วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ ผุดไอเดียล้ำรับมืออนาคต เปิดตัวคอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี ลดการระเบิดหิน ลดปัญหาฝุ่นละออง

อังคาร ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๑:๒๘
TSE แนะทางออกรับมือปัญหาขยะเล็กทรอนิกส์ พลิกโฉมสู่วัสดุก่อสร้าง รับเทรนด์การออกแบบบ้านยุคใหม่ ดีไชน์ได้หลากหลายฟังก์ชั่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasart School of Engineering : TSE) เปิดตัวคอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดีไชน์รูปทรงได้หลากหลายฟังก์ชั่น น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การออกแบบที่อยู่อาศัยยุคใหม่ ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาขยะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าล้นเมืองกว่า 400,000 ตันต่อปี

โดยนวัตกรรมดังกล่าวยังช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองการผลิตจากแบบเดิม ที่ต้องระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร ฉัตรวีระ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า คณะฯได้พัฒนา นวัตกรรม "คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์" เกิดจากการนำ องค์ประกอบของขยะเหลือใช้ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีองค์ประกอบของ ทองแดง เงิน ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และพลาสติก มาเข้าสู่กระบวนการบดย่อยซากเป็นผงลามิเนต ซึ่งสามารถนำมาผสมกับปูนซีเมนต์ในสัดส่วน 1:1 แล้วขึ้นรูปเป็นคอนกรีตตามขนาดที่ต้องการ ทำให้ได้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี โดยคอนกรีตดังกล่าวสามารถนำมาออกแบบรูปทรงได้หลากหลาย ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง เช่น บล็อกผนัง บล็อกทางเดิน เซรามิก แผ่นพื้น ไปจนถึงวัสดุตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ แจกัน เป็นต้น

ปัจจุบัน TSE เตรียมต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ สู่การนำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกับราคาอิฐมวลเบาที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค โดยคาดหวังให้นวัตกรรมนี้ช่วยพลิกโฉมขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยที่มีปริมาณมากถึง 400,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานจำกัด เมื่อพังแล้วต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการนำวัสดุดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และยังใช้วิธีการกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ หรือถูกนำไปทิ้งกองไว้ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในรอบบริเวณโดยรอบ

ทั้งนี้ จากปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน ทำให้หลายประเทศมุ่งคิดค้นวัสดุที่ช่วยลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรม "คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์" สามารถพลิกโฉมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เหลือทิ้งจำนวนมากจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม มาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตรูปแบบใหม่ ที่จะสามารถช่วยลดสัดส่วนของปูนซีเมนต์ที่ได้จากการระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาฝุ่นละออง ทำลายระบบนิเวศ นวัตกรรมนี้สามารถตอบโจทย์เทรนด์การออกแบบที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร กล่าว

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา