ครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 56

ศุกร์ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๑:๐๖
ในวันนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ดำเนินการเปิดสอน มาครบรอบ 56 ปี จึงได้จัดงานพิธีเจริญพุ?ะมนต์ และไหว้ศาลแม่ไทร อันเป็นสิงยึดเหนี่ยมจิตใจชาว ม.หอการค้าไทย และโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมให้การต้อนรับจากแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมแสดงความยินดี ณ โถงชั้น 18 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยมี "หอการค้าไทย" เป็นเจ้าของ และได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจในประเทศไทย ประกอบด้วย 10 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการและคณะการศึกษาปฐมวัย รวมถึง 3 วิทยาลัย ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยผู้ประกอบการ และวิทยาลัยนานาชาติเพื่อการจัดการ โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเน้นการพัฒนาทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้ระบบการเรียนรู้แบบ Hybrid และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบ UTCC Hybrid Learning System เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และการดำเนินการเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในรูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่นำ iTunes U มาช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก iPad ซึ่งเป็นอุปกรณ์การเรียนที่นักศึกษาทุกคนได้รับเมื่อแรกเข้า โดยระบบ นี้ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และค้นคว้าข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนทำให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีพ.ศ. 2558 – พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้รับการยอมรับจากบริษัท แอปเปิ้ล ในฐานะสถาบันการศึกษาที่โดดเด่น ในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการเรียนการสอน (Apple Distinguished School) [3] และได้ร่วมกับบริษัท แอปเปิ้ล ตั้งศูนย์อบรม Apple Regional Training Center จัดหลักสูตรอบรมและให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้ครู อาจารย์ และนักการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เข้ากับการเรียนการสอนและกับหลักสูตรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังคงเดินหน้าผลักดันและพัฒนาระบบการเรียนรู้ให้ก้าวไปสู่ Digital Hybrid Learning System เพื่อการพัฒนาการศึกษาของไทยในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากการให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเล็งเห็นถึงแนวโน้มและความสำคัญของนวัตกรรมที่จะมาช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจและธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังจะกลายเป็นกระแสระดับโลก เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สภาหอการค้าไทย เป็นผู้นำและสื่อกลางในการประสานกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา และวางรากฐานแนวคิดนี้ในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เข้าร่วมโครงการ MIT REAP (Regional Entrepreneurship Acceleration Program) โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เพื่อศึกษาแนวทางกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยอาศัยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า "เนื่องในโอกาสพิเศษครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 56 จากรูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) อีกทั้งยังมีเรื่องของคำว่า นวัตกรรม , ประสบการณ์ (Experience) หรือว่า การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการ (Work Integrated Learning) , แนวคิดของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Mindset) ทั้งหมดนี้จริงๆ แล้ว มหาวิทยาลัยหอการไทยดำเนินการเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้นานแล้วตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการเรื่องนี้มาตลอดโดยเฉพาะเรื่องการเรียนรู้ในรูแบบดิจิทัล (Digital Learning) เราทำต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และล่าสุดก็ยังคงใช้ไอแพดในการเรียนการสอนโดยที่ปรับตัวเป็นระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ (iHybrid Learning System) รวมถึงห้องสมุดของเราก็เป็นห้องสมุดที่ออนไลน์ทั้งหมด ตรงนี้จึงเป็นเครื่องมือในการที่อาจารย์จะสามารถสื่อสารกับเด็กได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเรายังมีวิชาที่เกี่ยวกับดิจิทัล คือ วิชาโค้ดดิ้ง (Coding) เป็นวิชาที่บังคับให้นักศึกษาปี 1 ทุกคนต้องเรียน เพราะจะทำให้สามารถเขียนแอพพลิเคชั่นได้โดยที่ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ และยังมีระบบของการคิด เช่น โครงสร้างข้อมูลเป็นอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง คนที่จะเริ่มเขียนเกมหรือ แอพพลิเคชั่นได้นั้นจะต้องโค้ดเป็นอีกทั้งวิชานี้ยังเป็นวิชาบังคับที่ทุกคนต้องเรียน อีกทั้งยังมีการการใช้ไอแพดเป็นเครื่องมือในการเรียนมันจึงทำให้สะดวกมากขึ้น เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่เข้ามาเรียนกับเราตอนปี 1 จะได้รับไอแพด เพื่อใช้ในการเรียน และอาจารย์ก็จะได้รับไอแพดเพื่อใช้ในการสอนเช่นกันโดยจะได้รับ 1 คน ต่อ 1 เครื่อง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราก็ทำแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง"

"สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในปีนี้ก็คือเราได้นำเอาวิชาโค้ดดิ้งนำมาผสมผสานกับผู้ประกอบการ ก็คือ วิชา IDE 101 หรือการขับเคลื่อนผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneurship) เป็นวิชาพื้นฐานที่บังคับเช่นเดียวกับวิชาโค้ดดิ้งแล้ว 2 วิชานี้ก็สอนขนานกัน การสอบปลายภาคคือการนำเสนอธุรกิจสตาร์ทอัพโดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และเมื่อนำเสนอธุรกิจสตาร์ทอัพแล้วไอเดียไหนเป็นที่ถูกใจก็จะมีรางวัลมอบให้โดยนักศึกษาก็จะได้นำธุรกิจที่นำมาเสนอนั้นไปต่อยอดให้เกิดเป็นธุรกิจจริงๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำมาตลอด นอกจากนี้มหาวิทยาลัยของเรายังปรับทิศทางมาให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการค้าและการบริการเพราะว่าประเทศไทยนั้นต้องการให้การบริการมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพราะว่าการบริการในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมีแค่ 50% ควรจะเพิ่มให้ได้ 80% แล้วการท่องเที่ยวก็เป็นทิศทางสำคัญที่เพิ่มตรงนี้ เราจึงได้เปิดคณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ แต่ว่าอุตสาหกรรมบริการของเรา เราไม่ได้มีแค่ท่องเที่ยวอย่างเดียวเราเน้นเรื่องของการค้า เพราะมหาวิทยาลัยเราคือมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพราะฉะนั้นเรื่องการค้าต้องเป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้การค้าถึงจะดีขึ้นเป็นการค้าในยุค 4.0 เราก็ต้องปรับตัวให้เข้าสู่การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เราก็เลยร่วมมือกับ Alibaba การร่วมมือกับ Alibaba เพื่อที่จะสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งศูนย์ฝึกการเรียนรู้และอบรม เราก็ได้ร่วมมือกับทางหอการค้าไทยช่วยกับฝึกอบรมผู้ประกอบการSMEs และนักศึกษาของเราให้เข้าใจเกี่ยวกับการค้าออนไลน์ ทิศทางเรากำลังจะหันมหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการค้าและการบริการใน 5 ปีนี้ อีกทั้งเรายังมีนโยบายที่จะร่วมมือกับหอการค้าไทยที่จะผลิตบัณฑิตและให้ความรู้กับSMEs ไทยให้เป็นนักธุรกิจ 4.0 สร้างผู้ประกอบการ สร้างนักรบเศรษฐกิจพันธ์ใหม่อย่างที่เราทำมาอย่างต่อเนื่อง" อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4