รักน้องมาเรียมต้องชม! “ศิลปะของฆาตกรแห่งท้องทะเล” ผ่านผลงาน นักศึกษา สถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมอันแสนเจ็บปวด

พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๓:๔๙
"ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร" (Ocean Killer) ผลงานชิ้นเอกที่ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ กับการปล่อยภาพ 4 ภาพแรก ก่อนจะนำเสนอในนิทรรศการศิลปนิพนธ์ประจำปี 2562 นี้ ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร (Ocean Killer) เป็นผลงานการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในทะเล โดยเล่าเรื่องผ่านภาพทั้งหมด 6 ภาพ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านสัตว์นักล่าอย่าง "ฉลาม" ยังต้องยอมสยบให้กับฆาตรกรไร้ชีวิตอย่าง "ขยะพาสติก"

พีรพัฒน์ ประสานพานิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เจ้าของผลงาน "ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร" หรือ Ocean Killer หนึ่งใน 42 ผลงานศิลปนิพนธ์ ของภาควิชานิเทศศิลป์ สจล. ที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษา โดยผลงานศิลปนิพนธ์เหล่านี้ล้วนบอกเล่าเรื่องราวและแง่มุมต่างๆ ที่สะท้อนมุมมองของสังคม และพูดถึงหนทางสู่วันข้างหน้าที่ดีกว่าผ่านงานออกแบบสร้างสรรค์

"ผมเกิดและเติบโตในพื้นที่ที่มีทะเล ได้เห็นพัฒนาการของทะเลในห้วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา ความเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จากการใช้ประโยชน์อย่างไม่ระมัดระวังและไม่ได้คิดถึงอนาคต สู่การเริ่มต้นการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านภาพ เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความรุนแรงจากขยะที่มีต่อท้องทะเล"

ทะเลไทยถูกจัดอันดับให้เป็นทะเลที่มีขยะมากที่สุดในโลก อันดับที่ 6 จากตัวเลขของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยขยะที่พบมากที่สุดในทะเลไทยคือ ถุงพลาสติก 18% แก้วหรือขวดพลาสติก 17% โฟมหรือ ภาชนะใส่อาหาร 9% หลอด 7% เศษเชือกหรือเศษอวน 5% และกระป๋องน้ำ 4% ซึ่งที่มาของขยะกว่า 80% มาจากแหล่งทิ้งขยะบนฝั่งบริเวณท่าเรือ หรือชุมชนริมทะเล รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเล นิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษา จะพาไปเปิดความหมาย 3 ภาพ หยุดความรู้สึก กับความเจ็บปวดของสัตว์ทะเลจากฆาตกรแห่งห้วงสมุทร

มัจจุราชพลาสติก "ฉลาม" สัตว์ที่ถูกยกให้เป็นนักล่าแห่งท้องทะเล ถูกนำมาประกอบในภาพนิทรรศการในครั้งนี้ โดยบอกเล่าผ่านความเจ็บปวดของนักล่าที่ถูกคุกคามจากฆาตกรไร้วิญญาณ อย่างขวดน้ำหรือแก้วน้ำพาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล จากพฤติกรรมมักง่ายของมนุษย์ ซึ่งขวดน้ำพาสติกเหล่านี้ต้องการเวลา สำหรับย่อยสลายตัวเองยาวนานถึง 450 ปี หรือกว่า 4 เท่าของชีวิตคนหนึ่งคน และสัตว์ทะเลมักเข้าใจผิดว่าขยะเป็นอาหารของพวกเขา แต่แท้จริงแล้วคือมัจจุราชที่จะมาปิดชีวิตไปตลอดกาล

หญ้าทะเลไร้ชีวิต หลอด กับ เต่าทะเล ถูกรณรงค์คู่กันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ผ่านทั้ง ภาพ เสียง วิดีโอ เรื่องเล่า ฯลฯ ถึงมหันตภัยที่มักจะกลืนกินชีวิตจากแสนยาวนานของเต่าทะเล ให้สั้นลงชั่วข้ามคืน ข่าวความสูญเสียของเต่ากับหลอดเราพบเห็นได้ตลอดเวลา แม้ปัจจุบันจะมีการรณรงค์อย่างจริงจัง ในการห้ามการใช้หลอดพาสติกบริเวณริมทะเลและชายหาด ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่า ความยากลำบากในการใช้ชีวิตของเต่าทะเล ที่สุดท้ายหลอดกับหญ้าทะเลเต่าเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกได้ แล้วมนุษย์อย่างเราจะหยิบยื่นหลอดให้เต่ากินได้ลงคอหรือ

โซ่ตรวนตัดชีวิต จากการสำรวจพบว่า "แมวน้ำ" เสียชีวิตจากเศษซากอวนและเชือกจากการทำประมงของมนุษย์สูงที่สุด ภาพนี้ถูกสื่อสารให้เห็นถึงความรุนแรง ที่สัตว์เหล่านี้ถูกกระทำจากการใช้ชีวิตปกติของพวกเขา ความรุนแรงเหล่านี้มาจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของมนุษย์ แต่ได้ทำลายชีวิตของสัตว์ไปนับไม่ถ้วน ภาพเหล่านี้จึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่ง ในการถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวด จากฆาตกรเลือดเย็นแทนสัตว์ทะเลเหล่านี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ได้ออกแบบการเรียนการสอน ให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ในสิ่งที่แต่ละบุคคลสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงความสามารถและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาสร้างประโยชน์สู่สังคมโลก การถ่ายทอดข้อความใดๆ ก็ตามสักหนึ่งข้อความ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การเขียน หรือการเล่าแบบออกเสียง "ภาพ" ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายเช่นเดียวกัน หัวใจหลักของการออกแบบสารหรือข้อความ เพื่อสื่อสารกับสังคมนั้น คือการออกแบบให้เข้าถึงและกุมความรู้สึกของผู้รับสาร ภาพเหล่านี้ถูกนำเสนอแทนเสียงร้องของสัตว์ทะเล ต่อการคุกคามและหยิบยื่นความแต่แก่พวกเขา โดยมนุษย์ผู้ไร้ความรับผิดชอบ

ทั้งนี้ สจล. ต้องการสร้างบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบ ไม่เพียงแค่การมีวิชาความรู้ติดตัวไปสู่โลกแห่งการทำงาน แต่นิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตย์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้หล่อหลอมให้พวกเขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและมนุษยชาติ ตั้งคำถามและออกแบบสร้างสรรค์สังคมตามความถนัดของพวกเขา คิดค้นและพัฒนาสิ่งต่างๆ รอบตัวและใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาช่วยแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของการเป็นสถาบันฯ รากฐานนวัตกรรมเพื่อสังคม จากฝีมือคนไทย ผศ.ดร.อันธิกา กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่พลาดการชมผลงานในปีนี้สามารถชมได้ใหม่ในช่วงมิถุนายน 2020 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง www.facebook.com/archkmitl สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์ www.kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlofficial

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4