ตามรอยพ่อสไตล์ชาวกรุงด้วย “สวนคนเมือง” ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านพื้นที่ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุง

ศุกร์ ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๔๙
เมื่อพูดถึงการน้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" สู่การลงมือปฏิบัติ หลายๆ คนคงนึกถึงการทำการเกษตรพอเพียง โดยจัดการพื้นที่ตามแนวคิด "โคก หนอง นา โมเดล" และอาจคิดไปอีกว่าจะต้องอาศัยพื้นที่ไม่น้อย แต่อันที่จริงแล้ว ศาสตร์อันทรงคุณค่านี้ สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในทุกพื้นที่ รวมถึงการใช้ชีวิตในเมืองซึ่งมีพื้นที่จำกัด คนเมืองที่ต้องการตามรอยศาสตร์พระราชา จึงไม่ต้องมองหาพื้นที่เพื่อทำการเกษตรที่ไหนไกลๆ แต่เริ่มต้นได้ที่บ้านของตนเองโคก หนอง นา แบบฉบับคนเมือง

"โคก หนอง นา โมเดล" คือแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ ซึ่งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้และผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ สำหรับคนเมืองนั้น ก็สามารถนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับบ้านของตนเองได้เช่นเดียวกัน โดยเปรียบ "โคก" กับหลังคาบ้านซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำฝนจำนวนมาก ในแต่ละปี การกักเก็บน้ำก็สามารถทำได้ เพียงสร้างรางน้ำแล้วต่อท่อให้น้ำฝนไหลจากหลังคาลงไปสู่ "หนอง" หรือที่กักเก็บน้ำในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโอ่ง ตุ่ม แท็งก์น้ำ หรือแม้กระทั่งถังน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเพาะปลูก หรือผ่านกระบวนการกรองฆ่าเชื้อโรคสำหรับอุปโภคบริโภคได้ในภายหลัง ส่วน "นา" ก็คือพื้นที่สร้างแหล่งอาหาร ที่คนเมืองสามารถเลือกเพาะปลูกให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ของตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การปลูกพืชนั้นแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และใต้ดิน แต่เนื่องด้วยที่อยู่อาศัยของคนเมืองส่วนใหญ่ มีพื้นที่ไม่มากนัก จึงอาจเลือกปลูกพืชใน 4 ระดับหลัง ซึ่งมีมากมายกว่า 80 ชนิด อาทิ พืชในระดับกลาง เช่น กล้วย มะม่วง ลำไย ระดับเตี้ย เช่น มะกรูด มะนาว เสาวรส ระดับเรี่ยดิน เช่น มะเขือเทศ ชะพลู สะระแหน่ และ ระดับใต้ดิน เช่น เผือก ข่า ตะไคร้ โดยเลือกปลูกตามความชอบและคำนึงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่

ทางออกพื้นที่จำกัดของคนเมือง

กรณีอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม หรือทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยน้อย ก็หันมาทำสวนผักแนวตั้งได้ ตัวอย่างเช่น สร้างชั้นวางกระถางปลูก ทำระแนงไม้แบบตั้งพื้น หรือทำสวนลอยฟ้าด้วยการแขวนภาชนะปลูกจากด้านบน ซึ่งจะช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากกว่าเดิม นอกจากนั้น ยังนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นภาชนะเพาะปลูกได้อีก เช่น ขวดพลาสติก แกลลอนน้ำ หม้อ ถัง หรือกะละมังที่ชำรุดแล้ว ขอเพียงให้มีช่องสำหรับระบายน้ำ และควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 20 ซม. เพื่อให้รากมีพื้นที่ในการเจริญเติบโต บางคนนำของเล่นเก่าๆ มาประยุกต์ใช้ กลายเป็นไอเดียตกแต่งบ้านแบบเก๋ๆ ที่ช่วยประหยัดรายจ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน

นอกเหนือจากการบริหารจัดการพื้นที่แล้ว ก็มาถึงคำถามสำคัญว่า ควรจะปลูกผักอะไร หลักการง่ายๆ คือ การเลือกปลูกพืชผักตามจานโปรดของเรา โดยผสมผสานการปลูกพืชผักสวนครัวที่ใช้เป็นประจำ จำแนกตามการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันด้วยหลัก 5 ด. คือ สวนดู สวนดม สวนกิน (แดก) สวนดื่ม และสวนโด๊ป เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ เช่นประโยชน์จากการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือสวนดู จะช่วยเรียกแมลงมาผสมเกสรและกำจัดศัตรูพืช ทำให้พืชเติบโตได้ดี แถมยังช่วยให้คนที่พักอาศัยในบ้านได้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย การทำสวนผักเองจึงเปรียบเสมือนมีซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่ภายในบ้าน ที่นอกจากประหยัดเงินค่าวัตถุดิบในการปรุงอาหารแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานในการเก็บรักษาอีกด้วย ทั้งยังแน่ใจได้ว่าปลอดสารเคมี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บที่มาจากสารพิษตกค้างได้

ทั้งนี้ การเพาะปลูกพืชผลให้งอกงามนั้น สิ่งสำคัญ คือ ดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเราสามารถบำรุงดินด้วยน้ำหมักรสจืดที่ทำจากหยวกกล้วย และใช้กากมะพร้าวแห้งสับหรือเศษใบไม้แห้งในการห่มดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวดิน ทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี ซึ่งเมื่อดินดี พืชผลก็จะงอกเงย

เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถสร้างสวนคนเมืองในรูปแบบของตนเองได้ไม่ยาก และนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายๆ คน ที่หันเหเข้าสู่วิถีชีวิตแบบพอเพียงอย่างจริงจัง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆ คนคงเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำแนวคิด "โคก หนอง นา โมเดล" มาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง สำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติม ไม่ควรพลาดกับกิจกรรมเอามื้อ ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 เมษายน 2562 ณ บ้านทุ่งเทิง ต.โป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย โดยผู้เข้าร่วมจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้กับพื้นที่ของตน ตลอดจนได้ร่วมลงมือสร้างต้นแบบการจัดการพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสัก ตามรอยพ่อ" อันเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสักอย่างยั่งยืน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ