สสส.เปิดตัว “มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม” มหาวิชชาลัยแห่งแรกของภาคอีสาน

อังคาร ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๔๘
สสส.เปิดตัว "มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม" มหาวิชชาลัยแห่งแรกของภาคอีสาน ชี้สร้างกลไกความเท่าเทียม-ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ยึดหลักสร้างการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และธรรมภิบาล เป็นต้นแบบตำบลสุขภาวะ "หมู่บ้านจัดการขยะครบวงจร" ตั้งเป้าปี 2563 ขยะต้องกำจัดเป็นศูนย์

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่เทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น และภาคีเครือข่าย ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์สนับสนุนทางวิชาการภาค (ศวภ.) และอัตถจริยา จัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นพื้นที่อีสาน "มหาวิชชาลัยกลไกสร้างความเท่าเทียม-ยั่งยืน" เพื่อสร้างการเรียนรู้ขบวนการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนท้องถิ่นให้ทำหน้าที่เป็น "กลไก" ขับเคลื่อนการพัฒนาแบบมุ่งเป้าไปสู่การสร้างความเท่าเทียมและมีความยั่งยืน โดยมีปฏิบัติการของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลบ้านแฮดเป็นผู้สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมเวที พร้อมเปิดตัวมหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม" โดยมี นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ มอบรางวัลให้แก่ "สุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ้านแฮด" จำนวน 40 คน จากผู้นำ 556 คน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 500 คน

นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ "สุดยอดองค์ความรู้ สุดยอดผู้นำ" ว่า การพัฒนาสุขภาวะเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สสส. มุ่งลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เพิ่มปัจจัยเสริมสุขภาวะ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานของประเทศ สิ่งสำคัญของการพัฒนาสุขภาวะเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ คือต้องสร้างผู้นำในชุมชน เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ต้องมีผู้นำ ซึ่งจะต้องนำทั้งความคิดและปัญญา ชาวบ้านให้การยอมรับ ศรัทธา และเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติจนเกิดผล การขับเคลื่อนภาระกิจด้านสุขภาวะจึงจะประสบผลสำเร็จ ขณะที่การจัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นพื้นที่อีสาน ถือเป็นการสร้างการเรียนรู้ขบวนการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนท้องถิ่นให้ทำหน้าที่เป็น "กลไก" ขับเคลื่อนการพัฒนาแบบมุ่งเป้าไปสู่การสร้างความเท่าเทียมและมีความยั่งยืน โดยมีปฏิบัติการของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลบ้านแฮดเป็นผู้สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมเวที รวมถึงให้เห็นบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านแฮดในการทำหน้าที่ "มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม"

ด้าน ดร.ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแฮด กล่าวว่า เทศบาลตำบลบ้านแฮด ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา และได้พัฒนาพื้นที่จนสามารถยกระดับเป็นศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน (ศจค.) ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ต้นแบบตำบลสุขภาวะ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับ อปท.เครือข่ายและ อปท.ที่สนใจในการเรียนรู้เพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆโดยชุมชนท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด "การจัดการตนเอง โดยใช้พื้นที่ตำบลเป็นตัวตั้ง" ครอบคลุมการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อม สุขภาพ และการเมืองการปกครองจนกระทั่งปี 2561 สสส.เห็นศักยภาพของ ทต.บ้านแฮด และยกระดับเป็น "มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม" BANHAD UNIVERSITY OF TECHNOLOGY FOR EQUITY (BANHAD UTE) เป็นพื้นที่ฝึกอบรม ที่มีหลักสูตรการสร้างความเท่าเทียมโดยชุมชนท้องถิ่น (Community Based Development For Equity: CDE) ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตนเอง โดยยึดหลักสร้างความเท่าเทียมและยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือทุกภาคส่วนที่มีความโดดเด่น และเป็นระบบชัดเจน มีการสร้างการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ซึ่งทุกคนที่บ้านแฮดมีความภาคภูมิใจอย่างมากในการยกระดับเป็น "มหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม" ได้ และมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนกระจายองค์ความรู้ไปสู่ท้องถิ่นไม่เฉพาะเครือข่าย สสส. เท่านั้น แต่จะขยายครอบคลุมในทุกชุมชนที่มีความสนใจ

"ตัวอย่างรูปธรรมในพื้นที่ คือ การที่บ้านแฮด เริ่มต้นการจัดการขยะ ปี 2553 เพื่อลดขยะตกค้างและโรคติดต่อ เราค้นพบว่า "ขยะ" เป็นมากกว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องดิน น้ำ ป่า พลังงาน รวมไปถึงการสร้างทัศนคติของคน และกระทบสุขภาพ จนกระทั่งสามารถจัดการกับปัญหาและพัฒนาไปสู่หมู่บ้านบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างครบวงจรในปี 2554 อีกทั้งส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย ซึ่งทางบ้านแฮดยังมีแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชน ด้านการบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างครบวงจรสู่ความยั่งยืน ได้วางแผนขยายกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้ง 8 ชุมชน โดยบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งองค์กรชุมชน โดยเฉพาะครัวเรือน กลุ่มต่างๆ ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน และการหนุนเสริมจากหน่วยงานรัฐ ในปี 2562 มุ่งให้สร้างชุมชน Zero Waste ในปี 2563"ดร.ศิริพงษ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4