พัฒนาฝีมือพะเยาจัดสัปดาห์ทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สร้างแรงงานคุณภาพ

อังคาร ๒๙ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๒:๑๔
วันที่ 28 มกราคม 2562 นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดโครงการ "สัปดาห์แห่งการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ" โดยในช่วงแรกของสัปดาห์ ได้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ ต่อเนื่องกัน 3 สาขาอาชีพ รวม 70 คน ได้แก่ ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างซ่อมเครื่องยนต์ ระดับ 1 ให้กับช่างยนต์ของ หจก.อู่วีไอพีพะเยา จำนวน 25 คน ณ หจก.อู่วีไอพีพะเยา ต.จำป่าหวาย อ.เมือง และ หจก.อู่เศวตยนต์พะเยา จำนวน 10 คน ณ อาคารฝึกงานช่างซ่อมรถยนต์ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2562 ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 ให้กับช่างไฟฟ้าในอำเภอปง จำนวน 15 คน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลควร อ.ปง ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2562 และดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างเย็บ ระดับ 1 ให้กับผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงาน สาขาเย็บจักรอุตสาหกรรม (ผ้า) 420 ชั่วโมง ในอำเภอภูซาง จำนวน 20 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านก๊อน้อย หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2562 นอกจากนี้ยังได้มอบหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ให้กับนายประยูร กุลศิลป์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.อู่วีไอพีพะเยา ซึ่งได้ร่วมโครงการกับสำนักงานฯ ในปีงบประมาณ 2561 และคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีมติรับรอง ตามพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561

นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ภาคีเครือข่าย ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนาทักษะฝีมือ สู่พะเยาเมืองแห่งมาตรฐานฝีมือแรงงาน" ซึ่งได้ลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกันเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ซึ่งสาขาอาชีพที่ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ทั้งสามสาขาในครั้งนี้ ได้รับการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ กล่าวคือ ผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 สาขา ช่างซ่อมรถยนต์ และช่างไฟฟ้าภายในอาคาร จะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือวันละ 400 บาท ขณะที่ผู้ผ่านมาตรฐานฯ สาขาช่างเย็บ ระดับ 1 จะได้รับค่าจ้างวันละ 345 บาท ทั้งนี้ ผู้ที่สามารถผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ แสดงว่าได้ผ่านเกณฑ์ 6 ประการ ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน การใช้วัสดุอย่างประหยัด การใช้เครื่องมือเครื่องจักรถูกต้อง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานทันภายในกำหนด ขั้นตอนการทำงานครบถ้วนถูกต้อง และผลงานสำเร็จมีมาตรฐาน จึงเป็นการสร้าง "แรงงานคุณภาพ (Super worker)" ตามนโยบายเร่งด่วน 13 ข้อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว) ข้อที่ 1 ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ (super worker) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ดังนั้น ผู้ว่าจ้างจึงมั่นใจได้ว่าผลงานที่จ้างช่างที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะเป็นงานที่ดี มีคุณภาพ เชื่อถือได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4