GIT ปูพรมลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั่วไทย ต่อยอดงานฝีมือด้านอัญมณีและเครื่องประดับพื้นถิ่น

จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๗:๐๒
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เดินหน้าลงพื้นที่เป้าหมายในโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอย่างยั่นยืนใน 10 จังหวัด เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตาก พังงา สตูล ตราด กาญจนบุรี นครราชสีมา และ แพร่ เปิดอบรมหลักสูตรด้านอัญมณีศาสตร์ ทักษะเชิงช่าง การออกแบบเครื่องประดับ รวมถึงความรู้ด้านธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิตัล เพื่อต่อยอดสร้างสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการ พร้อมคณะทำงานจาก GIT ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมร่วมกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ อาทิ พาณิชย์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด ฯลฯ ผู้แทนสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการเครื่องเงิน/เครื่องประดับเงินในพื้นที่ หารือแนวทางการสร้างความร่วมมือดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่นั้นเป็นจังหวัดที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถต่อยอด พัฒนาสินค้า และสามารถเพิ่มยอดขายให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 50

โครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาคอย่างอย่างยืนนี้ มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และ ภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาค เพิ่มโอกาสการค้า สร้างรายได้เพิ่มขึ้น อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาคในปีที่ผ่านมาให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

โดยโครงการดังกล่าว มุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้เติบโตอย่างเข้มแข็งตั้งแต่ระดับฐานราก และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน โดยการใช้อัตลักษณ์อันโดดเด่นในแต่ละภูมิภาค มาปรับใช้ในการออกแบบเครื่องประดับให้มีความสวยงาม และร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าไทยสู่สากล พร้อมส่งนักออกแบบชื่อดังมาร่วมค้นหาอัตลักษณ์และสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งนักออกแบบแต่ละท่านจะดึงจุดเด่นที่น่าสนใจของแต่ละจังหวัด และเครื่องประดับในท้องถิ่น มาปรับให้ร่วมสมัย สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ สถาบันยังช่วยขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผลงานการออกแบบเครื่องประดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจังหวัดข้างต้น โดยสินค้าภายใต้โครงการจะถูกนำมาจำหน่าย ณ TEMP Pop-Up Store by GIT บริเวณชั้น 1 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ถนนสีลม และนำไปจัดแสดงภายในงานแสดงสินค้าบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 64 ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายตลาดสินค้าไทยจากชุมชนสู่ตลาดสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital