ปภ. รายงาน 8 จังหวัดภาคเหนือคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประสานจังหวัดแก้ไขปัญหาเร่งด่วน

จันทร์ ๐๑ เมษายน ๒๐๑๙ ๐๙:๕๔
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงาน 8 จังหวัดภาคเหนือคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานทั้ง 8 จังหวัดแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ริมทางหลวงอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควันปกคลุมพื้นที่

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2562 เวลา 05.00 น. พบว่า มีจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เกินค่ามาตรฐาน 100 รวม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย (ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงรายตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย) เชียงใหม่ (ตำบลช้างเผือก ตำบลศรีภูมิ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม) ลำปาง (ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง ตำบลสบป้าด ตำบลบ้านดง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ) ลำพูน (ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน) แม่ฮ่องสอน (ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) น่าน (ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) แพร่ (ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่) พะเยา (ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา) โดยมีค่า PM2.5 ระหว่าง 78 – 363ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่า PM10 ระหว่าง 100 – 403 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ AQI มีค่าระหว่าง 170 – 473 ซึ่งคุณภาพอากาศในภาพรวมอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ระดับสีแดง) ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมรถฉีดพ่นน้ำพร้อมรถบรรทุกน้ำจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 8 กำแพงเพชร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง เขต 15 เชียงราย และเขต 16 ชัยนาท ฉีดพ่นเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศในพื้นที่ที่ประสบปัญหาหมอกควัน พร้อมบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมป้องกันไฟป่าและแก้ไขปัญหาหมอกควันเชิงรุก ทั้งการกำหนดกติกาชุมชน เพื่อจัดระเบียบพื้นที่และช่วงเวลาห้ามเผาให้เหมาะสมตามสภาพความเสี่ยงภัย อีกทั้งสนธิกำลังเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรด้านสาธารณภัยให้พร้อมดับไฟป่า และบรรเทาลดผลกระทบจากหมอกควัน ตลอดจนเข้มงวดการเผาในพื้นที่เสี่ยงด้วยการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผาในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ริมทาง รวมถึงจัดกำลังลาดตระเวนและเฝ้าระวังการลักลอบเผาป่าหรือวัสดุทางการเกษตร สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุมให้หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เพราะจะสูดดมฝุ่นละอองจำนวนมากเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เจ็บป่วยได้ รวมถึงใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันมิให้สูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย ส่วนผู้ขับขี่ให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเป็นพิเศษ เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางอยู่ในระดับต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานแก้ไขปัญหาโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน