จากพระราชเสาวนีย์ฯ วันนี้บ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีข้าวพันธุ์ดีปลูกและบริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

ศุกร์ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๔:๑๖
นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมคณะอนุกรรมการฯ เชิญถุงพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปมอบแก่ราษฎรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับติดตามผลการดำเนินงานและเยี่ยมราษฎร

การนี้ องคมนตรีกล่าวว่า "บ้านนาเกียนเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชนอื่น ๆ ของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่มาก รู้สึกดีใจที่ได้มาเห็นพี่น้องชาวบ้านมีหน้าตาอิ่มเอิบสมบูรณ์พูนสุข ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส ดูมีความสุขมาก คาดว่าน่าจะเป็นเพราะระบบโภชนาการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้เมื่อก่อนหน้านี้ และวันนี้ได้ให้ผลผลิตมากมาย ชาวบ้านมีอาหารที่ดีมีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง รวมทั้งได้รับคาร์โบไฮเดรตที่สมบูรณ์อยู่แล้วเพราะชาวบ้านทำนาขั้นบันได ทำให้มีข้าวบริโภคตลอดทั้งปี และพระองค์ได้พระราชทานสิ่งจำเป็นให้เพิ่มเติม คือ เรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ชาวบ้านได้หลังจากระบบน้ำสมบูรณ์ คือ พืชผักสวนครัว ตลอดจนการเพาะปลูกไม้เมืองหนาวหลายชนิดรวมไปถึงกาแฟ ที่ชาวบ้านนำมาปลูกในพื้นที่บริเวณบ้าน ไม่ได้ปลูกแบบแปลงใหญ่เหมือนกับพื้นที่อื่น ๆ ที่อยู่บนดอยทั่วไปทางภาคเหนือ ซึ่งนอกจากจะผลิตเป็นเมล็ดกาแฟสารได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นกาแฟคั่วได้ด้วย ซึ่งบ้านนาเกียนมีเครื่องคั่วกาแฟที่ชาวบ้านลงทุนกันเอง คาดว่าอีกไม่กี่ปีก็จะคุ้มทุน เป็นการดำเนินการในรูปแบบของโรงงานเล็ก ๆ ส่วนรสชาติของกาแฟนับว่าดี เพราะปลูกในพื้นที่สูงสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้กาแฟมีกลิ่นหอมเป็นการเฉพาะ"

โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านนาเกียน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎร ซึ่งจากการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ และยึดแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินงาน พระองค์มีพระราชดำริให้นำพื้นที่ที่ถูกบุกรุกแผ้วถางมาจัดทำเป็นพื้นที่ศึกษา ทดลอง และเป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการให้แก่ราษฎร ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่มีสภาพเสื่อมโทรม ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำของชุมชนในอนาคต โดยสถานีฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านนาเกียน หมู่ที่ 3 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ดำเนินงาน 14,000 ไร่ มีหมู่บ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านนาเกียน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 156 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 662 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปร์) โดยผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในห้วงระยะ 13 ปี ของการก่อตั้งสถานีฯ ปัจจุบันราษฎรมีข้าวพืชผักและอาหารโปรตีนในการบริโภคอย่างเพียงพอ มีความรู้การทำเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ และได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่มีสภาพเสื่อมโทรม จำนวน 6,600 ไร่ ควบคู่กับการป้องกันรักษาป่าที่มีอยู่เดิมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันสภาพป่าบริเวณ

ดอยซอยเทอลู่ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศของพืชพรรณและสัตว์ป่าหายาก นกเงือกและชะนี เข้ามาอาศัยหรือหากินในบริเวณพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น และพบว่าปริมาณน้ำของลำน้ำนาเกียนซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่มีปริมาณเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 51,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวันเป็น 60,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำให้ชุมชนมีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และน้ำเพื่อทำการเกษตรเพิ่มมากขึ้น

ทางด้านนางเพชรรัตน์ ประเสริฐ ราษฎรชาวกะเหรี่ยงบ้านนาเกียน ที่สมัครเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ของโครงการ และนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งหลังจากได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเจ้าหน้าที่ของโครงการและนำมาใช้ที่บ้าน ยังได้ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เช่น การทำนา และปลูกผักหลังนา

การปลูกกาแฟแบบสวนครัว คือปลูกในพื้นที่บริเวณบ้าน ซึ่งทางสถานีได้สนับสนุนในเรื่องของต้นพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ให้ แรกๆ ปลูกไว้เพื่อบริโภคในครอบครัวต่อมาผลผลิตมีมากขึ้น จึงจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนโดยนำผลผลิตมารวมกันแล้วขาย ทำให้สมาชิกมีรายได้เสริมปีหนึ่งประมาณ 2,500 บาทต่อคน

"สำหรับตนเองจะปลูกกาแฟ และขยายพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์ไม้ป่าแล้วนำตอจากพันธุ์ท้องถิ่นมาเสียบยอดด้วยพันธุ์ดีที่ทางสถานีสนับสนุน เนื่องจากพันธุ์พืชท้องถิ่นต้นตอจะหากินเก่งแต่ผลผลิตไม่ค่อยสมบูรณ์และมีรสชาติ

ไม่อร่อย จึงทำการเสียบยอดโดยใช้พันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ก็จะได้ต้นพันธุ์ที่หากินเก่งและให้ผลผลิตที่ดีตรงตามความต้องการของผู้บริโภค"

นอกจากนี้ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการแก้ไขปัญหาผลผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค ในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ งานพัฒนาพันธุ์ข้าวนาที่สูงได้ศึกษาพันธุ์การเปรียบเทียบผลผลิต การพัฒนาพันธุ์ข้าวนา

ที่สูงให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม "ธนาคารข้าวพระราชทาน" พบว่า นอกจากจะได้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองข้าวไร่ มีชื่อพันธุ์บือขะสอ และพันธุ์บือพะดู ที่เกษตรกรนิยมนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ ทำให้ราษฎรบนพื้นที่สูงที่ทำนาแบบขั้นบันไดได้รับผลผลิตข้าวที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี และจากการบูรณาการการดำเนินงานจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ปัจจุบันราษฎรสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวจากข้าวพันธุ์บือพะดู ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ มาเป็นพันธุ์บือขะสอ ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 400 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่และให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง มีการส่งเสริมการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารโปรตีน

ที่เหมาะสม เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่า และส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สอดคล้อง ได้แก่ กาแฟ และมะขามป้อม โดยกาแฟเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปี 2560 ปัจจุบันมีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟบ้านนาเกียน มีสมาชิกประมาณ 20 คน มีรายได้จากผลผลิตกาแฟ ราว 140,000 บาท และคาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตและรายได้จากกาแฟจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการปลูกมะขามป้อม พริกกะเหรี่ยง แล้วนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ปัจจุบันราษฎรบ้านนาเกียนมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2548 ก่อนเริ่มจัดตั้งโครงการฯ ราษฎรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,500 บาท/ครัวเรือน/ปี และในปี พ.ศ. 2561 ราษฎรมีรายได้เฉลี่ย 70,800 บาท/ครัวเรือน/ปี ปัจจุบันชุมชนบ้านนาเกียน ยังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ในฐานะชุมชนที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองในการฝึกช้างเพื่อเป็นแรงงานในการช่วยไถนาอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ