“Smart Durian” แอพฯวิเคราะห์ดินบนมือถือ สำหรับชาวสวนทุเรียนเมืองปทุม

พุธ ๓๐ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๓:๔๕
หน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (สกว.)

มทร.ธัญบุรี พัฒนาระบบวิเคราะห์และแจ้งเตือนสภาพดินในสวนทุเรียน ที่จะทำให้ชาวสวนทุเรียนเมืองปทุมธานี สามารถรู้ความชื้นและความเป็นกรดด่างของดินในสวนตนเอง ผ่านมือถือ แบบ Real Time

"หอมมันนำ หวานตาม เมล็ดลีบ" คือคำจำกัดความผู้บริโภคมีให้กับทุเรียนหมอนทองของอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ที่วันนี้ชาวสวนทุเรียนของที่นี่ กำลังจะมีเครื่องมือใหม่ มาช่วยรักษาชื่อเสียงของทุเรียนเมืองปทุมแห่งนี้ให้คงอยู่ต่อไป

จากการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับปัญหากับในชุมชนหนองเสือ ภายใต้ชุดโครงการ "การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี" ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อต้นปี 2560 ทำให้กลุ่มผุ้วิจัยจากคณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรู้จากชาวสวนทุเรียนอำเภอหนองเสือว่า หนึ่งในปัญหาของการปลูกทุเรียนที่นี่ก็คือ ปัญหาปลายใบไหม้และร่วงหล่นจากต้นในช่วงทุเรียนออกผลอ่อน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของทุเรียนอ่อนที่เกษตรกรกำลังเฝ้าดูแลอยู่ เพราะทุเรียนต้นนั้นจะเกิดการแตกใบอ่อน ทำให้ผลทุเรียนอ่อนที่กำลังเติบโตได้รับสารอาหารน้อยลง

อาจารย์ปองพล นิลพฤกษ์ หนึ่งในทีมวิจัยชุดนี้กล่าว่า จากข้อมูลทางวิชาการและการพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ ต.บึงกาสาม อ.หนองเสือ ทำให้เราทราบว่า อาการปลายใบทุเรียนไหม้ คือการที่ต้นทุเรียนฟ้องให้เรารู้ว่าเขาน้ำมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งการขาดน้ำของต้นทุเรียนส่วนใหญ่เกิดจากภสภาพดินที่มีน้ำน้อยเกินไป (ไม่เพียงพอกับความต้องการของต้นทุเรียน) ซึ่งการแก้ปัญหาหลังจากพบอาการใบไหม้เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ส่วนการเดินตรวจดูสภาพแปลง สภาพต้น รวมถึงการขุดดินขึ้นมาดูด้วยตาเปล่า ก็ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ รวมถึงอาจมีความคลาดเคลื่อนได้

นั่นจึงเป็นที่มาของงานวิจัย "ระบบตรวจวัดและแจ้งเตือนสภาพดินในสวนทุเรียนแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา ต. บึงกาสาม อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี" ภายใต้ชุดโครงการวิจัย โครงการ "การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี" ของ มทร.ธัญบุรี โดยการสนับสนุนของสกว.

"ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนสภาพดินในสวนทุเรียนแบบอัตโนมัตินี้ เป็นการนำความรู้ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านระบบตรวจวัด และการเชื่อมต่อการส่งข้อมูลแบบไร้สาย พัฒนาเป็นอุปกรณ์ขนาดฝ่ามือ ที่นอกจากวัดค่าความชื้นในดินได้แล้ว ยังมีเซนเซอร์วัดค่าความเป็นกรดด่างเพิ่มให้ด้วย เพราะความเป็นกรดด่างจะมีความสัมพันธ์กับความชื้น เช่น กรณีเกิดน้ำขังและมีใบไม้มาบดบัง ก็ทำให้หน้าดินเปลี่ยนเป็นกรด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของต้นทุเรียนได้ เพราะเชื้อราหลายชนิดที่เจริญได้ดีในดินที่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะสามรถทำให้ต้นทุเรียนเกิดโรคได้" อาจารย์ปองพล ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยกล่าว

อาจารย์ปองพล กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากอุปกรณ์เซนเซอร์ ที่ติดตั้งอยู่ในแปลงปลูกแล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจของระบบนี้ก็คือ ระบบการส่งข้อมูล ที่เกษตกรเจ้าของสวนมีเพียงระบบอินเตอร์เน็ตบ้านและอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (เราเตอร์) ก็จะสามารถรับข้อมูลจากอุปกรณ์เซนเซอร์ เพื่อส่งต่อให้ไปที่ Server ที่ มทร.ธัญบุรี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเกษตรกรก็จะสามารถรู้ค่าความชื้น และความเป็นกรดด่างได้ทันที ผ่านแอพพลิเคชั่น Smart Durian บนมือถือของตนเอง

"ด้วยแอพพลิชั่น 'Smart Durian' ที่เราพัฒนาขึ้นนี้นอกจาก ชาวสวนทุเรียนสามารถดูค่าความชื้นในดินและตัวเลขอื่นๆ ณ เวลานั้น ผ่านมือถือของตนเองได้ในทันทีแล้ว เรายังนำค่าที่ได้จากเซนเซอร์มาประมวลเทียบกับข้อมูลวิชาการ เพื่อดูว่าระดับความชื้น หรือค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการจริงของทุเรียนมากน้อยเพียงใด มาทำเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เช่น ดินมีความชื้นมากไปหรือน้อยไป ดินเป็นกรดสูงเกินไปควรปรับปรุงดินแบบไหน เพื่อเป็น 'คำแนะนำ' ให้เกษตรกรด้วย" อาจารย์กีรติบุตร กาญจนสเถียร หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวเสริม

ด้านนายสุพจน์ ตันพิชัย เกษตรกรที่ได้นำระบบดังกล่าวไปทดลองใช้ กล่าวว่า ระบบนี้ช่วยให้ตนเองมีความมั่นใจมากขึ้นว่าในช่วงเวลานั้นๆ ควรจะให้น้ำกับทุเรียนในจุดนั้นๆ มากขึ้นหรือน้อยลง ที่สำคัญทำให้ตนเองไม่ต้องไปเดินสวนตรวจทุกครั้งที่จะให้น้ำ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถรู้ได้ทันทีจากมือถือ

"สิ่งที่จะดำเนินการต่อก็คือการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการเพิ่มทางเลือกให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟกระแสตรงจากแบตเตอรี่ หรือไฟฟ้ากระแสสลับจากไฟบ้าน (ปัจจุบันเป็นระบบที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ที่ต่อกับแผงโซลาเซลล์) การเพิ่มโหมดหลับลึก (deep sleep) หรือกำหนดให้ส่งข้อมูลเฉพาะผลตรวจที่มีค่าเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อการประหยัดพลังงานให้กับระบบ สร้างระบบประมวลผลในส่วนกลางให้สามารถนำข้อมูลย้อนหลังมาเปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน รวมไปถึงการต่อยอดไปใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ต่อไป" หัวหน้าโครงการวิจัย สรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?