NIDA Poll รู้สึกอย่างไร เมื่อ คสช. กำลังจะหมดหน้าที่

จันทร์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๔
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "รู้สึกอย่างไร เมื่อ คสช. กำลังจะหมดหน้าที่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,257 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและความสุขของคนในชาติ หลังจากครบรอบ 5 ปี ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และความรู้สึกของประชาชนเมื่อ คสช.กำลังจะหมดหน้าที่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเมื่อ คสช. กำลังจะหมดหน้าที่ในทันทีที่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.50 ระบุว่า รู้สึกดีใจ น่าจะไปได้ตั้งนานแล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.79 ระบุว่า ไม่มีความรู้สึกใด ๆ ร้อยละ 13.84 ระบุว่า รู้สึกอยากขอบคุณที่ช่วยดูแลประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.29 ระบุว่า รู้สึกเสียดาย น่าจะอยู่ต่อไป ร้อยละ 9.55 ระบุว่า รู้สึกว่า ความวุ่นวายทางการเมืองแบบเก่า ๆ กำลังจะกลับมา ร้อยละ 9.07 ระบุว่า รู้สึกว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังจะเดินหน้า ร้อยละ 8.19 ระบุว่า รู้สึกว่าประเทศกำลังจะเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ร้อยละ 5.33 ระบุว่า รู้สึกว่าประเทศเสียโอกาสไปมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91 ระบุว่า รู้สึกกังวลว่านักการเมืองที่เข้ามาจะทำให้ประชาธิปไตยบิดเบือน และร้อยละ 0.72 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ อยากให้นักการเมืองชุดใหม่เข้ามาสานต่อ ในโครงการที่ดี ๆ ต่อจากโครงการเดิม เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และกังวลว่านักการเมืองชุดใหม่จะเข้ามาบริหารไม่ดีเหมือนชุด คสช.

ด้านระดับความสุขของประชาชนในโอกาสครบรอบ 5 ปีที่ คสช. เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.63 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ชีวิตความเป็นอยู่ยังคงเหมือนเดิม การบริหารงานไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เศรษฐกิจและค่าครองชีพยังสูงเช่นเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.73 ระบุว่า มีความสุขลดลง เพราะ เศรษฐกิจปากท้องของประชาชนแย่ลง ค่าครองชีพสูง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ การบังคับใช้กฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายไม่ตรงจุด มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพมากเกินไป และขาดความมั่นคงทางประชาธิปไตย และร้อยละ 21.64 ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ การบริหารงานต่าง ๆ ดี มีการช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่มีการชุมนุมและความวุ่นวายทางการเมือง บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ 4 ปี 6 เดือน คสช. กับการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่ทำการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 พบว่า สัดส่วนของผู้ที่มีความสุขเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนเท่า ๆ กัน (จากเดิม ร้อยละ 21.20 เป็นร้อยละ 21.64) เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ที่มีความสุขลดลง มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น (จากเดิม ร้อยละ 30.64 เป็นร้อยละ 33.73) ขณะที่สัดส่วนของผู้ที่มีความสุขเท่าเดิม มีสัดส่วนลดลง (จากเดิม ร้อยละ 47.68 เป็นร้อยละ 44.63)

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารราชการแผ่นดินครบรอบ 5 ปี ของ คสช. ในประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้มีความสุขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.69 ระบุว่า บ้านเมืองสงบเรียบร้อยไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 30.55 ระบุว่า ไม่มีประเด็นใดที่ทำให้มีความสุข ร้อยละ 5.81 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน ร้อยละ 4.46 ระบุว่า การจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบทางเท้า การจัดระเบียบชายหาด ร้อยละ 2.94 ระบุว่า การมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 2.47 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม ร้อยละ 2.15 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกร ร้อยละ 0.95 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 0.32 ระบุว่า การมีเสรีภาพมากขึ้น และร้อยละ 1.66 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ด้านคมนาคม โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารราชการแผ่นดินครบรอบ 5 ปี ของ คสช. ในประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่ทำให้มีความสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.82 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม รองลงมา ร้อยละ 16.31 ระบุว่า ไม่มีประเด็นใดที่ไม่มีความสุข ร้อยละ 14.00 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกร ร้อยละ 9.47 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน ร้อยละ 9.07 ระบุว่า การที่ยังไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.09 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 2.55 ระบุว่า การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 1.51 ระบุว่า การมีเสรีภาพที่ยังไม่เต็มที่ของสื่อมวลชน ร้อยละ 0.95 ระบุว่า การจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบ ทางเท้า การจัดระเบียบชายหาด และร้อยละ 2.23 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การแก้ไขปัญหายาเสพติด สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม การบังคับใช้กฎหมายในบางเรื่องที่เข้มงวดมากเกินไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า การแก้ปัญหาระบบการศึกษา การปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูปองค์กรตำรวจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.38 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.73 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.76 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.65 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.27 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก

ตัวอย่างร้อยละ 7.64 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.88 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.99 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.61 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.80 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 95.31 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.18 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.71 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.83 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.27 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.10 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.42 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.64 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.51 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.14 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.26 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.58 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.48 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.13 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.82 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.51 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.27 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 ประกอบอาชีพองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 14.56 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.13 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.09 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.99 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ