กระดุม 5 เม็ด ต้องไปให้สุด เพื่อยกคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย

อังคาร ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๐๖
การอภิปรายของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ที่ผ่านมา หากมองในมุมกลาง ๆ ต้องยอมรับว่าเป็นการอภิปรายที่มองปัญหาเกษตรกรรมของไทยได้อย่างเป็นระบบ ลำดับไล่เรียงความสำคัญของปัญหา โดยมีการอุปมาอุปไมยถึงโมเดลกระดุม 5 เม็ด จนเกิดกระแสโด่งดัง สร้างดาวสภาเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน และที่สำคัญทำให้เสียงของเกษตรกรเริ่มมีคนรับฟังมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดโมเดลของกระดุม 5 เม็ด (แบบสรุป)

กระดุมเม็ดที่ 1 ปัญหาที่ดิน : 90% ของที่ดินถือครองโดยคนเพียง 10% ซึ่ง 75% เป็นคนไทยที่ไม่มีโฉนดเป็นของตนเอง และชาวนา 45% ยังต้องเช่าที่ดินอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบทุนนิยมได้

กระดุมเม็ดที่ 2 ปัญหาหนี้สิน : หากเกษตรกรอยู่ในวงจรหนี้สิน สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือการรีบใช้หนี้ให้ได้ และทำให้ติดลูปปลูกพืชซ้ำ ๆ เดิม ๆ จนเป็นปัจจัยกดดันราคา

กระดุมเม็ดที่ 3 ต้นทุนสูง : เกษตรกรทำงานด้วยต้นทุนสูง แต่ได้ราคาต่ำ ทำให้ไม่สามารถเก็บออม และไม่มีเงินทุนเป็นของตัวเอง จึงไม่สามารถเข้าถึงการแปรรูปและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

กระดุมเม็ดที่ 4 นวัตกรรม : การแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกัญชามีคุณค่ามากกว่ามูลค่า และห่วงว่าคนไทยต้องนำเข้ากัญชา และมีทุนใหญ่ผูกขาดผลประโยชน์ คำถามคือจะผลักดันกัญชาทางการแพทย์ให้เป็นเบอร์ 1 ของเอเชียได้อย่างไร?

กระดุมเม็ดที่ 5 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร : หลายคนต้องการพัฒนาตัวเองจากผู้ผลิต เป็นผู้ให้บริการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ติดปัญหาที่กระดุมเม็ดที่ 1 เหมือนเดิม

แม้ว่าปัญหาทั้งหมดที่เรียบเรียงออกมาเป็นกระดุม 5 เม็ดให้เข้าใจได้ง่ายนี้ ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาโดยรวมของพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศ ซึ่งมีอีกมากมายหลายปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งสังเกตได้ง่าย ๆ ว่ายังไม่พบเกษตรกรตัวจริงของประเทศ ที่ร่ำรวยได้เหมือนเกษตรกรแถบในประเทศ ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา ฯลฯ เรียกว่าเกือบ ร้อยทั้งร้อย ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรยังยากจนข้นแค้นและมีหนี้สินอยู่มาก....

แต่ก็ต้องขอบคุณท่าน ส.ส.พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ได้ทำให้รัฐบาลและประชาชนในสาขาอาชีพอื่น ๆ ได้รับรู้ถึงปัญหาหลัก ๆ เหล่านี้จากโมเดลกระดุม 5 เม็ด และอยากจะฝากเพิ่มเติมเข้าไปในเรื่องต่าง ๆ อีกเพื่อให้สื่อมวลชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ และเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรของเราให้สามารถดำรงชีพได้แบบลืมตาอ้าปากกันจริง ๆ ด้วยการช่วยกันกระตุ้นให้รัฐบาลแก้ไข หรือ กำหนดนโยบายดำเนินการ ช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงจุดดังนี้

1. การจัดสรรที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกรและประชาชนผู้ยากไร้ ควรยกเลิกกฎระเบียบและข้อจำกัดที่มีเงื่อนไขไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตออกไป และควรยกเลิก ควบคุม ดูแล อย่าปล่อยให้นายทุนเช่า สัมปทาน อีกทั้งไปออกกฎหมายให้ถือครองที่ดินแบบพิเศษ ซึ่งรัฐได้ผลตอบแทนน้อยมาก

2. บริหารจัดการแหล่งน้ำ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เข้าถึงที่ดินและแหล่งทำกินของประชาชนหรือเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง ซ้ำซาก และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพและทำอาชีพเกษตรกรรม

3. เกษตรกรมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว เกินมูลค่าที่ดินและหลักทรัพย์ เกษตรกรอีกส่วนหนึ่งติดแบล็คลิสก์ จึงไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ในระบบ จึงขาดเงินทุนในการดำเนินงาน เรื่องนี้ต้องแก้ไขและช่วยเหลืออย่างจริงจัง

4. เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงเงินที่รัฐจัดลงไปให้โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น งบพัฒนาจังหวัดที่ผ่านหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ พัฒนาชุมชน หรือแม้กระทั่งงบผ่านธนาคารออมสิน กรุงไทย ธกส. SME. เพราะติดที่ข้าราชการหรือผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น พนักงานรัฐหรือพนักงานธนาคาร ปัจจัยเหล่านี้นำพาพวกเขาเข้าสู่หนี้นอกระบบ

5. ต้องส่งเสริมเรื่อง "เกษตรอินทรีย์" "เกษตรปลอดสารพิษ" อย่างจริงจัง ด้วยการสร้างมาตรฐานที่น่าเชื่อถือและในเบื้องต้นเพื่อสร้างราคาที่แตกต่าง จนกว่าจะเริ่มกลับสู่จุดสมดุลและราคาไม่แพง ไม่ใช่มีการรับรองและได้ตราสัญลักษณ์จากภาครัฐแล้ว แต่กลับตรวจพบสารพิษตกค้างอยู่แถมได้ขายอยู่บนห้างชั้นนำของประเทศด้วย ซึ่งทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญควรกำหนดให้มีเพียงมาตรฐานเดียวเท่านั้นและสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลกให้เป็นสากล

6. เปิดโอกาสให้เกษตรกร ผลิตปัจจัยการผลิตและจัดจำหน่ายได้ด้วยตนเอง ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จุลินทรีย์และสมุนไพรในการกำจัดโรคแมลง สารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ โดยให้มีการประกวดแข่งกันผลิตให้ได้มาตรฐานที่ต้องการ โดยเริ่มคัดเลือกจาก 10,000 คนในปีแรก และคัดเลือกให้เหลือ 5,000 คนในปีถัดไป และคัดเลือก ไปเรื่อย ๆ จนได้เกษตรกรหรือปราชญ์ชาวบ้านหัวก้าวหน้าที่สามารถผลิตปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อทดแทนเงินตราที่รั่วไหลออกนอกประเทศจากการนำเข้าสารพิษวัตถุอันตรายปีละเกือบ 100,000 ล้านบาท และรวมถึงการดูแลรักษาพยาบาลโรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษการเกษตร โดยรัฐต้องเสียเงินอีกมากมายมหาศาล

ทั้งหมดคือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในมุมของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่ต่อยอดมาจากโมเดลกระดุม 5 เม็ดของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้แต่หวังให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาทบทวนและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกร ประชาชน และประเทศชาติของเราให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปครับ

สนับสนุนบทความโดยนายมนตรี บุญจรัส

กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02 986 1680 – 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital