ปภ.แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

พุธ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๐๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ พร้อมเตือนผู้ขับขี่ที่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 4 เท่า ส่วนผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 5 เท่า เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรใช้ระบบฝากข้อความหรือวอยซ์เมล ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทนศัพท์ กรณีไม่มีอุปกรณ์เสริม ควรให้เพื่อนขับรถแทน หรือจอดรถคุยโทรศัพท์ในบริเวณที่ปลอดภัย และไม่ควรใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน กรณีใช้ระบบนำทาง GPS ควรตั้งจุดหมายการเดินทางก่อนออกรถ ไม่ใช้มือถือโทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะทำให้เหลือมือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ทำให้ผู้ขับขี่ขาดสมาธิในการขับรถ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ผู้ขับขี่ที่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 4 เท่า เนื่องจากทำให้ ขาดสมาธิในการขับรถ การตอบสนองต่อสัญญาณไฟจราจร ป้ายเตือนและเหตุฉุกเฉินช้ากว่าปกติ ผู้ขับขี่ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ทั้งการใช้มือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว จึงส่งผลต่อการบังคับทิศทางรถ การตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การมองเห็นและการจดจำสภาพเส้นทาง รวมถึง มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้ากว่าปกติประมาณ 0.5 วินาที ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์ ขณะขับรถ ใช้ระบบฝากข้อความ หรือวอยซ์เมล เพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทรศัพท์ขณะขับรถ ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนา ทางโทรศัพท์ อาทิ แฮนด์ฟรี สมอลล์ทอล์ค บลูทูธ หรือเปิดลำโพง กรณีไม่มีอุปกรณ์เสริม ควรให้เพื่อนรับโทรศัพท์แทน หรือจอดรถคุยโทรศัพท์ในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน หลีกเลี่ยง บทสนทนาที่ส่งผลต่ออารมณ์ ต้องใช้การวิเคราะห์และตัดสินใจ เพราะทำให้เสียสมาธิในการขับรถ กรณีใช้ระบบนำทาง GPS ควรตั้งจุดหมายการเดินทางและศึกษาเส้นทางก่อนออกรถ เพื่อป้องกันการละสายตาจากเส้นทาง และความลังเลจากการตัดสินใจเลือกใช้เส้นทาง ไม่ใช้มือถือโทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะทำให้เหลือมือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว จึงส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการขับรถ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงไม่สามารถหักหลบสิ่งกีดขวางได้ทัน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ขณะรถจอดติดสัญญาณไฟหรือการจราจรติดขัด และไม่ควรใช้หัวไหล่หนีบเพื่อคุยโทรศัพท์ในขณะขับรถ เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง โดยผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถมีบทลงโทษทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ