โซเซียลมีเดียมหันตภัยใกล้

พฤหัส ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๒๑
สังคมไทยต้องเผชิญความเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้าจากการใช้สื่อโซเชียลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป

ปัจจุบันสื่อโซเชียลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกรวดเร็ว สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา และสื่อสารได้เสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่หากใช้โซเชียลมีเดีย หรือหมกมุ่นมากเกินไป อาจส่งผลกระทบให้ผู้ใช้เกิดพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สุงสิงกับโลกภายนอก เกิดความรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวัง ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้

จากข้อมูลการวิจัย "ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โซเซียลมีเดียกับภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา" โดยทีมนักวิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประชาชนชาวอเมริกัน ในปี 2014 จำนวน 1,787 ราย อายุระหว่าง 12-32 ปี พบว่า คนที่ติดการใช้งานโซเชียลมีเดียเกิน 58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวมากถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และถ้าใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสที่จะรู้สึกเหงามากกว่าปกติถึงสองเท่า นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยของ Edinburgh Napier University พบว่า เฟซบุ๊กเป็นสิ่งที่ทำให้คนเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น จากการสำรวจนักศึกษา 200 คน เกี่ยวกับการเล่นเฟซบุ๊ก พบว่า กลุ่มคนที่มีเพื่อนในเฟซบุ๊กมากเสี่ยงต่อความเครียดและความรู้สึกหดหู่สูงกว่าคนที่มีเพื่อนในเฟซบุ๊กน้อยกว่า โดยผู้เล่นจะได้รับผลเชิงลบมากกว่าการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครอบครัวในโลกของความจริง และยังพบว่าผู้ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตในปริมาณมากจะมีแนวโน้มอาการหดหู่ เหงา และโดดเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น สภาพจิตใจย่ำแย่ลง

นอกจากนี้ ผลงานวิจัย "ผลกระทบทางสุขภาพจิตของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟนหรือเทคโนโลยีอย่างหนักนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลและโรคซึมเศร้า" จาก มหาวิทยาลัย Northwestern ใน ชิคาโก พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟน ผลงานวิจัยพบว่า ระดับของอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณของเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟน ยิ่งการใช้ระยะเวลามากขึ้น ระดับของอาการซึมเศร้าก็จะมากขึ้นไปด้วย ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟน และมีอาการซึมเศร้าคือ 68 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาเพียงแต่ 17 นาทีต่อวันเท่านั้น

สำหรับประเทศไทย มีผลงานวิจัย"พฤติกรรมการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีกับภาวะสุขภาพใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี" เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการสื่อสารเทคโนโลยีกับภาวะซึมเศร้าของนักเรียน พบว่า การเสพติดการสื่อสารทั้งโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต มีผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นเดียวกับงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทยพบว่า ในกลุ่มเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ หากใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตมากเกินไปจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารมีผลต่อสุขภาวะจิตใจของคนเราทั้งในทางบวกและลบ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการปลูกฝังความมีวินัยในการใช้สื่อโซเชียล นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้สื่อโซเชียลให้กว้างมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมสุขภาวะทางจิตเมื่อเกิดการเสพติดสื่อโซเชียลมากเกินไป?

(ข้อมูลอ้างอิง: "ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเซียล" โดย อังคณา ศิริอำพันธ์กุล วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2561)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest