NIDA Poll เรื่อง ปากท้องคนไทยและเศรษฐกิจประเทศหลังการเลือกตั้ง 2562

พฤหัส ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๕๐
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปากท้องคนไทยและเศรษฐกิจประเทศหลังการเลือกตั้ง 2562" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,005 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปากท้องคนไทยและเศรษฐกิจประเทศหลังการเลือกตั้ง 2562 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.84 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 27.13 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิม และร้อยละ 7.03 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยดีขึ้น

ด้านความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทย หลังการเลือกตั้ง 2562 และได้รัฐบาลใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.64 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 32.27 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะเหมือนเดิม และร้อยละ 4.09 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง

สำหรับพรรคการเมืองที่จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องให้ประชาชนได้ (10 อันดับแรก) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 45.73 ระบุว่า ไม่มีพรรคใดเลย รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 21.55 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 4 ร้อยละ 8.28 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 7.43 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 1.59 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ อันดับ 7 ร้อยละ 1.25 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 9 ร้อยละ 0.95 ไม่ระบุ และอันดับ 10 ร้อยละ 0.70 ระบุว่าเป็น พรรคไทยรักษาชาติ

เมื่อถามถึงปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.55 ระบุว่า มีปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ขณะที่ ร้อยละ 40.45 ระบุว่า ไม่มีปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ได้ให้สาเหตุที่ทำให้มีปัญหา พบว่า ร้อยละ 58.12 ระบุว่า มีรายได้ไม่แน่นอน รองลงมา ร้อยละ 36.52 ระบุว่า เงินเดือน/ค่าจ้างน้อย ร้อยละ 10.80 ระบุว่า ครอบครัวใหญ่ ต้องเลี้ยงดูหลายคน ร้อยละ 4.86 ระบุว่า ตกงาน/ไม่มีงานทำ/หางานทำยาก ร้อยละ 2.85 ระบุว่า ใช้เงินฟุ่มเฟือย เกินตัว ร้อยละ 2.51 ระบุว่า ไม่ได้ทำงาน เช่น มีปัญหาสุขภาพ ลาออกจากงาน เป็นต้น ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ใช้เงินไปกับอบายมุขต่าง ๆ เช่น สุรา หวย การพนัน เป็นต้น และร้อยละ 11.14 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า เกิดจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.23 ระบุว่า ลดค่าใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็น รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ทำอาชีพเสริมที่ถูกกฎหมาย ร้อยละ 16.16 ระบุว่า ออมเงิน ร้อยละ 10.22 ระบุว่า ไม่ได้มีแผน จะทำอะไรในตอนนี้ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า กู้ยืมเงินจากคนใกล้ชิด/สถาบันการเงิน/นอกระบบ ร้อยละ 4.27 ระบุว่า มองหางานใหม่ที่ดีกว่า และร้อยละ 3.27 ระบุว่า นำทรัพย์สินไปจำนอง/จำนำ/ขาย

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.03 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.03 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.47 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.53 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.64 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.36 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.34 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.66 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.20 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 93.67 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.04 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.45 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.75 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.86 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.74 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.65 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 33.92 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.78 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.78 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.79 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.69 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.04 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.12 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.52 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.24 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.91 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.91 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.35 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.05 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.14 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 13.77 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.83 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.07 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.03 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ