กสอ. เตรียมคลอด 77 โปรดักส์ ฮีโร่ “ไทยเด่น” ติวเข้มผู้ประกอบการชุมชนเร่งมือพัฒนาสินค้าต้นแบบสู่อุตฯ เชิงพาณิชย์

จันทร์ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๑:๔๓
กสอ. เผย 77 ผลิตภัณฑ์ 77 จังหวัด โครงการ "ไทยเด่น" ก้าวหน้า คุมเข้มเตรียมพร้อมคลอด Product Hero ของแต่ละจังหวัดได้ในเดือนมีนาคมศกนี้ เร่งมือเสริมแกร่งองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการชุมชนเข้มข้น ทั้งด้านบริหารจัดการต้นทุน และกระบวนการผลิตในระบบมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความพร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ หลังผู้ประกอบการเห็นประโยชน์หลังเข้าร่วมโครงการ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แปลงโฉมหน้าภาพลักษณ์ใหม่ ทั้งตัวสินค้าและแพคเกจจิ้ง ทิ้งภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนดั้งเดิม

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และหน่วยงานเครือข่าย กำลังเร่งมือจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ เน้นให้องค์ความรู้กับผู้ประกอบการชุมชนทั้ง 231 รายที่ผ่านการเฟ้นหาและคัดเลือกผู้ประกอบการชุมชนที่ผลิตสินค้าเด่นมี

อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดจำนวน 3 รายต่อจังหวัด ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อัตลักษณ์สินค้าอุตสาหกรมชุมชนสู่สากล หรือ โครงการ"ไทยเด่น" เพื่อเฟ้นหา Product Hero ของแต่ละจังหวัด 77 ผลิตภัณฑ์ 77 จังหวัด ออกสู่ตลาดอย่างเป็นรูปธรรมได้จริงภายในเดือนมีนาคม 2562 นี้

"พื้นที่โซนภาคตะวันออก จำนวน 23 จังหวัด เราได้จัดการอบรม Work Shop ที่จังหวัดฉะเชิงเทราเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว จะดำเนินการอบรมต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีต่อไป ในขณะที่ผู้ประกอบการที่ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาโปรดักส์ต้นแบบ พัฒนาแพคเกจจิ้งใหม่ให้ดูทันสมัยขึ้น เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปลักษณ์ใหม่ออกสู่ตลาด" นายกอบชัยเผย

สำหรับองค์ความรู้การอบรมในโครงการไทยเด่นครั้งนี้ จะเข้มเนื้อหาให้ผู้ประกอบการชุมชนเกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การคิดต้นทุน การบันทึกกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนในการผลิตโปรดักส์ต้นแบบที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการชุมชนมีความสามารถสูงขึ้นและยกระดับศักยภาพการผลิตของตนเองให้ก้าวหน้ากว่าเดิม เป้าหมายเพื่อมุ่งให้ผู้ประกอบการชุมชนได้คิดค้นผลักดันโปรดักส์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้ก้าวเข้าสู่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้จริง

อีกทั้งเพื่อพัฒนาต่อยอดและการันตี 77 ผลิตภัณฑ์ 77 จังหวัด ในโครงการไทยเด่น เป็นที่ยอมรับและให้ก้าวเข้าสู่ตลาดและมาตรฐานสากล การอบรม Work Shop ดังกล่าวจึงเพิ่มเนื้อหาความเข้มข้นองค์ความรู้เกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมชุมชนสู่มาตรฐานสากลด้วย อาทิ แนวทางการขอรับรองมาตรฐาน ISO9001 ฉบับชุมชน ความรู้เกี่ยวกับการขอ อ.ย. สินค้า และ มาตรฐานGMP เป็นต้น

"เราคาดหวังว่าผู้ประกอบการชุมชนในโครงการไทยเด่นที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด จะเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SME แห่งปี ที่รวบรวมผู้ผลิตสินค้าเด่น 77 จังหวัดทั่วประเทศ มาเปิดมุมมุมวิสัยทัศน์ใหม่และพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของตนเองได้สูงขึ้น จนสามารถพัฒนาการผลิตโปรดักส์ต้นแบบ มาเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ตามที่มุ่งหวังไว้จนสำเร็จ ผลักดันให้กลายเป็นสินค้าของฝากและของที่ระลึกในระดับประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาระดับท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจฐานราก และสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามนโยบายสู่ภูมิภาค" นายกอบชัยกล่าว

นายวิชัย พรสมุทรสินธุ์ เจ้าของโรงงานน้ำปลา โง้วหยู่ไถ่ (ตราทองคำ) จังหวัดระยอง ผู้ประกอบการกลุ่มแรกที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ในโครงการไทยเด่น กล่าวว่า ให้ความสนใจกับโครงการไทยเด่นอย่างมากและขอบคุณที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมทำ Work Shop กับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ ทำให้ได้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านต่างๆ สำหรับมาใช้เป็นแนวทางในด้านการทำตลาดแนวใหม่ แบบออนไลน์ มากขึ้น เรียนรู้วิธีการคิดต้นทุน และอื่นๆ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดการผลิตสินค้าใหม่ว่า ควรไปในแนวทางไหน

"เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการอบรมนี้ ตรงกับประเด็นแนวคิดความประสงค์ของทางโรงงานอยู่พอดี ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจของตลาด พร้อมกับพัฒนาแบรนด์ดิ้งสินค้าให้มีภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น และทำการพัฒนาแพคเกจจิ้งใหม่ให้มีความดึงดูดใจของลูกค้า เมื่อเรามีโปรดักส์ที่ดีอยู่แล้ว แต่จะทำการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างไรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคได้รับรู้และมีความเข้าใจดีในสินค้าของเรามากขึ้น" นายวิชัยกล่าว

นายวิชัยกล่าวอีกว่า การเข้าร่วมโครงการไทยเด่นนี้ ทางโรงงานจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด เป็น ซอสปรุงรสโลว์โซเดียม ไม่มีผงชูรส ตราทองคำ ต่อยอดผลิตภัณฑ์มาจากน้ำปลา และเป็นเจ้าแรกในท้องตลาดขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาแพคเกจจิ้งใหม่ให้มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นสินค้าที่เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น ผู้เป็นโรคความดัน เพราะมีโซเดียมต่ำ รสชาติที่ดีจากสูตรที่ได้รับการหมักวัตถุดิบ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นเวลาถึง 24 เดือน และต้องไม่นานไปกว่านี้ เพื่อให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม ซึ่งแตกต่างจากซอสหรือน้ำปลาอื่นทั่วไป ที่มักจะใช้เวลาหมักไม่นานเท่านี้ เนื่องจาก จะมีผลต่อต้นทุนสินค้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!