบคุมดูแลและรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คุณมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงยิ่งขึ้น

สำหรับการเริ่มต้นไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ให้ลองออกกำลังกายที่เน้นความหนักระดับปานกลาง (moderate-intensity) อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ามันยากไป ลองออกไปเดินเล่นระยะทางสั้น ๆ ในระหว่างวัน หรือจอดรถไกลจากออฟฟิศไปสักหน่อย หรือลองลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายจากเก้าอี้ทำงานแทนที่จะนั่งนาน ๆ ทั้งวันดูบ้างก็ไม่เลว

เคล็ดลับที่ 5 – ลดความเครียดลง

แม้จะยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงชัดเจนว่าระดับความเครียดที่สูงจะส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจได้แน่นอน แต่ความเครียดก็ถือเป็นตัวการสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจของคุณได้

ความเครียดอาจทำให้คุณมีอาการความดันโลหิตสูง ทำให้คุณรับประทานอาหารมากเกินไป ทั้งยังอาจออกกำลังกายน้อยลง และสูบบุหรี่มากกว่าปกติ มิหนำซ้ำความเครียดระยะยาวก็อาจจะทำให้ร่างกายของคุณเพิ่มระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือคอร์ทิโซล (cortisol) ได้ง่าย ๆ และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะหัวใจวายตามมา

เพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีของคุณเอง คุณควรจะมีเวลาพักผ่อนเพื่อไปผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ คนที่มีระดับความเครียดน้อยมักจะไปออกกำลังกายและรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งสองสิ่งต่างช่วยรักษาสุขภาพหัวใจของคุณให้สมบูรณ์แข็งแรง

สุดท้ายแล้ว การมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงมีส่วนช่วยให้เราอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจได้มาก หากว่าคุณยังไม่เริ่มต้นทำเลย คุณควรจะเริ่มซะตั้งแต่ตอนนี้และนำเคล็ดลับ ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้หัวใจของคุณสูบฉีดและทำงานได้อย่างเต็มที่ต่อไปอีกนานแสนนาน แล้วหัวใจของคุณจะต้องรู้สึกขอบคุณที่คุณเริ่มทำเพื่อหัวใจของคุณเองที่แข็งแรงแม้ยามสูงวัย!

กดไลค์เราที่เฟซบุ๊ค พร้อมอีกหลากหลายเคล็ดลับดี ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ได้ที่www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial พร้อมค้นพบแรงบันดาลใจด้านสุขภาพและไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ได้ที่www.instagram.com/HerbalifeThailandOfficial

\

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4