NIDA Poll เรื่อง ข้าวเหนียวแพง

จันทร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๐๙
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ข้าวเหนียวแพง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,272 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับราคาข้าวเหนียวที่แพงขึ้นในเวลานี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" วิธีสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความถี่ในการรับประทานข้าวเหนียวของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.09 ระบุว่า รับประทานข้าวเหนียวบ้าง แล้วแต่โอกาส รองลงมา ร้อยละ 26.02 ระบุว่า รับประทานข้าวเหนียวเป็นประจำ (ทุกมื้อ/เกือบทุกมื้อ) ร้อยละ 9.91 ระบุว่า รับประทานข้าวเหนียวอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ร้อยละ 7.23 ระบุว่า รับประทานข้าวเหนียวค่อนข้างบ่อย (อาทิตย์ละ 7 – 10 มื้อ) และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่รับประทานข้าวเหนียวเลย

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุของราคาข้าวเหนียวที่แพงขึ้นในเวลานี้ (เฉพาะผู้ที่รับประทานข้าวเหนียว) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.62 ระบุว่า ภาวะภัยแล้งทำให้ข้าวเหนียวมีราคาสูง รองลงมา ร้อยละ 27.57 ระบุว่า มีการกักตุนโดยพ่อค้าคนกลาง/โรงสี ร้อยละ 19.32 ระบุว่า เป็นการปั่นราคาของพ่อค้าคนกลาง/เจ้าของโรงสี ร้อยละ 17.14 ระบุว่า ปริมาณข้าวเหนียวในตลาดมีน้อยมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคมีสูง ร้อยละ 14.87 ระบุว่า ชาวนาหันไปปลูกข้าวหอมมะลิแทน เนื่องจากได้ราคาดีกว่า ร้อยละ 7.36 ระบุว่า ข้าวในสต็อกเหลือน้อย ร้อยละ 3.56 ระบุว่า เป็นการสมคบคิดกันเพื่อจะได้นำเข้าจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 1.21 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การบริหารงานและการจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาล เศรษฐกิจไม่ดี ค่าขนส่งแพง และส่งออกเยอะเกินไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า ราคาอุปกรณ์ทางการเกษตรมีราคาสูง และร้อยละ 6.55 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้ที่ได้ประโยชน์จากการที่ข้าวเหนียวมีราคาแพงขึ้น (เฉพาะผู้ที่รับประทานข้าวเหนียว) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.48 ระบุว่า เป็นพ่อค้าคนกลาง รองลงมา ร้อยละ 20.21 ระบุว่า เป็นโรงสี ร้อยละ 10.99 ระบุว่า เป็นผู้นำเข้า/ส่งออกข้าว ร้อยละ 4.61 ระบุว่า เป็นชาวนา ร้อยละ 4.45 ระบุว่า เป็นพ่อค้า/แม่ค้าขายอาหารที่มีข้าวเหนียวเป็นส่วนประกอบ (เช่นข้าวเหนียวหมูปิ้ง เป็นต้น) ร้อยละ 2.83 ระบุว่า ไม่มีใครได้ประโยชน์ และร้อยละ 3.23 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนต่อพ่อค้า/แม่ค้าขายอาหารที่มีข้าวเหนียวเป็นส่วนประกอบ (เฉพาะผู้ที่รับประทานข้าวเหนียว) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.73 ระบุว่า ลดปริมาณข้าวเหนียว แต่ราคาเดิม รองลงมา ร้อยละ 29.11 ระบุว่า ยอมกำไรน้อย/ไม่มีกำไร เพื่อลูกค้า โดยให้ปริมาณข้าวเหนียวคงเดิมและราคาเดิม ร้อยละ 15.44 ระบุว่า เพิ่มทั้งราคาและปริมาณข้าวเหนียว ร้อยละ 14.63 ระบุว่า ปริมาณข้าวเหนียวคงเดิม แต่เพิ่มราคา และร้อยละ 5.09 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.65 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.70 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.76 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.24 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 8.10 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 16.51 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.11 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.00 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.28 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.81 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.31 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.94 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.94 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.25 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.38 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.18 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.21 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.87 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.18 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.21 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.88 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.65 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.20 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.09 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.88 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.98 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.75 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.89 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 17.69 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.34 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.45 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.10 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้