เกษตรฯ เดินเครื่องผลิตวิทยากร 3 สาร เตรียมส่งไม้ต่อ 3 หน่วยงานอบรมเกษตรกร

ศุกร์ ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๐๐
กรมวิชาการเกษตร สร้างวิทยากร 3 สารล็อตแรกผ่านฉลุย ลุยสร้างต่อล็อต 2 อีก 2,000 คน ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่งลงพื้นที่อบรมเกษตรกรพร้อมผู้รับจ้างพ่นสารทั่วประเทศ วางแผนดึงสมาคมที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นวิทยากรคู่กรมส่งเสริมการเกษตร

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมหลักสูตรการใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส อย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาคจำนวน 240 คนเสร็จสิ้นแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 240 คนดังกล่าวจะต้องทำหน้าที่เป็นวิทยากรไปอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 2,000 คน ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติไปอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1.5 ล้านคน ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ต่อไป

พร้อมกันนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังมีแผนที่จะขอความร่วมมือสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย เข้าร่วมรับการอบรมเป็นวิทยากรเพื่อไปอบรมเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไม้ผล ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนวิทยากรจากการยางแห่งประเทศไทยจะอบรมเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะอบรมเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย

สำหรับผู้รับจ้างพ่นสารทั้ง 3 ชนิดซึ่งมีจำนวน 50,000 คน วิทยากรจากกรมวิชาการเกษตรจะเป็นผู้จัดอบรมในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (ศวพ.) ของกรมวิชาการเกษตรใน 54 จังหวัด โดยผู้รับจ้างพ่นจะต้องผ่านการทดสอบทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ รวมทั้งต้องเข้ารับการอบรมทุก 3 ปี และสารที่จะใช้พ่นต้องเป็นสารที่เกษตรกรผู้มีสิทธิ์ซื้อจัดหามาให้เท่านั้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้กรมวิชาการเกษตรอยู่ในระหว่างการสร้างวิทยากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปทำหน้าที่วิทยากรอบรมเกษตรกรและผู้รับจ้างพ่น ซึ่งการอบรมเพื่อสร้างวิทยากรจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรและผู้รับจ้างพ่นเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรมต้องมีทะเบียนเกษตรกร หรือหลักฐานแสดงพื้นที่ปลูกพืชที่มีความจำเป็นต้องใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซต สำหรับกำจัดวัชพืชใน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดมันสำปะหลัง และไม้ผล และใช้คลอร์ไพริฟอสเพื่อกำจัดหนอนเจาะลำต้นใน ไม้ดอก พืชไร่ ไม้ผล ซึ่งต่อไปการซื้อสารทั้ง 3 ชนิดไปใช้เกษตรกรจะต้องซื้อจากร้านที่ได้รับอนุญาต แสดงหลักฐานผ่านการอบรม

พร้อมกับแสดงชนิดพืชที่ปลูก และพื้นที่ปลูก เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่จะซื้อได้ ส่วนผู้รับจ้างพ่นก็ต้องมีใบอนุญาตผ่านการอบรมแล้วเช่นเดียวกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา