NIDAPoll การหาเสียงกับการเลือกตั้ง 2562

จันทร์ ๒๘ มกราคม ๒๐๑๙ ๐๙:๔๓
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การหาเสียงกับการเลือกตั้ง 2562" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง 2562 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อพรรคการเมืองว่าจะสามารถทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้จริง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.28 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 23.84 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 20.48 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 2.40 ระบุว่า เชื่อมั่นมากที่สุด

สำหรับนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งจะมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัคร ส.ส. มากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.32 ระบุว่า มีผลต่อการตัดสินใจค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 28.08 ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลต่อการตัดสินใจ ร้อยละ 15.36 ระบุว่า มีผลต่อการตัดสินใจมาก และร้อยละ 14.24 ระบุว่า ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลย

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการซื้อ – ขายเสียง ช่วงระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.16 ระบุว่า มีแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 18.88 ระบุว่า ไม่มีแน่นอน และร้อยละ 2.96 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความกระตือรือร้นของประชาชนที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้งในครั้งที่จะถึงนี้ หลังจากไม่มีการเลือกตั้งมา 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.64 ระบุว่า มีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 19.68 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น และร้อยละ 7.68 ระบุว่า ไม่มีความกระตือรือร้นเลย

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.32ระบุว่า เข้าถึงประชาชน เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข รองลงมา ร้อยละ 15.36 ระบุว่า มีคุณธรรมและรู้จักเสียสละ ร้อยละ 14.16 ระบุว่า มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ร้อยละ 12.24 ระบุว่า ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ร้อยละ 9.84 ระบุว่า มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีและเป็นที่ยอมรับ ร้อยละ 7.60 ระบุว่า รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 6.48 ระบุว่า เป็นผู้มีอุดมการณ์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรี ร้อยละ 2.96 ระบุว่า ส.ส.หน้าใหม่ หรือ คนหนุ่มสาว และร้อยละ 1.04 ระบุว่า ไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 27.04 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.72 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.20 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.04 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.72 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.28 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.60 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.28 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 94.32 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.52 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.20 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.04 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 76.72 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.04 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 31.76 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.00 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.80 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.68 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.48 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.40 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.60 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.84 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 13.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.40 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest