บริติช เคานซิล ปั้นโครงการ University – Industry Links ยกระดับสถาบันอุดมศึกษา - อุตสาหกรรมไทยสู่เวทีระดับโลก

จันทร์ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๕๐
"คน" และ "นวัตกรรม" เป็นหัวใจหลักในการสร้างประเทศให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนทั้งด้านความรู้และทักษะ ด้วยการสอนทักษะใหม่ (re-skill) การสอนทักษะเพิ่มเติม (up-skill) และการสอนทักษะที่หลากหลาย (multi-skill) ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นแต้มต่อที่ผลักดันให้คนและประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากความสำคัญดังกล่าว บริติซ เคานซิล ประเทศไทย จึงจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม (University – Industry Links) โดยทำงานร่วมกับ เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในไทยและสหราชอาณาจักร ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารอย่างมีกลยุทธ์ให้กับประเทศไทย แล้วต่อยอดไปสู่การพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน

นายแอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า University – Industry Links เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ของไทยสู่นานาชาติ และช่วยลดช่องว่างการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ผ่านการร่วมกันแชร์ความรู้และความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน เพราะการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศจะต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเกิดขึ้นได้จากการสร้างความรู้และงานวิจัยด้านนวัตกรรม ผสมผสานไปกับการยกระดับทักษะให้กับภาคแรงงาน ซึ่งโมเดลการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมถือว่าเป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์มากที่สุด

สำหรับโครงการ University – Industry Links มีการดำเนินงาน 2 กิจกรรม คือ โครงการการมองอนาคต (Foresight Project) มีเป้าหมายพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อระบุแนวทางการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ขยายฐานงานวิจัยและความร่วมมือในประเด็นเป้าหมายตามที่ระบุไว้เป็นผลลัพธ์ของแผนยุทธศาสตร์ และโครงการการประเมินคุณภาพทางสัมผัส และพฤติกรรมผู้บริโภค (Sensory and Consumer Behaviors Project) เป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลที่สามารถวิเคราะห์ความรู้สึกและเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยในตลาดอาหารระหว่างต่างประเทศ

"อุตสาหกรรมอาหารเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-Curve) ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตของประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมอาหารก็มีบทบาทสำคัญในสหราชอาณาจักร

อีกด้วย เห็นได้จากรายจ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของประชากรในสหราชอาณาจักรมีมูลค่ารวมกว่า 203,000 ล้านปอนด์ หรือ 9.1 ล้านล้านบาท สหราชอาณาจักรจึงให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมนี้อย่างมาก ดังนั้น กล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นเรื่องสำคัญของไทยและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ บริติช เคานซิล ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมขับเคลื่อนงานด้านนี้ ผ่านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นนานาชาติ และต่อยอดการทำงานกับภาคอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น"

ทั้งนี้ ประเด็นความร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมได้ถูกหยิบยกไปพูดถึงบนเวที Going Global 2019 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเยอรนีเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเวทีดังกล่าวเป็นงานสัมมนาด้านการศึกษาระดับโลกที่ให้ผู้นำด้านการศึกษาจากทั่วโลกได้มานำเสนอและหารือเกี่ยวกับนโยบาย และแนวคิดใหม่ๆ โดย ผศ.ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการเมืองนวัตกรรมอาหาร เป็นหนึ่งในตัวแทนจากประเทศไทยที่ได้ไปนำเสนอแนวคิดและรูปแบบการทำงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของไทย

ดร.อัครวิทย์ กล่าวว่า จากการเข้าร่วมงาน Going Global 2019 ได้รับฟังมุมมองด้านการศึกษาจากหลายประเทศก็พบว่ามีจุดร่วมคล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา หรือกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) ที่มีปัญหาเหมือนกันในเรื่องความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งยังมีช่องว่างในการทำงานร่วมกัน ดังนั้น ถ้าหากต้องการเสริมศักยภาพให้กับคนเพื่อไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องมีแนวทางผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมทำงานร่วมกันมากกว่าเดิม โดยมหาวิทยาลัยมีบทบาทในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อสร้างงานวิจัยที่ตอบโจทย์ประเทศ และพัฒนาทักษะของผู้เรียนไปพร้อมกัน

"การทำงานของเมืองนวัตกรรมอาหารกับ บริติช เคานซิล จะผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยบทบาทของเมืองนวัตกรรมอาหารที่เป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งสหราชอาณาจักรก็มีความเข้มแข็งและเชี่ยวชาญในด้านของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมอยู่แล้ว ดังนั้น โครงการ University - Industry Links จะช่วยเชื่อมโยงสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมจากสหราชอาณาจักรกับประเทศไทยให้เกิดการแชร์องค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน เพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพ ซึ่งการนำโมเดลจากต่างประเทศเข้ามาจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานจริงได้อย่างรวดเร็ว"

ดร.อัครวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของแผนงานความร่วมมือกับ บริติช เคานซิล ระยะถัดไป นอกจากจะต่อยอดโครงการเดิมที่ทำอยู่แล้ว อาจเดินหน้าไปถึงเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) และการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีจากสหราชอาณาจักรอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4