49.5 % คน กทม คาดหวังปานกลางต่อผลงานของรัฐบาลใหม่ อยากให้เน้นนโยบายเร่งด่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

ศุกร์ ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๕๘
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังในนโยบายของรัฐบาล โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,218 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อความคาดหวังในนโยบายของรัฐบาล หลังจากที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิด "คำแถลงนโยบาย" คณะรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 โดย มีนโยบายหลัก 12 ข้อ และนโยบายเร่งด่วนอีก 12 ข้อ ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อความคาดหวังในนโยบายของรัฐบาล มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่ารัฐบาลใหม่จะมีการแถลงผลงานของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2562 ร้อยละ 52.6 แต่สนใจที่จะติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับการแถลงผลงานของรัฐบาลต่อรัฐสภา ร้อยละ 49.1

โดยมีความคาดหวังต่อผลงานของรัฐบาลใหม่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.5 รองลงมาคือมีความคาดหวังมาก ร้อยละ 29.1 และมีความคาดหวังน้อย ร้อยละ 21.4

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการในนโยบาย อันดับที่หนึ่ง คือ เรื่องการสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ ร้อยละ 16.3 อันดับที่สองคือ การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ร้อยละ 14.9 อันดับที่สามคือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ร้อยละ 13.1 อันดับที่สี่คือ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ร้อยละ 9.3 และอันดับที่ห้าคือ การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก ร้อยละ 9.2

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในนโยบาย อันดับที่หนึ่ง คือ การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน ร้อยละ 18.1 อันดับที่สองคือ การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ร้อยละ 14.6 อันดับที่สามคือ มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 12.6 อันดับที่สี่คือ การสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 10.1 และอันดับที่ห้าคือ การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต ร้อยละ 8.5

มีความคาดหวังเวลาในการดำเนินการของรัฐบาลใหม่ อันดับที่หนึ่ง คือ ระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 35.3 อันดับที่สองคือ 6 เดือน ร้อยละ 26.9 อันดับที่สามคือ 3 เดือน ร้อยละ 15.4 อันดับที่สี่คือ 2 ปี ร้อยละ 13.4 และอันดับที่ห้าคือ 3 ปี ร้อยละ 5.7

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest