วิศวะฯ มธ. เปิดตัว “หนูขออ่าน” AI คัดกรองเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ แก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รู้ผลไวใน 30 นาที

พฤหัส ๑๐ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๑
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasart School of Engineering : TSE) โชว์นวัตกรรมสุดเจ๋งรับวันเด็กแห่งชาติ 2562 ดึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พัฒนานวัตกรรม "หนูขออ่าน" ชุดตรวจคัดกรองภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ที่เกิดจากการทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง เป็นความผิดปกติของโครโมโซมหรือกรรมพันธุ์ในเด็กเกิดใหม่กว่า 40,000 คนต่อปี ชูจุดเด่นใช้งานง่าย ด้วยแทปเลตหรือสมาร์ทโฟน รู้ผลไวภายใน 30 นาที

อุดช่องโหว่ด้านพัฒนาการที่ไม่สมวัย หวังช่วยเด็กไทยมีโอกาสทางการศึกษา เติมเต็มทักษะ อ่าน เขียน คำณวน อย่างเท่าเทียม

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th และ Facebook fanpage ของ TSE

ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

รองศาสตราจารย์ ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า คณะฯ ได้พัฒนานวัตกรรม "หนูขออ่าน" ชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ บนแทปเลตหรือสมาร์ทโฟน ที่พัฒนาร่วมกับ ดร.จุฑามณี อ่อนสุวรรณ อาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจุดเด่นของนวัตกรรม "หนูขออ่าน" คือ

การตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ต่างจากโปรแกรมคัดกรองแบบเดิมที่สามารถคัดกรองได้หลังอายุ 8 ขวบเท่านั้น โดยใช้เวลาตรวจคัดกรองเพียง 30 นาที ซึ่งได้ผลการคัดกรองที่แม่นยำถึงร้อยละ 95 ทั้งนี้ลักษณะของความบกพร่องทางการเรียนรู้

สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ความบกพร่องด้านการอ่าน (dyslexia) ได้แก่ ปัญหาในด้านการอ่าน อ่านหนังสือไม่ออก หรืออ่านหนังสือได้ เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น สามารถอ่านได้ทีละตัวอักษร แต่ไม่สามารถผสมคำได้ หรือมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ ขาดทักษะในการสะกดคำ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ได้อย่างจำกัด หรืออ่านได้แต่คำศัพท์ง่าย ๆ อ่านผิดบ่อย เด็กกลุ่มนี้จึงใช้วิธีการเดาคำเวลาอ่าน อ่านได้แต่คำที่เห็นบ่อย เนื่องจากใช้วิธีการจำคำ แต่ไม่ได้อาศัยการสะกด และอ่านตะกุกตะกัก จับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้

ความบกพร่องด้านการเขียน (dysgraphia) ได้แก่ปัญหาในการเขียนพยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ และการันต์ ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย จึงทำให้เขียนและสะกดคำผิด มีปัญหาการเลือกใช้คำศํพท์ การแต่งประโยค การสรุปเนื้อหาสำคัญ ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียนได้ตามลำดับชั้นเรียน แต่สามารถคัดลอกตัวหนังสือตามแบบได้ และในบางรายอาจเขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จึงไม่สามารถแต่งประโยคหรือเล่าเรื่องจากการเขียนได้ อีกทั้งเด็กบางคนอาจเขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน หรือมีปัญหาเขียนพยัญชนะกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา

ความบกพร่องด้านการคำนวณ (dyscalculia) ได้แก่ความสับสนเกี่ยวกับตัวเลข ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข นับเลขไปข้างหน้าหรือย้อนหลังไม่ได้ เขียนเลขกลับกัน รวมถึงขาดทักษะและความเข้าใจเกี่ยวกับการนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถหาคำตอบได้ หรือมีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจมีภาวะความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง ในขณะที่เด็กบางคนอาจมีความบกพร่องร่วมกันทั้ง 3 ด้านพร้อมกัน โดยความบกพร่องประเภทที่พบมากที่สุด คือ ความบกพร่องด้านการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียน โดยโปรแกรมดังกล่าวต่อยอดไปสู้การรักษาเพื่อฟื้นฟูทักษะในรายที่มีความบกพร่อง และจะช่วยให้เด็กได้รับการช่วยเหลือและได้รับการดูแลที่เหมาะสมโดยเฉพาะด้านการเรียน และสามารถจัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละราย เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กทั่วไป เพราะยิ่งสามารถตรวจคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากเท่าไหร่ จะยิ่งช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กได้เร็วยิ่งขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและการดำเนินชีวิตต่อไป เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในทุกมิติ

ปัจจุบันประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดในการตรวจคัดกรองผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities: LD)

จากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ปกครองและครูในโรงเรียน หรือแม้แต่การเข้าถึงการรักษา เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญในการตรวจคัดกรองซึ่งมีอยู่จำกัด การออกแบบประเมินที่ยังไม่ครอบคลุมการทดสอบทักษะของเด็กที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ถูกแปลมาจากชุดคัดกรองภาษาต่างประเทศ และการตรวจคัดกรองแต่ละครั้งใช้เวลานาน ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งเติบโตมาพร้อมความบกพร่อง และค่อยๆส่งผลกับการเรียนรู้ที่เด่นชัดเมื่อโตขึ้น สำหรับประเทศไทย มีอัตราการเกิดใหม่อยู่ที่ 800,000 คนต่อปี ซึ่งคาดว่า จะมีอัตราการเกิดภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้เพิ่มเป็น 40,000 คนต่อปี และพบในเด็กผู้ชายจะเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 4 เท่า

โดยนวัตกรรม "หนูขออ่าน" จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาด้านพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีพัฒนาการที่สมวัย

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th และ Facebook fanpage ของ TSE

ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4