สมุดพกสีชมพูเด็กแรกเกิดไทยสำคัญ!!! กรมอนามัย แนะ แม่ใช้ตามติดสุขภาพตนเองและลูก

พฤหัส ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๕
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กหรือสมุดสีชมพูเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องไปจนเด็กเข้าโรงเรียน

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็ก "สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กระดับนานาชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ.2561 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ว่า การส?งเสริมสุขภาพให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุตามแผนงาน Promotion and Prevention Excellence โดยเฉพาะการดูแลเด็กให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศในอนาคต ภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งกรมอนามัยได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์จนถึงเด็กอายุ 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองในการพัฒนาสมอง ระบบประสาท จะถูกพัฒนาสูงสุดในช่วงวัยนี้ ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนพอเพียง โดยเฉพาะไอโอดีน ธาตุเหล็กและโฟเลท ให้มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ไม่มีภาวะซีด เมื่อทารกคลอดออกมาต้องได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลัง 6 เดือน เด็กต้องได้รับอาหารเสริมตามวัยร่วมกับกระบวนการกระตุนพัฒนาการผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบกิน กอด เล่น เล่า นอน ดูแลฟัน อย่างเหมาะสมจากพ่อแม่ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ท้องถิ่นชุมชนร่วมลงทุนในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและพัฒนาการสมวัย โดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเป็นเครื่องมือหรือที่รู้จักคือสมุดสีชมพู ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ เป็นคู่มือดูแลสุขภาพเด็กต่อเนื่องไปจนถึงเข้าโรงเรียน โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะได้รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและคำแนะนำในการใช้ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและได้รับบริการอย่างครบถ้วน

"ทั้งนี้ ประเทศไทยเริ่มใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กตั้งแต่ปี 2528 และปรับปรุงทุก 3 ปี ซึ่งกรมอนามัยได้มอบสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กแก่หญิงตั้งครรภ์ในการเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเองและเป็นเครื่องมือของหญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพและการเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์มีพัฒนาการสมวัย เพื่อการสร้างขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวคิดในการส่งเสริมสุขภาพที่จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีสุขภาพดี รวมถึงบุคคลในครอบครัวได้ใช้ศึกษาหาความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อให้แม่และลูก มีสุขภาพดี เกิดความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและบุตร ดังนั้น สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยนวัตกรรม โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายประเทศ การแสดงนิทรรศการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ตลอดจนเป็นการสร้างกระแสให้สังคมตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพคนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มแม่และเด็ก รวมถึงการมีสุขภาพดีและการพัฒนาประเทศไทย อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4